วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การแข่งขันของกลุ่มอำนาจที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดตั้งรัฐบาล

การแข่งขันของกลุ่มอำนาจที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดตั้งรัฐบาล

ปัญหาทางการเมืองในขณะนี้มีความชัดเจนในตัวของมันเองมากขึ้นเมื่อผู้เล่นทั้งหลายทั้งเก่าและใหม่ได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่ไม่มีความแตกต่างกันแม้ว่าผู้แสดงใหม่บางกลุ่มพยายามสร้างภาพความเหนือกว่าหรือภาพความใสสะอาดทางการเมืองและเป็นผู้ยกระดับทางการเมือง แต่ในความเป็นจริงที่ปรากฏได้ทำให้สาธารณะชนได้รับรู้ว่าไม่มีอะไรใหม่ในวงการทางการเมือง เมื่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่างๆไม่ได้ทำไปเพื่อพัฒนาการเมืองเพื่อรับใช้ประชาชนแต่เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐ โดยเฉพาะการจัดตั้งรัฐบาลหลังรัฐบาลต้องหมดสภาพลงเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรค 3 พรรคการเมือง

ปัญหาทางการเมืองในตอนนี้คือต่างฝ่ายกำลังการสร้างความชอบธรรมและการชิงไหวชิงพริบในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ดูเหมือนว่ายังไม่สามารถลงตัวได้ในขณะนี้ เพราะต่างฝ่ายต่างใช้วิธีการต่างๆในการดึงแรงสนับสนุนจาก ส.ส. ด้วยการใช้ระบบธนาธิปไตยหรืออิทธิพลในรูปแบบต่างๆ ซึ่งดูเหมือนว่าภาพที่เกิดขึ้นเหมือนกับการนั่งดูการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์หรือการซื้อขายประมูล

สำหรับกลุ่มต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการช่วงชิงอำนาจโดยการจัดตั้งในครั้งนี้มีกลุ่มหลักประมาณ 3 กลุ่ม


กลุ่มทหารที่ค่อนข้างมีบทบาทและอิทธิพลทางการเมืองเป็นอย่างมากแม้ว่าในช่วงประชาธิปไตยจะไม่มีบทบาทมากนักแต่เป็นสถาบันที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญทั้งการจัดสรรงบประมาณ หรือไม่ควรที่จะมีปัญหากับฝ่ายทหาร อิทธิพลข้างต้นดังจะเห็นจากในช่วงการต่อสู้ระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับรัฐบาลสมชายได้กลายเป็นอำนาจที่สาม ซึ่งทั้งสองฝ่ายที่ต่อสู้กันเกิดความเกรงกลัว แต่ด้วยเหตุที่พื้นฐานของอำนาจมาจากกระบอกปืน และ มีประสบการณ์จากการรัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย.49 จึงทำให้ต้องเคลื่อนไหวในทางลับในการถ่วงดุลอำนาจในการต่อสู้ครั้งที่ผ่านมา

ในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่นี้ มีความชัดเจนมากขึ้นว่าหลังจากศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยยุบพรรคเมื่อ 2 ธ.ค.51 ส่งผลให้การเผชิญหน้าได้ยุติลงชั่วคราวแต่พื้นที่ในการต่อสู้ตามท้องถนนได้กลับมาต่อสู้ในระบบรัฐสภา โดยเป็นการช่วงชิงของพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยหรืออดีตพรรคพลังประชาชนโดยแต่ละฝ่ายมีเครือข่ายให้การสนับสนุน โดยในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์แล้วมีความชัดเจนว่ามีกลุ่มนักธุรกิจ สื่อมวลชน ซึ่งเคยสนับสนุนฝ่ายพันธมิตรให้การสนับสนุนพรรคการเมืองดังกล่าว ที่สำคัญคือมีทหารที่เคยมีส่วนร่วมรัฐประหารในสมัย คมช. ได้ให้การสนับสนุน รวมทั้งผู้บัญชาการทหารบก โดยปรากฏรายงานว่ามีการลอบบี้กลุ่มเพื่อนเนวิน ให้เปลี่ยนขั้วมาสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ตั้งรัฐบาล ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นความต่อเนื่องในการต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐที่ยังไม่สิ้นสุดนับตั้งแต่รัฐประหารเป็นต้นมา

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะไม่ประสบผลสำเร็จหากพิจารณาบทบาทของผู้บัญชาการทหารบกที่ผ่านมาเคยเปิดพื้นที่ในเรื่องรัฐบาลแห่งชาติเอาไว้ด้วยเหตุนี้จึงเป็นมาตรการรองรับในขั้นต่อไปหากแผนเปลี่ยนขั้วไม่ประสบผลสำเร็จ

ส่วนของพันธมิตรนั้นเริ่มปรากฏความเคลื่อนไหวในทางการเมืองโดยมีกระแสว่าจะจัดตั้งพรรคการเมือง ชื่อ เทียนแห่งธรรม แสดงให้เห็นว่าการต่อสู้ยังไม่สิ้นสุดจึงต้องมีส่วนร่วมในทางการเมืองในระบบรัฐสภา เนื่องจากเห็นชุมนุมประท้วงได้สร้างความสูญเสียและภาพลักษณ์ต่อประเทศชาติ ดังจะเห็นจากสื่อต่างประเทศ(ซึ่งอำนาจรัฐไทยไม่สามารถควบคุมได้)ได้เผยแพร่ความเกี่ยวพันระหว่างกลุ่มชนชั้นสูงกับพันธมิตรในลักษณะที่เป็นลบมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การประท้วงของกลุ่มดังกล่าว โดยมีความเป็นไปได้ว่าจะอาศัยคะแนนนิยมจากผู้ที่เข้ารวมการประท้วงหรือผู้ที่สนับสนุนอย่างเงียบที่มีความนิยมพันธมิตร การเกิดขึ้นของพรรคการเมืองดังกล่าวน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเครือข่ายทางการเมืองร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ หรือฝ่ายสนับสนุนสถาบันในการควบคุมการเมืองแบบตัวตัวแทนในระบอบประชาธิปไตย(Representative Democracy) ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ไม่สร้างผลกระทบต่อความมั่นคงและภาพลักษณ์ของประเทศมากเท่ากับการเคลื่อนไหวนอกรัฐสภาเฉกเช่นการชุมนุมประท้วงครั้งที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคอยสนับสนุนในแต่ละฝ่าย คือ สื่อมวลชน ถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความชอบธรรมให้กับตนเองหรือการโจมตีฝ่ายตรงข้ามโดยในส่วนพรรคประชาธิปัตย์นั้น สื่อที่คอยให้การสนับสนุนก็คือสื่อที่ให้การสนับสนุนพันธมิตรเช่นเดียวกับกุมทุนจนฝ่ายพันธมิตรมีความมั่นใจว่าแม้จะถูกดำเนินคดีเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งก็มีแหล่งเงินที่คอยสนับสนุนซึ่งอาจรวมถึงการจัดตั้งพรรคการเมืองด้วย ขณะฝ่ายอดีตผู้นำแนวรบด้านสื่อในขณะนี้ใช้ช่องทางจากรายการความจริงวันนี้ ซึ่งในระยะหลังและการจัดรายการเวทีสัญจรใน 13 ธ.ค.51 อาจจะไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนโดยเฉพาะนักธุรกิจ ชนชั้นกลางมากเท่าที่ควรเนื่องจากเกิดความหวาดระแวงว่าหากเครือข่ายอำนาจอดีตผู้นำกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ น่าจะกลายเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้การปลุกระดมอาจจะไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร

แม้ว่าการช่วงชิงอำนาจข้างต้นได้กลับไปสู้วงวนการเมืองยุคเก่า แต่การขาดรัฐบาลในช่วงที่เกิดสูญญากาศทางการเมืองนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสมานฉันท์ ปัญหาเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ของประเทศที่ตกต่ำจากความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความเชื่อมโยงกัน หากขาดรัฐบาลที่มีความชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับของประชาชนในประเทศแล้ว คงไม่สามารถผลักดันให้ประเทศไทยกลับมาปกติเหมือนเดิมได้เร็ววัน

วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ภาพการเมืองที่ไม่แน่นอนและยังมีแนวโน้มที่จะรุนแรงอีกครั้ง

ภาพการเมืองที่ไม่แน่นอนและยังมีแนวโน้มที่จะรุนแรงอีกครั้ง

แม้ว่าหลายฝ่ายจะเห็นว่าศาลเป็นที่พึ่งในยามบ้านเมืองเกิดความขัดแย้งจนเกือบจะมีแนวโน้มเป็นสงครามกลางเมือง แต่ผลของการตัดสินจะทำให้สถานการณ์ดูดีขึ้นแต่ในยามนี้ ยังไม่สามรถนิ่งนอนใจได้กับภาพที่ปรากฏเพราะเมื่อเป็นความขัดแย้งทางด้านชนชั้นแล้วในการดำรงอยู่ย่อมยังไม่เปลี่ยนแปลง เพราะยังฝ่ายใดเป็นผู้ชนะได้อย่างเบ็ดเสร็จ ในทางตรงกันข้ามกลับยังมีความเคลื่อนไหวในทางลึกที่อาจจะวันปะทุกลับขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากสาเหตุของปัญหาเป็นการยุติที่ปลายเหตุซึ่งเกิดขึ้นจากกระแสความต้องการของสังคมหรือเป็นผลจากการวางแผน

สำหรับปัจจัยหรือเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในลักษณะเดิมอีกครั้งนั้นคาดว่าจะมาจากความคาดหวังของสังคมที่มีต่อเครือข่ายนักการเมืองของพรรคการเมืองเก่าเป็นหลัก โดยต้องการให้เครือข่ายดังกล่าวยุติบทบาท แต่ยังดูเหมือนว่าไม่มีการตอบรับจากกระแสความต้องการข้างต้น แต่ยังเกิดความพยายามที่จะสืบทอดอำนาจ รักษาอำนาจของเครือข่ายนักการเมือง ซึ่งดูเหมือนว่าอาจจะได้รับการตอบโต้มากขึ้น เพราะหลายฝ่ายเห็นว่าเป็นต้นเหตุของความวุ่นวาย

อย่างไรก็ตาม เครือข่ายนักการเมืองยังมีความพยายามอย่างเต็มที่ต่อการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ที่ยังเป็นตัวแทนของอดีตผู้นำและมีความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเอื้อต่อนักการเมืองที่ถูกลงโทษ ในประเด็นนี้มีความเป็นไปได้สูงว่าหากไม่เกิดกรณีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลันโดยมีส.ส.บางส่วนของพรรคพลังประชาชนเปลี่ยนขั้วการเมืองไปสนับสนุนฝ่ายค้าน ยังมีความเป็นไปได้สูงหากเครือข่ายอดีตผู้นำกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ซึ่งปัจจัยนี้น่าจะเป็นปัจจัยหลักที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะทำให้ฝ่ายพันธมิตรออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้งเช่นกัน

ที่สำคัญดูเหมือนว่าแนวโน้มการกลับมาของรัฐบาลอดีตผู้นำเป็นไปได้ค่อนข้างอยากและยังคงมีอุปสรรค เพราะกำลังได้รับการคัดค้านจากสื่อมวลชนสายกลางที่เสนอแนวทางรัฐบาลแห่งชาติ สื่อมวลชน ภาคเอกชน ที่นิยมฝ่ายพันธมิตรโดยล่าสุดคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตาสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย สนับสนุนการตั้งรัฐบาลโดยพรรคการเมืองอื่นที่ไม่ใช้พรรคเพื่อแผ่นดิน รวมทั้งข้าราชการ ที่สำคัญฝ่ายพันธมิตร ที่ต้องการให้เกิดรัฐบาลที่เกิดขึ้นใหม่ที่ไม่ได้มาจากอดีตพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นการสร้างกระแสในสังคมและมีแนวโน้มที่จะเกิดการตอบรับจากสังคม โดยเห็นว่าหากเครือข่ายดังกล่าวกลับมามีอำนาจอีกน่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอีกครั้งซึ่งไม่เป็นผลดีต่อบ้านเมือง

ทั้งนี้คาดว่า หากมีแรงกดดันจากสังคม ฝ่ายตรงข้าม และ ข้อตกลง/ผลประโยชน์ทางการเมืองไม่ลงตัวระหว่างกลุ่มการเมืองที่มีมากกว่า 20 กลุ่ม ในพรรคร่วมรัฐบาลเดิม อาจจะกลายเป็นแรงกดดันให้เกิดการยุบสภาคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยแนวทางข้างต้นนั้นแม้ว่าจะมีการเรียกร้องจากสื่อมวลชนมากขึ้นแต่คาดว่าอาจจะได้รับการปฏิเสธจากนักเลือกเมืองอย่างไรก็ตามหากถูกรุกทางการเมืองมากขึ้นทั้งจาก ส.ว.ที่ยืนเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการสิ้นสุดของ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคซึ่งเป็นการสกัดกั้นไม่ให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่

นอกจากนี้ เครือข่ายต่อต้านอดีตนักการเมืองยังมีการผลักดันให้เปลี่ยนขั้วอำนาจโดยให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลเริ่มปรากฏความเป็นไปได้เมื่อมีการลอบบี้ให้กลุ่มการเมืองบางให้ถอนตัวมาสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ โดยคาดว่ากลุ่มการเมืองดังกล่าวจะเป็นตัวแปรหลักที่ทำให้เกิดความเป็นไปได้ เนื่องจากหากพรรคดังกล่าวเป็นรัฐบาลย่อมส่งผลให้คดีต่างที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายพันธมิตรมีความเบาบางลงได้มาก โดยเฉพาะค่าชดใช้ความเสียทางแพ่งที่เกี่ยวกับการปิดล้อมสถานที่ราชการ สำหรับความคืบหน้ายังไม่มีความชัดเจนมากนัก แต่มีการต่อรองให้อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายรัฐมนตรี ซึ่งดูเหมือนว่ามีความเป็นไปได้มากแต่หากจะได้รับการต่อต้านจากเครือข่ายอดีตผู้นำโดยเฉพา นปช.

อย่างไรก็ตามไม่ว่าภาพทางการเมืองจะออกมาทางด้านไหนแต่เชื่อว่าความมั่นคงในประเทศไทยคงไม่เกิดในเร็ววันนี้ เพราะต่างฝ่ายยังต้องการอำนาจรัฐเพื่อใช้ในการเอาชนะฝ่ายตรงข้าม ซึ่งหมายความว่าความขัดแย้งยังมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ดังนั้นหากทุกฝ่ายยอมถอยเพื่อชาติเพื่อส่วนรวมโดยยอมทิ้งอัตตาแล้ว เชื่อว่ายังมีโอกาสที่ดีที่จะทำให้ประเทศสามารถเดินไปได้อีกครั้ง

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เราได้ไม่ได้อะไรจากการต่อสู้ทางการเมืองในปัจจุบัน

เราได้ไม่ได้อะไรจากการต่อสู้ทางการเมืองในปัจจุบัน
ปัญหาที่ต้องกันช่วยคบคิดของพลเมืองในไทยในขณะนี้ คือ เราได้อะไรจากความขัดแย้งทางการเมืองของชนชั้นนำ(Elite Conflict)ระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับฝ่ายรัฐบาลผู้ขาดอำนาจที่มีฐานอำนาจจากการเลือกตั้ง ตลอดระยะเวลาในการต่อสู้ 178วัน(18 พ.ย.51) แต่ละฝ่ายได้มีการใช้ยุทธวิธีต่างมากมายเพื่อชิงความได้เปรียบหรือเอาชนคู่ต่อสู้ แต่หากพิจารณาอีกมุมหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวิชาการจะเห็นแนวความคิด(Concept)หรือสะท้อนตัวตนที่แท้จริงของแต่ละฝ่ายที่สำคัญที่สุดก็คือจะเห็นถึงสิ่งที่เรียกว่าอัตตา(Selfish ) พฤติกรรมที่ตรงข้ามกับสิ่งที่กล่าวต่อสาธารณชน(Public Sphere) รวมถึงการบิดเบือนเนื้อหาทางวิชาการเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วทำให้สามารถสรุปได้ว่า ยังไม่เห็นกลุ่มใดทำเพื่อความเป็นประชาธิปไตยที่หลายฝ่ายเห็นว่ามีความเหมาะสมเพราะสามารถประโยชน์ต่อส่วนร่วมได้มากที่สุด โดยในฝ่ายพันธมิตรแม้ว่า ที่ผ่านมาจะพยายามแสดงตนว่าการเคลื่อนไหวในครั้งนี้จะเป็นการสร้างทางการเมืองใหม่โดยใช้พลังประชาชนหรือประชาภิวัฒน์(New Social Movement)แต่หากพิจารณาในองค์รวมของการเคลื่อนไหวจะเห็นความเป็นจริงที่ถูกเปิดเผยมากขึ้น คือ พันธมิตรไม่ได้ใช้แนวทางการต่อสู้แบบใหม่อ้าง เนื่องจากการเคลื่อนไหวของพันธมิตรมีลักษณะช่วงชิงอำนารัฐ ไม่เหมือนกับการเคลื่อนไหวของการเมืองใหม่ที่เน้นการปฏิรูปสังคม(Social ) การเคลื่อนไหวของการเมืองใหม่จะไม่มีทิศทางที่นำไปสู่การทำลายประชาธิปไตย เช่นการเรียกร้องให้ทหารออกมาปฏิวัติหรือเปลี่ยนแปลงการปกครอง รวมทั้งยังได้นำเสนอการเข้าสู่อำนาจทางตรงหรือระบบ70-30 ซึ่งมีความขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตย

ส่วนด้านองค์ประกอบขององค์กรการเคลื่อนไหวเมื่อพิจารณาจากลักษณะในการนำแล้วมีคำถามเกิดขึ้นว่า แกนนำแต่ละคนทำไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไร เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานความเป็นมาที่แตกต่างกันและหากพิจารณาจากแนวความคิดหรือพฤติกรรมในอดีตแล้วนั้นยังไม่มีใครผลักดันให้ประเทศมีความเป็นประชาธิปไตยตั้งแต่ต้น รวมทั้งยังไม่มีแกนนำใดประกาศต่อหน้าสาธารณชนอย่างชัดเจนว่าจะรับผิดชอบต่อกรณีการใช้อารยะขัดขืน เพราะโดยหลักการของอารยะขัดขืนแล้วผู้ที่จะประกาศใช้ต้องแสดงความรับผิดชอบ ด้วยเหตุนี้มาตรฐานของการต่อสู้จึงไม่สามารถยกระดับให้มีความแตกต่างหรือสามารถเทียบเคียงกับขบวนการต่อสู่ในประเทศตะวันตกได้

นอกจากนี้ พฤติกรรมของแกนนำบางคนยังมีความสับสนและยังขัดแย้งกับสถานะของการต่อสู้ที่ต้องมีสติหรือต้องใช้ปัญญาโดยเฉพาะหลักการในเรื่องความเป็นเหตุเป็นผล(Cause and Effect)กำลังจะถูกทำลายด้วยความเชื่อเนื่องจากมีการใช้ความเหนือธรรมชาติ(Supernatural)ทั้งที่ในความเป็นจริงการสร้างมวลชนนั้นต้องใช้สติปัญญามากกว่าการใช้ไสยศาสตร์ซึ่งจะกลายเป็นตัวหักล้างความน่าเชื่อถือของการต่อสู้ซึ่งเริ่มส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือแล้ว

ที่สำคัญการใช้วิธีการสร้างคู่ตรงข้าม(Binary Opposition)หรือให้เลือกฝ่ายกำลังบันทองความชอบธรรมในการต่อสู้เนื่องจากการต่อสู้เพื่อยกระดับทางการเมืองต้องใช้เครือข่ายทุกภาคส่วนในสังคมขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปสังคมแต่เมื่อวัตถุประสงค์ในการต่อสู้เป็นเพียงการช่วงชิงอำนาจมากกว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น ส่งผลให้วิธีการต่อสู้จะเน้นเป้าหมายในระยะสั้นคือการล้มเครือข่ายชนชั้นนำใหม่มากกว่าจะสร้างพื้นฐานความเป็นประชาธิปไตยโดยเฉพาะความเสมอภาค ความเท่าเทียมกัน เสรีภาพและภราดรภาพ ซึ่งเป็นหลักสำคัญของความเป็นประชาธิปไตยยังไม่มีการนำเสนอในเวที
สำหรับแนวร่วมหรือมวลชนที่เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางในเมืองและส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงหรือผู้ที่สูงอายุเป็นหลักที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ หรือบางส่วนเป็นนักร้อง นักแสดงหรือศิลปิน กลุ่มศาสนา กลุ่มธุรกิจ โดยแต่ละกลุ่มมีเป้าหมายทางการเมืองทางสังคมที่เฉพาะตน มีการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ ดังนั้นจึงไม่สามารถเดินหน้าในการปฏิรูปสังคมให้ดีขึ้นได้

ในส่วนของรัฐบาลแม้ว่า จะมาจากเลือกตั้งซึ่งเป็นแนวทางการเข้าสู้อำนาจในระบบประชาธิปไตย แต่ด้วยเหตุที่ใช้เงินเป็นหลัก ประกอบกับพฤติกรรมของนักการเมืองเมื่อเข้ามามีตำแหน่งทางการเมืองแล้ว ไม่สามารถเป็นหลักในการพัฒนาระบบประชาธิปไตยในประเทศไทยได้มากขึ้น เนื่องจากพวกเขาแม้มีบางส่วนจะจบการศึกษาในประเทศตะวันตกแต่ด้วยเหตุที่วัฒนธรรมของไทยยังเป็นระบบอุปถัมภ์ ขัดแย้งกับหลักการของความเป็นประชาธิปไตยแล้วจึงกลายเป็นอุปสรรคส่วนหนึ่งที่ทำให้นักการเมืองไม่สามารถต่อสู้กับระบบดังกล่าวในทางตรงกันข้ามกับใช้ในการแสวงประโยชน์จนนำมาสู่ปัญหามากมายในปัจจุบัน

การต่อสู้ในทางการเมืองที่ผ่านมาแม้ว่าหลายฝ่ายเห็นว่าน่าจะทำให้เกิดการพัฒนาระบบประชาธิปไตยมากขึ้น อาจเป็นการมองในแง่ดีมากเกินไป เพราะเมื่อพิจารณาถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นจะพบถึงความเป็นไปไม่ได้ที่การต่อสู้ครั้งนี้จะสามารถสร้างความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ได้ หากพิจารณาพฤติกรรมที่แท้จริงที่แอบแฝงของแต่ละฝ่ายดังที่กล่าวมาแล้ว ความมืดมิดที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองในขณะนี้ จะเกิดความสว่างไสวขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยคนไทยทุกคนช่วยกันถือเทียนทางปัญญามากว่าที่จะเดินตามหาแสงสว่างอย่างที่เราทำกันอยู่ในขณะนี้

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ผลกระทบที่เกิดขึ้นกรณีจับกุมแกนนำพันธมิตร

ผลกระทบที่เกิดขึ้นกรณีจับกุมแกนนำพันธมิตร

ภายหลังการจับกุมแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คือ นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ เมื่อ 4 ตุลาคม 2551 และ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เมื่อ 5 ตุลาคม 2551 มีการตั้งคำถามมากมายว่า การจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีเบื้องหน้าเบื้องหลังอย่างไร มีวัตถุประสงค์อะไรแอบแฝงทางการเมืองหรือไม่อย่างไร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้คนในสังคมไม่มีความแน่ใจถึงปรากฏการณ์ข้างต้นว่าอะไรคือข้อเท็จจริง โดยกระแสของความสนใจที่เกิดขึ้นมีการตั้งข้อสังเกตใน 2 ประเด็น กรณีดังกล่าวเป็นการสั่งการจากฝ่ายรัฐบาลหรือไม่ โดยเห็นว่ารัฐบาลไม่จริงใจ แม้ว่าที่ผ่านมาแสดงท่าทีประนีประนอมยอมเจรจากับกลุ่มพันธมิตร รวมทั้งมีบางกระแสเห็นว่าต้องการดิสเครดิต พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ขณะกรณีที่สอง บางฝ่ายโดยเฉพาะสื่อมวลชนมองว่าอาจเป็นการสร้างสถานการณ์ของกลุ่มบุคคลที่ให้การสนับสนุนกลุ่มดังกล่าวมาตลอดเป็นผู้ต้องการให้เกิดสถานการณ์ดังกล่าวขึ้นเพื่อต้องการทำลายระบบทักษิณให้สิ้นซาก โดยสร้างสถานการณ์ให้มีความรุนแรงมากขึ้นเพื่อกลับมาคุมเกมส์การเมืองอีกครั้ง

สมมุติฐานแรก การสั่งการจากฝ่ายรัฐบาล การเกิดขึ้นของรัฐบาลสมชาย คงจะปฏิเสธบทบาทของอดีตผู้นำพรรคไทยรักไทย ไม่ได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนให้นายสมชายขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ดังนั้นการตัดสินใจหรือการเดินเกมส์ทางการเมืองต้องดำเนินตามคำสั่งจากอดีตผู้นำ โดยในกรณีหากเป็นการสั่งการจากต่างประเทศจริงในขณะที่นายสมชายแสดงท่าทีประนีประนอมมาตลอด ผลเสียน่าจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของนายสมชายมากกว่าส่งผลให้จะมีการต่อต้านนายสมชายมากขึ้นจากฝ่ายพันธมิตร รวมทั้งจะทำให้ความได้เปรียบทางการเมืองซึ่งได้รับการตอบรับจากประชาชนมากขึ้นลดลง ส่วนความพยายามทำลายภาพลักษณ์ของพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รอง นรม.ที่เข้ามาดูแลความมั่นคง ซึ่งหลายฝ่ายเห็นว่าการขึ้นมาของบุคคลผู้นี้มาจากสายตรงจากลอนดอน และพร้อมแสดงท่าทีในการเจรจากับกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้เกิดภาพความขัดแย้งที่มีความเป็นไปได้ว่าท่าทีอดีตผู้นำอาจจะลดทาทีการเผชิญหน้าลง เพื่อเรียกร้องความเห็นใจ จึงต้องมาดูว่าที่ผ่านมาในอดีต พล.อ.ชวลิต มีความขัดแย้งกับผู้ใดในพรรคพลังประชาชน แล้วฝ่ายทหารมีการตอบรับที่ดีจากชายผู้นี้หรือไม่ รวมทั้งมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดที่กลุ่มการเมืองในพรรคพลังประชาชนไม่เห็นด้วยกับแนวทางการเจรจาของพล.อ.ชวลิต เพราะหากสำเร็จย่อมส่งผลต่อภาพลักษณ์ของพล.อ.ชวลิตที่มีอิทธิพลทางการเมืองในทันที

อย่างไรก็ตาม พันธมิตรเองก็แสดงความห่วงใยว่าพล.อ.ชวลิต ได้รับการกลั่นแกล้ง ซึ่งเป็นสัญญาณที่จะปกป้องหรือแสดงการสนับสนุนแนวทางการเจรจาในห้วงที่ผ่านมา โดยผลสะท้อนได้กลับไปยังการตั้งข้อสงสัยอีกครั้งว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังน่าจะมาจากคนในพรรคพลังประชาชนเอง สังเกตจากผู้ที่ใกล้ชิดพล.อ.ชวลิตยงใจยุทธ ออกมาเปิดเผยว่านายกรัฐมนตรีอาจจะมาคุมงานการแก้ไขปัญหาในภาคใต้

สมมุติฐานที่สอง การสร้างสถานการณ์ขึ้นมาเอง การเกิดขึ้นของพันธมิตรฯเหตุผลระดับต้นๆ กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องน่าจะต้องการทำลายระบอบของทักษิณซึ่งเป็นการเมืองระบบเก่าให้หมดสิ้นลงไป เพราะได้ส่งผลกระทบทุกภาคส่วนของสังคม การเมือง เศรษฐกิจ โดยได้ส่งผลกระทบต่อสถานะของกลุ่มผู้นำอื่นๆที่เคยมีบทบาทที่ผ่านมา โดยวัตถุประสงค์ข้างต้นหากพิจารณาแล้วยังไม่ประสบผลสำเร็จคงต้องดำเนินการในการต่อสู้ต่อไป อย่าลืมว่าการต่อสู้ทางการเมืองในครั้งนี้ ต้องอาศัยการสร้างสถานการณ์เพื่อสร้างความชอบธรรมเพื่อทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม ดังนั้นจึงไม่แปลกใจมากนักหากสมมติฐานนี้จะมีผู้สงสัยว่าอาจบุคคลบางคนที่มีอิทธิพล ต้องการเดินเกมส์ทำลายล้างระบบทักษิณให้หมดลงให้ได้ โดยการสร้างสถานการณ์อีกครั้ง เพราะอย่างที่กล่าวข้างต้นว่าสงครามยังไม่จบ จึงต้องการสร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรงอีกครั้ง

นอกจากนี้ ภาพของกลุ่มพันธมิตรฯที่ผ่านมาได้ตกเป็นฝ่ายตั้งรับจากบุคลิกที่อ่อนน้อมถอมตนของนายสมชาย และข้อเสนอการเมืองใหม่ไม่ได้รับการตอบรับมากนักจากสังคมโดยส่วนรวม โดยพันธมิตรมีความตั้งใจให้เกิดการเมืองใหม่โดยมีสาระสำคัญลดอำนาจของฝ่ายการเมืองลงยังไม่ประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้ ที่สำคัญเกมส์การแก้รัฐธรรมนูญโดยการตั้ง ส.ส.ร3 ได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชน เพราะเห็นว่าเป็นแนวทางในการลดความขัดแย้งได้ รวมทั้งส่งผลให้รัฐบาลเป็นควบคุมแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ได้ ด้วยเหตุนี้ หากกลุ่มพันธมิตรไม่สามารถควบคุมแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ได้แล้วย่อมต้องเสียเปรียบในการสร้างกติกาฉบับใหม่ ส่งผลให้การเมืองยังเป็นรูปแบบเก่าโดยยังทำให้นักการเมืองในระบบการเมืองเก่า

แม้ว่ายังไม่สามารถให้คำตอบอย่างชัดเจนว่าสาเหตุการจับกุมมีเบื้องหลังอย่างไร้ โดยอาจจะหาคำตอบจากสมมุติฐานข้างต้นดังที่กล่าวไปแล้ว ซึ่งขึ้นอยู่กับการรับรู้ข้อมูลของบุคคล แต่ทิศทางการเมืองในห้วงต่อไปยังน่าเป็นห่วงโดยจะมีการชิงความได้เปรียบทางการเมือง โดยยังมีแนวโน้มว่าจะมีความรุนแรงทางการเมืองมากขึ้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากมองในวิชาการแล้ว การจับกุมแกนนำพันธมิตรในครั้งนี้ จะเป็นตัวยกระดับการต่อสู้ของฝ่ายพันธมิตรเอง เพราะแสดงให้เห็นการเสียสละผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อให้การเมืองใหม่เดินหน้าต่อไปได้ ประกอบจะทำให้แนวทางอารยะขัดขืน(Civil Disobedience) มีความชอบธรรมมากขึ้น เนื่องจากในประเทศตะวันตกผู้ที่ประกาศใช้ต้องยืดหยัดที่จะรับผิดชอบทางกฎหมายกับสิ่งได้ทำลงไป หากแกนนำพันธมิตรเข้าใจถึงแนวทางการต่อสู้ข้างต้นและไม่ผลประโยชน์แอบแฝงแล้วก็จะทำให้การพัฒนาทางการเมืองไทยยกระดับไปอีก

ที่สำคัญจะทำให้หลักการเรื่องนิติรัฐ(Rule of Law )กลับมาอีกครั้งหนึ่งหลังจากถูกทำลายไปในช่วงอดีตผู้นำท่าหนึ่งได้เข้ามาบริหารประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นโอกาสอันดีที่พันธมิตรจะเป็นผู้เริ่มต้นโดยการแสดงให้ภาคสังคมเป็นตัวอย่างที่ดีว่าเมื่อกระทำผิดกฎหมายแล้วต้องรับผิดโดยให้กระบวนการทางกฎหมายเป็นผู้ชี้ขาด รวมทั้งเป็นการพิสูจน์ว่าเหตุการณ์จับกุมแกนนำไม่ใช้การสร้างสถานการณ์เพื่อรุกทางการเมืองครั้งใหม่ตามที่มีปรากฏข่าวสารว่ายังมีความพยายามในการสร้างสถานการณ์ต่อสู้ในครั้งสุดท้าย โดยยังมีเป้าหมายให้ทหารเข้ามาเป็นตัวช่วยเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ชนะอย่างเบ็ดเสร็จ

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การแก้ไข้รัฐธรรมนูญไม่ใช้คำตอบสุดท้ายในการแก้ไขวิกฤติการเมือง

การแก้ไข้รัฐธรรมนูญไม่ใช้คำตอบสุดท้ายในการแก้ไขวิกฤติการเมือง

กระแสการตอบรับถึงข้อเสนอของอธิการบดี 24 สถาบันในวงกว้างได้กดดันให้รัฐบาลต้องนำมาบรรจุเป็นนโยบายที่จะมีการแถลงต่อรัฐสภาระหว่าง6-7 ต.ค.51โดยคาดว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ ส.ส.ร.3 คงจะไม่ใช้คำตอบที่สำเร็จรูปว่าเมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วทุกอย่างจะสงบลงได้อย่างที่หลายฝ่ายกำลังคิดกันอยู่ เนื่องจากมันเป็นวิธีการคิดของคนไทยในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองในลักษณะอยากให้ปัญหาจบลงโดยเร็ว แต่ไม่ตระหนักว่ากระบวนการยุติปัญหาเพื่อให้มีการพัฒนาในระบบประชาธิปไตยนั้นต้องใช้เวลาตามแนวความคิดของพัฒนาการทางการเมือง หรือ Political Developement รวมทั้งยังไม่มีความเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของสังคมไทยในแง่ของจิตวิทยาหรือนิสัยของความเป็นไทย กล่าวคือ

ประการแรก เมื่อความคิดแย้งที่เห็นอยู่มันแบ่งแยกอย่างชัดเจนแล้วในลักษณะคู่ตรงข้าม(Binary Opposition) มันก็ไม่มีความแตกต่างจากความขัดแย้งระหว่างระหว่างโรงเรียนเทคนิคที่มักจะมีการยิงหรือทำร้ายร่างกายเมื่อเผชิญหน้ากันหรือหากรู้ว่าเป็นศัตรูก็ทำร้ายร่างกายโดยไม่มีความจำเป็นต้องสอบถาม ซึ่งการเมืองไทยจนถึงวันนี้ กำลังเป็นภาพขยายของอีกด้านสังคมในด้านลบเฉกเช่น ความขัดแย้งของนักเรียนอาชีวะ ดังนั้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ทุกอย่างสมานฉันท์กันได้แต่ปฏิรูปภาคสังคมทั้งระบบด้วยเพราะพื้นฐานของการเมืองเก่าในปัจจุบัน

ประการที่สอง มีความต่อเนื่องจากประเด็นแรกก็คือ การเมืองสะท้อนสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมหรือไม่สามารถแยกออกจากสังคมโดยส่วนรวมได้ เมื่อแก้รัฐธรรมนูญโดยไม่ได้แก้สังคมหรือการเปลี่ยนแปลงตนเองได้แล้วมันก็ไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพได้ เพราะสังคมยังปฏิบัติตัวเหมือนเดิม เนื่องจากมีกรอบของความคิด วัฒนธรรม ความเชื่อที่ยังขัดต่ออุดมการณ์ความเป็นประชาธิปไตยอยู่ ผู้คนในสังคมยังมีกรอบความคิดที่ยังไม่เอื้อต่อระบบประชาธิปไตยแบบตะวันตก ดังนั้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการปฏิรูปสังคมทั้งระบบด้วย โดยเฉพาะการศึกษา ของไทยค่อนข้างล้าสมัยเมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง ดังนั้นหากสามารถผลักดันการปฏิรูประบบการศึกษาซึ่งเป็นขั้นแรกในการปฏิรูปสังคม แนวโน้มการเมืองไทยน่าจะดีขึ้นในภายภาคหน้า

ประการที่สาม พลังในการขับเคลื่อนต้องมีความชอบธรรม(Legitimacy)หากเริ่มต้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญขาดความชอบธรรม อันเกิดจากการยอมรับของคนทั่วประเทศแล้ว ผลที่ตามมาก็จะเกิดขบวนการล้มและไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ อันนำไปสู้การต่อสู้ทางการเมืองอีกครั้ง ปัญหาที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องช่วยกันผลักดันก็คือว่าทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดความชอบธรรมที่เกิดขึ้นจากการยอมรับและไม่มีช่องทางในการปฏิเสธของคนบางกลุ่มได้ สำหรับสถานการณ์ในแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 3 นี้ ยังอยู่ในขั้นตอนที่สำคัญคือการสร้างความชอบ หากขั้นตอนนี้ประสบผลสำเร็จแล้วขั้นตอนอื่นไม่น่าจะมีปัญหามากนัก อย่างไรถือว่าเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากที่สุด
ประการที่สี่ จากการที่ประเทศไทยมีวัฒนธรรมอุปถัมภ์โดยผู้ใหญ่จะเป็นตัวเกื้อกูลสนับสนุนผู้น้อย หากผู้ใหญ่สามารถเป็นตัวหลักที่ได้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่มีการสนับสนุนแทรกแซงกระบวนการน่าจะทำให้เป็นไปได้ด้วยดี แต่หากผู้ใหญ่ในบ้านเมืองยังไม่มีการละทิ้งซึ่งความแค้น ความเกลียดชังแล้วแม้จะสามารถผลักดันกระบวนการแก้ไขได้ก็จะนำมาสู่การไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญในที่สุด

ประการที่ห้า ประชาชน สื่อมวลชน ในประเทศต้องช่วยกันในการตรวจสอบหรือผลักดันให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับมากที่สุด โดยต้องแสดงพลังกดดันให้ฝ่ายรัฐบาลไม่ดำเนินการใดๆด้วยการแอบแฝง ขณะที่นักการเมืองต้องปรับตัวเช่นกันว่าหากสามารถเสียสละอำนาจที่เคยใช้อย่างมากมายและหันมาสร้างกติกา โครงสร้าง ที่สังคมยอมรับแล้วน่าการทำเพื่อประโยชน์ในระยะยาวของประเทศมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว

แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ใช้คำตอบสุดท้ายในการแก้ไขวิกฤติทางการเมืองในครั้งนี้ แต่เปรียบเสมือนโครงสร้างของการใช้อำนาจหากไม่มีแล้วการใช้อำนาจจะไม่สามารถสร้างประโยชน์ต่อบ้านเมืองได้หรือใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมโดยไม่มีแนวทางกำหนดไว้ ประกอบกับผู้ใช้เองต้องตระหนักถึงการใช้อำนาจด้วยโดยต้องพึงสังวรว่า ต้องใช้อำนาจเพื่อทำประโยชน์กับประชาชน อย่ายึดติดอำนาจหรือเห็นว่าตนเองคืออำนาจ แล้วน่าจะทำให้รัฐธรรมนูญมีความศักดิ์มากกว่าที่เป็นอยู่และไม่นำมาสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งต่อไป

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

ข้อเท็จจริงต้องพิจารณาก่อนการเจรจากลุ่มก่อความไม่สงบ
ความพยายามของกลุ่มบุคคลหลายฝ่ายที่ต้องการใช้แนวทางการเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ ยุติสถานการณ์ความรุนแรงใน จชต. แม้ว่าวัตถุประสงค์จะเป็นเรื่องที่ดีที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาข้างต้นที่ทวีความรุนแรงมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2547 แต่มีความจำเป็นที่ต้องพิจารณาให้รอบครอบถึงสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยควรต้องวิเคราะห์ถึงความเป็นจริงและผลกระทบที่จะตามมาหากมีการเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความไม่สงบของฝ่ายรัฐได้โดยฉับพลันหากแนวทางการเจรจากลายเป็นกระแสสามารถสร้างความสนใจในระดับนานาชาติ
สำหรับแนวทางพิจารณาถึงความเป็นจริงของสถานการณ์ทั้งของฝ่ายรัฐและกลุ่มก่อความไม่สงบ รวมทั้งผลกระทบที่ตามมากเมื่อมีการเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ มีดังนี้

การเจรจาเป็นการทำให้สถานการณ์ใน จชต.เป็นปัญหาสากลและขัดต่อแนวทางหรือโยบายของฝ่ายรัฐที่ต้องการให้เป็นปัญหาภายในประเทศหรือไม่ เนื่องจากว่าหากมีการนำเสนอผ่านสื่อมวลชนในต่างประเทศ ว่า ผลการเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จแล้ว ย่อมทำให้เกิดภาพลบต่อฝ่ายรัฐ โดยอาจมีคนบางกลุ่มไม่หวังดีนำไปโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งจะทำให้ปัญหาในพื้นที่กลายเป็นจุดสนใจส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบหรือกลุ่มคนที่มีแนวความคิดแบบสุดโต่งเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น เนื่องจากเห็นว่าไม่ใช้ปัญหาภายในแต่เป็นปัญหาของชาวมุสลิมทุกคน
การมุ่งหวังที่จะสามารถลดปัญหาความขัดแย้งในทันทีและเร็ววัน ขณะที่การเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบยังมีอุดมการณ์ต่อต้านอำนาจรัฐอย่างต่อเนื่อง และสภาพของกลุ่มฯได้เปลี่ยนแปลงอย่างไปอย่างมากนั้น เป็นการตอบสนองทางการเมืองหรือไม่ หากเป็นการตอบสนองทางการเมืองก็ไม่สามารถยุติปัญหาได้ทันที เนื่องจากเป็นการให้ความสำคัญภาพลักษณ์ของฝ่ายรัฐในระยะสั้น โดยยังไม่มีการเตรียมความพร้อมในเชิงโครงสร้างที่จะรองรับกับแนวทางดังกล่าวไว้เลย เช่น การเผยแพร่อุดมการณ์มีความซับซ้อนและยังเป็นตัวขับเคลื่อนที่เชื่อมโยงกับการต่อสู่ในต่างประเทศ จึงไม่สามารถยุติได้เร็ววัน เพราะยังไม่มีกลไกใดสามารถยุติปัญหาดังกล่าวได้

การใช้การเจรจาที่หลายฝ่ายอ้างว่าเป็นการกวนน้ำให้ขุ่นเพื่อทำให้เห็นว่าใครแกนนำของกลุ่มก่อความไม่สงบตัวจริงนั้น จะทำให้แกนนำที่แท้จริงปรากฏตัวหรือไม่ เนื่องจากในทางกลับกันน่าจะถูกฉกฉวยจากนักฉวยโอกาสที่แสวงประโยชน์ แม้ว่าจะทำให้กลุ่มก่อความไม่สงบอาจเกิดความขัดแย้งกันเอง แต่ในอีกทางหนึ่งน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้กลุ่มฯมีความระมัดระวังในการปฏิบัติการทางลับมากขึ้น รวมทั้งยังจะเพิ่มความรุนแรงในพื้นที่ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าแกนนำที่ไปเจรจาไม่มีอำนาจในการควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่

แกนนำของกลุ่มก่อความไม่สงบที่มีการเจรจาสามารถควบคุม/สั่งการแนวร่วมได้หรือไม่ รวมทั้งกลุ่มก่อความไม่สงบมีเอกภาพหรือไม่อย่างไร เนื่องจากในระยะหลังได้เกิดปรากฏการณ์แนวร่วมใหม่ปฏิเสธความช่วยเหลือจากแกนนำรุ่นเก่า รวมทั้งการปรับตัวของกลุ่มก่อความไม่สงบในปัจจุบันเป็นเครือข่ายที่มีความเป็นอิสระระหว่างกันและเครือข่ายมีรูปแบบ Flat Organization ซึ่งมีความแตกต่างจากองค์กรของกลุ่มก่อความไม่สงบในอดีตที่มีลักษณะสั่งการจากข้างบนลงล่าง เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วอำนาจการสั่งการไม่ได้ขึ้นกับแกนนำคนเดียว แต่แกนนำจะเกิดขึ้นมาจากการสนับสนุนจากแนว ส่งผลอำนาจการตัดสินใจได้กระจายออกไปสู่เครือข่ายของแกนนำต่างๆ นอกจากนี้ หากเจรจาประสบผลไม่ได้หมายความว่าแนวร่วมจะยุติบทบาทลงได้ในทันที เพราะในด้านจิตวิทยาแล้วอุดมการณ์จะมีลักษณะติดตัวจนไม่สามารถลบออกในทันทีโดยต้องรอเวลาจนกว่าแนวร่วมหมดอายุไข รวมทั้งแนวร่วมในปัจจุบันส่วนหนึ่งเป็นแนวร่วมที่ผสมผสานระหว่างกึ่งอุดมการณ์และผลประโยชน์ หรือบางส่วนมีลักษณะ Commercial Insurgent จึงสามารถสร้างสถานการณ์ได้หากมีการเสนอผลประโยชน์ตอบแทน

การเจรจาต้องดำเนินการในทางลับหากมีการเปิดเผยจะส่งผลเสียมากว่าผลดีอย่างไร แม้ว่าการเจรจาที่ผ่านจะดำเนินการโดยส่วนตัวแต่ในมุมมองจากสื่อต่างประเทศจะเห็นว่าเป็นความพยายามจากฝ่ายรัฐ รวมทั้งคงปฏิเสธไม่ได้ว่าจะส่งผลกระทบต่อฝ่ายรัฐเช่นกัน เนื่องจากจะเป็นการตั้งความหวังกับประชาชนรวมทั้งสามารถเรียกร้องความสนใจจากต่างประเทศได้มากส่งผลให้องค์กรในต่างประเทศเกิดความสนใจมากขึ้น อาจนำไปเป็นประเด็นในการพิจารณาและแทรกแซงในอนาคต

สำหรับการเจรจาที่ อินโดนีเซียระหว่าง 21-22 ก.ย.51 โดยมีนาย Yusuf Kalla รอง ปธ.อินโดนีเซียเป็นตัวกลาง โดยรายงานของสำนักข่าวต่างประเทศระบุว่ามีตัวแทนของฝ่ารัฐบาลไทย คือ พล.ท.ขวัญชาติ กล้าหาญ อดีตแม่ทัพภาคที่4/ที่ปรึกษา รมว.กห. มีการเจรจากับตัวแทนกลุ่มก่อความไม่สงบ คือ นาย Wahyuddin Muhammad เป็นตัวแทนนั้น ในเบื้องต้นไม่น่าส่งผลให้สถานการณ์ลดความรุนแรงลง เนื่องจากตัวแทนการเจรจาไม่ใช้แกนนำที่สำคัญของกลุ่มฯ และที่ผ่านมายังไม่มีการเจรจาครั้งไหนจะสามารถยุติปัญหาใน จชต.ได้ซักครั้งหนึ่ง โดยผลกระทบที่ตามมาน่าจะส่งผลกระทบกับฝ่ายรัฐมากกว่าเพราะจะถูกกลุ่มฯนำไปโฆษณาได้ว่าฝ่ายรัฐไม่มีความจริงใจ เพราะไม่มีการตอบสนองจากผู้ที่รับผิดชอบที่แท้จริง เนื่องจากฝ่ายรัฐไม่มีนโยบายในการเจรจา นอกจากนี้ เปิดเผยในช่วงที่รัฐบาลใหม่กำลังจัดตั้งรัฐบาลน่าจะมีผลประโยชน์ทางการเมืองแอบแฝงมากกว่ามุ่งสำเร็จในระยะยาว
การเจรจาเป็นเรื่องสำคัญเพราะการแต่งตั้งตัวแทนต้องมีความชอบธรรมที่เกิดขึ้นจากการยอมรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีลักษณะเป็นทางการ เพราะขัดต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะกำหนดขอบเขตให้เป็นปัญหาภายในประเทศ และสถานการณ์ยังไม่เหมาะสม แต่การเจรจาที่ผ่านมามักทำเป็นการส่วนตัวและมีผลประโยชน์ทางการเมืองแอบแฝงมากกว่าการมุ่งกระทำเพื่อผลประโยชน์ของชาติในระยะยาว ประกอบการใช้แนวทางดังกล่าวต้องพิจารณาถึงความเป็นจริงข้างต้นด้วย ซึ่งจะทำให้เห็นว่าการเจรจามีความจำเป็นในขณะนี้หรือไม่

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2551

ความเข้ากันไม่ได้ทางการเมือง

ความเข้ากันไม่ได้ทางการเมือง

ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยขณะนี้ในทางวิชาการมีสิ่งที่เรียกว่าความลักลั่นหรือ ที่เรียกว่า Paradox คือ ความไม่สามารถเข้ากันได้ ทั้งจากฝ่ายพันธมิตรและรัฐบาล ก่อนจะเข้าในสาระสำคัญ คงต้องทำความเข้าใจถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นของความขัดแย้งหรือบางฝ่ายเห็นว่าเป็นสงคราม แต่หากพิจารณาถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตลอดระยะ100กว่าวันของชุมนุมของฝ่ายพันธมิตร กดดันรัฐบาลจะเห็นลักษณะบางประการที่น่าสนใจ

จุดมุ่งหมายของการต่อสู้ของฝ่ายพันธมิตรไม่มีความชัดเจนว่าทำเพื่อสร้างการเมืองใหม่ในระบบประชาธิปไตยมีความมุ่งหมายอย่างไร แม้ว่าจะไม่ต้องการให้นักการเมืองมีบทบาทแต่ในความเป็นจริงในโลก นักการเมืองต้องมาจากเลือกตั้งเกือบทุกประเทศที่เป็นประชาธิปไตย และการเสนอแนวความคิด 70:30 มันขัดกับหลักประชาธิปไตย ดังนั้น ต้องมีการถามคนทั้งประเทศหรือต้องมีการศึกษาข้อดีข้อเสียโดยให้ประชาชนของประเทศให้เป็นผู้ตอบความต้องการของตนเอง

อีกประการหนึ่งการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกนั้น เพื่อให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่มีคำถามมากมายว่าจะให้ใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีและหากต้องการให้ ส.ส.พรรคพลังประชาชนยุติบทบาทแล้วปัญหามันจะยุติความขัดแย้งหรือเป็นการเพิ่มความขัดแย้ง เพราะในขณะนี้ ในแง่สังคมวิทยาแล้วความขัดแย้งมันถูกจัดตั้งขึ้นและมีการกล่อมเกลาไปทุกพื้นที่ มันจึงเป็นกลไกที่จะสร้างความขัดแย้งด้วยตัวของมันเอง ด้วยบทสรุปข้างต้นทำให้พันธมิตรไม่มีความแตกต่างกับนักการเมืองเท่าไหร่นัก
การพยายามขยายวงกว้างให้เกิดการประท้วงกดดันของฝ่ายพันธมิตรเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความต้องการมีส่วนร่วมแต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นเพื่อรักษาสถานะของพันธมิตรหรือไม่เพราะในแง่ของแกนนำแล้วมีหมายจับคดีกบฏ ดังนั้นหากมีมวลชนสนับสนุนฝ่ายรัฐก็จะไม่กล้าดำเนินการใดๆตามกฎหมาย

การที่กลุ่มพันธมิตรพยายามรักษารัฐธรรมนูญปี 2550ที่หลายฝ่ายเห็นว่าเป็นประชาธิปไตยนั้น ยังมีคำถามว่ารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะการปฏิวัติแม้จะมีการจัดทำประชามติแล้วมาจากความต้องการของประชาชนหรือไม่

ส่วนรัฐบาลมีความชัดเจนว่าต้องการรักษาอำนาจแม้ว่าจะอ้างว่าทำเพื่อรักษาระบบของประเทศทั้งที่ที่ผ่านมาระบบของประเทศล้มเหลวมาตลอด คงต้องใช้การเยียวรักษาเสียมากว่าซึ่งต้องอาศัยทุกภาคส่วนของสังคมช่วยกัน นอกจากนี้ นักการเมืองยังไม่ได้ตระหนักว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากตนเองเสียส่วนใหญ่ ดังจะเห็นจากยังมีการต่อรองก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำตัดสินนายกรัฐมนตรีผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่กรณีเป็นพิธีกร ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการทำให้เห็นว่านักการเมืองยังยึดผลประโยชน์ในระยะสั้นมากว่าผลประโยชน์ในระยะยาว และมีบางส่วนยังต้องการต่อสู้ในครั้งนี้ต่อไป
ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกฝ่ายต้องทบทวนด้วยความเป็นจริงที่ว่าการต่อสู้ครั้งนี้ เป็นเพียงความขัดแย้งของชนชั้นปกครองในรูปแบบสงครามตัวแทน แต่มีสิ่งที่คุมไม่ได้คือการสร้างมวลชนของแต่ละฝ่ายเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง จึงเป็นสิ่งท้าทายว่ามันจะจบลงอย่างใดเพราะว่าหากประชาชนที่เป็นมวลชนติดกระแสของการต่อสู้เสียแล้วกฎหมายก็ไม่สามารถใช้การได้

วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ความเป็นจริงที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง

ความเป็นจริงที่ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง

การทำร้ายร่างกายหรือการหมายจะเอาชีวิตของกลุ่มพันธมิตรจากกลุ่มคนรักษ์อุดรใน จ.อุดรธานี เมื่อ 25 ก.ค.51 ในสภาวะความขัดแย้งทางการเมืองที่เริ่มขยายตัวกลายเป็นการใช้ความรุนแรง(Violence)ในพื้นที่นอกใจกลางเมืองหลวง และเริ่มมีแนวโน้มขยายพื้นที่มากขึ้นตามกระแสการปลุกปั้นเพื่อเอาชนะทางการเมือง ซึ่งส่งผลให้เกิดความเข้าใจในทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์แล้วมีนัยสำค้ญอันแสดงความเป็นจริงในระบบการเมืองไทยในรูปแบบประชาธิปไตย(Democracy) ของไทยในเวลานี้

สำหรับข้อเท็จจริงในทางการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการใช้กำลังความรุนแรงทางการเมืองมีสาเหตุมาจาก
มวลชน/ประชาชน ยังมีพฤติกรรมของความเป็นทาสของนักการเมืองมากขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงความเป็นจริงทางของลักษณะของคนไทยได้ว่าแม้ว่าจะเปลี่ยนการปกครองเป็นระบบประชาธิปไตย ซึ่งต้องมีพื้นฐานของปัจเจกชนที่มีจิตใจของความเสมอภาคและการมีส่วนร่วมรองรับ แต่ตลอดระยะเวลา 76 ปี ยังมีจิตใจของความเป็นทาสและไพร่เหมือนเดิมอย่างไม่เปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ต่างจังหวัด อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของนักการเมืองในทุกระดับ ดังนั้นจึงมีความคล้อยตามและเชื่อการชี้นำของนักการเมืองในท้องถิ่น เพราะต่างมีผลประโยชน์ต่างตอบแทนกล่าวคือ นักการเมืองต้องใช้หรืออาศัยประชาชนเป็นฐานเสียงในการเลือกตั้ง รวมทั้งยังใช้เสียงของประชาชนในการอ้างความชอบธรรมของที่มาของอำนาจมาจากประชาชนว่ามีความชอบธรรมเหนือฝ่ายตรงข้าม ขณะที่ ประชาชนจะได้ผลประโยชน์ในรูปแบบของโครงการพัฒนาหรือเงินที่ได้รับจาการขายเสียง ดังนั่นประชาชนจึงเหมือนว่ามีนายคอยให้การอุปถัมภ์ตลอดเวลา เนื่องจากประชาชนจะเป็นฐานเสียง ฐานอำนาจ ให้แก่นักการเมือง

ข้าราชการ ในยุคของการต่อสู้ทางการเมืองมีความชัดเจนว่ากำลังถูกครอบงำจากนักการเมืองมากขึ้นเนื่องจากเป็นผู้ที่ให้ความก้าวหน้าและผลประโยชน์ต่อข้าราชการ เพราะอำนาจการเมืองมีสถานะที่เหนือกว่าภาคอื่นของสังคม ซึ่งไม่มีความสมดุลในระบบของสังคมไทยในปัจจุบัน การรุกคืบของฝ่ายการเมืองในระบบข้าราชการ ได้ใช้อำนาจทางการบริหารในการกดดันข้าราชการเลือกฝ่ายหรือต้องสนับสนุน หรือละเลยการปฏิบัติหน้าที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ส่งผลให้เกิดการทุจริตอย่างกว้างขวางในสังคมไทย ที่สำคัญกลายมาเป็นตัวอย่างกับสังคมว่าผู้ที่ทุจริตไม่ถูกลงโทษเกิดขบวนการเอาอย่างมากขึ้น ซึ่งเป็นผลจากระบบราชการไม่เอื้อต่อการบังคับใช้กฎหมาย ส่งผลให้ทุจริตอย่างกว้างขวางในสังคมแม้กระทั่งการสอบในโรงเรียน

นักการเมือง ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมานักการเมืองสามารถเข้าควบคุมอำนาจรัฐแทนข้าราชการ จากการใช้เครือข่ายประชาชนสนับสนุนจนสามารถเข้ามาเป็นผู้บริหารประเทศเทียบเท่าราชการหรือขุนนางในระบบกษัตริย์ ผ่านระบบเลือกตั้งประชาธิปไตย(Representative Democracy) การขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองโดยเสียเพียงเงินทุนมากกว่าการเสียสละเพื่อให้ซึ่งระบบประชาธิปไตยเฉกเช่นประเทศที่พัฒนาแล้ว ย่อมสร้างความหลงและเหลิงอำนาจให้กับนักการเมือง เนื่องจากเป็นการลงทุนทางการเมืองที่ได้ผลตอบแทนในระยะสั้นและได้อำนาจมาอย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นจากเมื่อได้อำนาจการบริหารประเทศแล้วมักจะใช้ในการสร้างความมั่นคงให้เครือข่ายของตนเองมากกว่าการใช้อำนาจในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งยังใช้อำนาจในลักษณะขจัดอุปสรรคทางการเมืองเพื่อให้มีความต่อเนื่องในการครองอำนาจในการบริหารประเทศ อันส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชนชั้นนำทางการเมืองอื่น ๆที่เคยมีอำนาจ จนเกิดความขัดแย้งและทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน

นอกจากนี้ นักการเมืองยังมีอาณาจักรทางการเมืองซึ่งเกิดขึ้นจากระบบการเมืองที่เน้นเลือกตั้งที่ใช้ฐานเสียง ซึ่งส่งผลให้นักการเมืองมีฐานที่มั่นในการต่อสู้ทางการเมืองและยังนำมาสู่การต่อรองหรือการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่อาจหมิ่นเหม่ต่อการกระทำผิดทางกฎหมาย โดยมีความคล้ายคลึงกับซุ้มของโจรในสมัยโบราณหรือศักดินาสมัยขุนนาง เพียงแตกต่างกันเพียงวันเวลาเท่านั้น

ชนชั้นกลาง ในประเทศไทยการเกิดขึ้นของชนชั้นกลางไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นตามแนวความคิดการพัฒนาทางการเมือง(Political Development) เพราะชนชั้นกลางในประเทศไทยนั้น ไม่ได้เป็นเสาหลักในการต่อสู้ให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยในประเทศไทย แต่เป็นทหารหรือข้าราชการ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในประเทศไทยไม่ได้เริ่มต้นจากชนชั้นกลางเฉกเช่นประเทศตะวันตก มักไม่ค่อยแสดงจุดยืนที่แท้จริงว่าประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับประเทศไทยมีแนวความคิดอย่างไร รวมทั้งไม่กล้ายืนหยัดในการต่อสู้อย่างเปิดเผยเพราะยังไม่มีจิตสำนึกของสาธารณะ(Public Mind) นอกจากนี้ มักจะเชื่อกับข่าวลวงและข่าวปล่อย ส่งผลให้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของความคิดของการต่อสู้ทางการเมืองทางอ้อม

ด้วยสภาพความเป็นจริงข้างต้นได้ส่งผลให้สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยในขณะนี้ เดินทางมาสู่จุดที่เรียกได้ว่าอยู่ในสถานการณ์ที่มืดมิดทางการเมืองและอาจนำมาสู่ความวุ่นวาย(Choas) ครั้งใหญ่โดยการใช้กำลังในประเทศมากขึ้น หากต่างฝ่ายยังไม่หยุดการต่อสู้ในครั้งนี้
แนวทางการแก้ไข

สำหรับแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้น การกล่าวลอยๆถึงแนวทางการแก้ไขคงไม่สามารถนำมาแก้ไขที่เกิดขึ้นได้ โดยควรดำเนินการการแก้ไขในระดับโครงสร้างของความคิดเสียก่อนซึ่งเป็นส่วนบนสุดซึ่งเป็นต้นเหตุที่มาของอำนาจในรูปแบบการสร้างวาทกรรมในสังคมไทย แต่ต้องใช้เวทีทางวิชาการระดมความคิดเพื่อหาทางออกให้กับสังคมไทย โดยในขั้นแรกทุกฝ่ายต้องแสวงหาความจริงเชิงประจักษ์ในทุกแง่มุม ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของแนวทางการแก้ไขปัญหา การการแสวงหาความจริงหรือยอมรับความเป็นจริงในสังคมไทยที่ผ่านมามักได้รับการปฏิเสธ ซึ่งส่งผลให้เกิดความซับซ้อนของปัญหามากขึ้น เพราะสังคมไทยไม่ได้เปิดใจกว้างและไม่มีความอดทนต่อการแก้ไขปัญหาในระยะยาวแต่นิยมการซ่อนปัญหาหรือใช้วิธีแก้ไขที่ขาดการไตร่ครองอย่างรอบด้านเพื่อเร่งให้ปัญหาจบลงโดยเร็ว โดยไม่ขาดความตระหนักว่าการเกิดขึ้นของปัญหาใช้เวลามากกว่าการแก้ไขปัญหา

นอกจากนี้ กระบวนการทางความคิดของสังคมไทยยังมีลักษณะเป็นมายาคติ(Mythology)เสียมาก มากกว่าการใช้เหตุผล(Rationalism) เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงไม่เกิดการถกเถียงเพื่อให้นำมาสู่จุดที่เรียกว่าการเกิดขึ้นทางปัญญา(Intellectual) แต่วาทกรรมของมายาคติจะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าการหยุดนิ่งทางปัญญาเพราะจะเกิดการอ้างสิ่งที่เหนือกว่าที่เกี่ยวข้องสิ่งศักดิ์ แนวความคิดที่ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ รวมทั้งความอาวุโส ได้ส่งผลให้เกิดความเสื่อมถอยทางความคิดมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในภาพรวมของสังคมไทยจึงเป็นสังคมที่ขาดซึ่งการพัฒนาทางด้านความคิด ส่งผลให้ไม่มีพื้นฐานรองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางกระบวนการความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม

ผลกระทบที่ตามมาได้ส่งผลต่อสังคมก่อให้เกิดปัญหาในทุกด้านทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม โดยมีที่มาของสาเหตุของปัญหาจากระบบความคิดในเชิงปรัญชาในข้างต้น เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการแก้ไขปัญหาคงต้องใช้เวลานาน ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะใช้ระยะเวลามากน้อยเท่าไหร่ถึงจะแก้ไขปัญหาการเผชิญหน้าในประเทศไทยได้ เพราะลำพังการให้เวลาแล้วปัญหาจะจบคงใช้ไม่ได้ แ ต่ต้องอาศัยพลังของประชาชนทั้งประเทศในการกำหนดอนาคตของประเทศมากกว่าการปล่อยให้กลุ่มพลัง กลุ่มการเมืองมา เป็นผู้ผูกขาดอำนาจ/การกระทำหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่พอเพียงที่จะหลุดพ้นจากสภาพปัญหาดังกล่าว

วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การเมืองใหม่เครื่องมือในการต่อสู้กับระบอบทักษิณ

การเมืองใหม่เครื่องมือในการต่อสู้กับระบอบทักษิณ

การเมืองใหม่(new politic)ที่ฝ่านพันธมิตรได้ประกาศเป็นวาระในการต่อสู้กับทุนนิยมการเลือกตั้ง ได้สะท้อนความเป็นจริงของการต่อสู้ทางการเมืองในครั้งนี้ ได้ว่ากลุ่มพันธมติต้องการจะล้มระบอบโดยเฉพาะการทำลายฐานมวลชน การเมือง ที่อดีตนักการเมืองสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นฐานทางอำนาจ สืบทอดอำนาจ โดยใช้ช่องทางทางประชาธิปไตยแบบตัวแทนเป็นเครื่องมือของการต่อสู้ ซึ่งได้ผลเป็นอย่างมากตลอดระยะเวลาที่นักการเมืองผู้นั้นครองอำนาจ

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วหนทางที่จะล้างระบอบดังกล่าวต้องใช้การเมืองใหม่หรือการเคลื่อนไหวของประชาสังคมรูปแบบใหม่(the new social movement) จะเน้นการเคลื่อนไหวในทางการเมืองในลักษณะเรียกร้องกดดันฝ่ายรัฐ โดยใช้วิธีการหรือหลักที่สำคัญ คือ การขัดขืนทางอารยะหรือการดื้อเพ็ง(Civil Disobedience) ซึ่งในทางทฤษฎีเรียกว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองในลักษณะดังกล่าวว่า การเมืองในรูปแบบใหม่หรือขบวนการเคลื่อนไหวทางประชาสังคมในรูปแบบใหม่ (the new politics and the new social movement) วัตถุประสงค์ของขบวนการไม่ต้องการครอบครองอำนาจรัฐเหมือนกับพรรคการเมืองหรือ กลุ่มทุน แต่ต้องการสร้างวาทกรรมทางการเมืองที่เปิดกว้างให้ภาคสังคมมากขึ้น มากกว่าการเมืองที่มีความหมายที่คับแคบเช่นการเมืองแบบตัวแทน หรือการเมืองที่เน้นการเลือกตั้ง ซึ่งอำนาจรัฐจะอยูที่กลุ่มคนในวงจำกัด

ปัจจัย/สาเหตุที่ทำให้การเกิดขึ้นการเมืองในรูปแบบใหม่หรือขบวนการประชาสังคมใหม่ มีสาเหตุมาจากการต่อต้านการเมืองรูปแบบเก่าไม่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคสังคมที่หลากหลายได้ เนื่องจาก
ประการแรก การเมืองแบบเก่าที่เน้นการเลือกตั้ง การเมืองแบบพรรคการเมือง ที่ใช้หรือดำรงอยู่เป็นพียงรูปแบบการรักษาอำนาจและสถานภาพ
ประการที่สอง ปัญหาที่เกิดขึ้นรัฐชาติ รัฐบาล ชุมชนมีความยุ่งยากซับซ้อนในปัจจุบัน ขีดความสามารถของหน่วยงานของรัฐไม่สามารถแก้ไขได้ แต่ต้องการความร่วมมือในรูปของเครือข่ายระดับท้องถิ่น ประเทศ และ สากล
ประการที่สาม ข้อจำกัดทั้งประชาธิปไตยแบบตัวแทน(Representative Democracy)เป็นเพียงการครอบงำจากทุนนิยม ขณะที่ประชาธิปไตยของฝ่ายซ้ายในรูปแบบรัฐสวัสดิการเป็นการมุ่งสลายพลังของประชาชนแต่เป็นการสร้างความเข้มแกร่งให้กับรัฐ เนื่องจากรัฐจะ
ประการที่สี่ การเกิดขึ้นของการเมืองใหม่โดยมีเคลื่อนประชาสังคมใหม่มีความแตกต่างจากประชาสังคมในรูปแบบอาสาสมัคร เนื่องจากประชาสังคมในรูปแบบอาสาสมัครยังเห็นรัฐเป็นตัวกลาง แต่การเมืองในรูปแบบใหม่ต้องการทัดทาน สร้างขีดจำกัดให้กับอำนาจรัฐ ต้องการสร้างพื้นที่/อาณาบริเวณสาธารณะ(the public sphere ) รวมทั้งต้องการสร้างพลเมืองที่มีจิตสำนึกทางการเมืองสูง

เครื่องมือในการต่อสู้ของในการเมืองรูปแบบใหม่ คือ สิทธิในการไม่เชื่อฟังรัฐของประชาสังคมหรือประชาชน (Civil Disobedience) เป็นการแสดงออกที่ไม่เห็นด้วยกับระบบ และเป็นความชอบธรรมของการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย เพื่อสร้าง/เรียกร้องสิทธิใหม่ๆ วัตถุประสงค์ในการสร้างกระแสให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แก้ไขกฏหมาย หรือเป็นช่องทางการเคลื่อนไหวของประชาชนธรรมดาในระบบประชาธิปไตยที่อยู่นอกเหนือช่องทางปกติ นอกเหนือกฎหมาย นอกเหนือสถาบันหลักต่างๆในสังคม แต่เป็นสิ่งชอบธรรมที่สามารถทำได้ รวมทั้งยังตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านกฏหมาย สังคม โดยไม่ได้ปล่อยให้ฝ่ายรัฐ เช่น ผู้พิพากษา นักกฎหมาย นักการเมือง นักวิชาการ ข้าราชการ เป็นผู้ผูกขาดการกำหนดทิศทางการเมืองแต่เพียงฝ่ายเดียว

การดื้อเพ็งหรืออารยะขัดขืน(Civil Disobedience)เป็นหลักการและวิธีการที่ใช้อย่างแพร่หลายเช่นการต่อต้านอังกฤษในอินเดีย การต่อสู้การแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ซึ่งเกิดขึ้นแนวความคิดของนาย เฮนรี เดวิด ธอโร นักเขียนชาวอเมริกันในบทความชื่อดื้อเพ็ง ในชื่อเดิมว่า การต่อต้านรัฐบาลพลเมือง ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเคลื่อนไหวในภาคสังคม

ลักษณะการดื้อแพ็งประกอบด้วย 1)การละเมิดกฎหมาย หรือตั้งใจละเมิดกฎหมาย 2)การไม่ใช้ความรุนแรงหรือแนวทางสัติวิธี 3)การแจ้งล่วงหน้าว่าจะทำการขัดขืนทางอารยะ 4)การเต็มใจที่จะรับผลจาการขัดขืน 5)การกระทำเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมาย 6)การมุ่งสร้างสำนึกความยุติธรรมแก่สังคมโดยรวม

ส่วนการนำวิธีการอารยะขัดขืนมาใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ในการเมืองไทยที่มีความชัดเจนมากขึ้นเมื่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ประกาศอย่างชัดเจนที่ใช้แนวทางดังกล่าวในการต่อสู้กับฝ่ายรัฐ อย่างไรก็ตามแนวทางดังกล่าวได้มีการใช้ในทางวิชาการมาแล้วในระยะหนึ่ง หรือ มีการใช้ในระดับปัจเจกชน เช่น การที่อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉีกบัตรลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อ 2 เม.ย.49

สำหรับการนำเสนอของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยครั้งล่าสุดโดยมีการประกาศการเมืองใหม่ มีสาระให้ที่มาของ ส.ส.มาจากแต่งตั้งร้อยละ 70 และ การเลือกตั้งร้อยละ 30 ในความเป็นจริงแล้วมีวัตถุประสงค์ที่จะลดขนาดการเมืองให้เล็กลงเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเชิงอำนาจที่นักการเมืองมีอำนาจมากกว่าภาคอื่นๆของสังคม

อย่างไรก็ตาม จากการที่แกนนำของฝ่ายพันธมิตรได้รับอิทธิพลของแนวความคิดจากสงครามประชาชนนำมาประยุกต์ใช้ในการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นแนวความคิดของฝ่ายซ้าย แม้ว่าในระยะเวลานี้ยังอยู่ในขั้นของการต่อสู้และยังไม่ชนะ ซึ่งหากฝ่ายพันธมิตรได้รับชัยชนะสิ่งหนึ่งจะมีเปลี่ยนไปอาจเกิดการหลงอำนาจและขับเคลื่อนการเคลื่อนให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม อันจะส่งผลกระทบต่อสถาบันหลักของชาติ

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การก่อการร้ายในการเมืองไทย (Terrorist in Thai Politic)

การก่อการร้ายในการเมืองไทย (Terrorist in Thai Politic)

หากพิจารณาวิธีการ รูปแบบ ลักษณะการต่อสู้ทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มพันธมิตรในประเทศไทยในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับสงครามการก่อการร้ายมีความเหมือนและคล้ายคลึงกัน เมื่อพิจารณาจาก

การต่อสู้เชิงสัญญาลักษณ์ โดยต่างฝ่ายต่างสร้างภาพลักษณ์ของตนเองว่าเป็นตัวแทนที่ชอบธรรมของการต่อสู้เช่นเป็นตัวแทนของกลุ่มทุนนิยม ต่อสู้กับกลุ่มอำมาตยาธิปไตย ซึ่งไม่แตกต่างกับการประกาศการต่อสู้ของกลุ่มอัลกออิดะห์กับตะวันตกที่นำโดยสหรัฐอเมริกา

การมุ่งเอาชนะทางการเมืองโดยมุ่งทำทุกวิธีทางทั้งเปิดเผยและลับ รวมทั้งตั้งวอร์รูมประเมินสถานการณ์ต่อนาทีเพื่อไม่ให้เกิดความเพลี่ยงพล้ำต่ออีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งการหาช่องทางกฏหมายเพื่อมุ่งนำแกนนำในการต้อสู้มาลงโทษ

การใช้วิธีการข่าวกรองที่ไม่มีความแตกต่างกับหน่วยงานความมั่นคงในระดับประเทศ โดยมีการจัดตั้งสายลับ ผู้ให้ข้อมูล(Informer) เพื่อสืบสภาพของแต่ละฝ่ายทั้งเรื่องในอดีต ปัจจุบันและประเมินแนวทางการเคลื่อนไหวในอนาคตเพื่อแก้ทางและแก้เกมส์ ด้วยเหตุนี้ การข่าวกรองซึ่งโดยธรรมชาติมีลักษณะการต่อสู้ในมุมมืด จึงเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพของแต่ละฝ่ายดังจะเห็นจากกลุ่มพันธมิตร

การสร้างมวลชนสนับสนุน(Basement)หรือการเอาชนะจิตใจประชาชนหรือ winning heart and mind โดยใช้ช่องทางการสื่อสารทุกช่องทางเพื่อสร้างความชอบธรรมและให้เกิดการคล้อยตาม รวมทั้งการปลุกระดมสร้างความเกลียดชังไม่ต่างอะไรกับการที่กลุ่มก่อความไม่สงบได้ปลุกระดมการทำสงครามเพื่อศาสนาหรือ Jihad โดยรัฐบาลอ้างว่าการต่อสู้ครั้งนี้เพื่อปกป้องระบอบประชาธิปไตย ขณะที่ฝ่ายพันธิมตรต่อสู้เพื่อสถาบัน

การต่อสู้ฝ่ายหนึ่งมีความได้เปรียบเชิงอำนาจรัฐ ขณะที่อีกฝ่ายไม่อำนาจแต่ใช้รูปแบบการต่อสู้นอกรูปแบบโดยมวลชน ซึ่งไม่แตกต่างกับการต่อสูของขบวนการก่อร้ายที่ใช้การต่อสู้แบบสงครามอสมมาตร หรือ Asymmetric Warfare คือ การต่อสู้โดยกำลังที่น้อยกว่าในรูปแบบการก่อการร้าย ซึ่งไม่สามารถคาดเท่ากลยุทธได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ การต่อสู่จึงขยายวงกว้างออกไปด้วยวิธีการต่อสู้ในลักษณะข้างต้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ววิธีการที่จะแก้ไขปัญหาการต่อสู้กับการก่อการร้ายในปัจจุบัน ยังมาสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เลย เช่นเดียวกับการต่อสู้ทางการเมืองในไทยยังไม่มีผู้ใดสามารถคาดเดาได้ว่าจะจบเช่นใด เพราะต่างฝ่ายต่างไม่มีความไว้วงาใจระหว่างกัน ไม่มีการรู้แพ้ชนะ หากพ่ายแพ้ก็จะเริ่มกระบวนการต่อสู้ครั้งใหม่

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551

วิกฤตการเมืองถึงขั้นวิกฤติ

วิกฤตการเมืองถึงขั้นวิกฤติ

การเคลื่อนไหวของกลุ่ม พ.ป.ป.เพื่อกดดันให้ นรม.หรือ ครม.ที่ถูกมองว่ารับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นรม.หมดสภาพความชอบธรรมที่มักอ้างว่ามาจากระบบประชาธิปไตยกำลังเข้าขั้นที่เรียกว่าอาจจะเกิดวิกฤตและอาจเกิดการเผชิญหน้าเพราะต่างฝ่ายไม่ยอมรับวิธีการสันติวิธี โดยจุดที่ต่างฝ่ายต่างทันกันคือ หากผู้ใดใช้ความรุนแรงก่อนย่อมเป็นฝ่ายได้เปรียบ รวมทั้งต่างฝ่ายโดยเฉพาะพันธมิตรกำลังสร้างวาทกรรมว่าการต่อสู้ครั้งนี้ เพื่อปกป้องแผ่นดินและราชวงศ์จักรี เพื่อแสดงให้เห็นว่าการต่อสู้มีความชอบธรรมเพื่อขับไล่อธรรมออกจากอำนาจ ที่สำคัญจะทำให้ชนชั้นกลางใน กทม.ออกมาเคลื่อนไหวเพิ่มเติม

สำหรับเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการต่อสู้ครั้งสุดท้ายในครั้งนี้ มาจาก พ.พ.ป.เองที่ได้ปลุกระดม เชิญชวนให้ร่วม สร้างการต่อสู้ครั้งสุดครั้งใหญ่ ในการขับไล่รัฐบาลตัวแทน ซึ่งยังได้รับการสนับสนุนจากลุ่มทุน ทหารที่เคยปฏิวัติเมื่อ 19 ก.ย.49 ประกอบกับฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะตัวนำ และ รัฐมนตรียังสร้างเงื่อนไขขึ้นเฉพาะหน้าหลายกรณี ที่สำคัญ ณ เวลานี้ถึงจุดสูงสุดของของการต่อสู้ที่ไม่สามารถรอมชอมกันได้แล้ว เนื่องจากข้อเรียกรองของพันธมิตรไม่อาจเป็นที่ยอมรับของผู้นำตัวจริงของพรรคพลังประชาชนได้ จึงเชื่อว่าการชุมนุมครั้งนี้ ต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อย

ผลกระทบในระยะแรกเพื่อให้รัฐบาลลาออก ซึ่งดูเหมือนว่าคงจะไม่มีการยอมรับจากรัฐบาลมากนัก เพราะมีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ตกอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งต้องยอมรับข้อเรียกร้องอื่นตามมาด้วย รวมทั้งยอมหมายถึงการยอมแพ้ของกลุ่มต่อต้าน

ส่วนตัวแปรที่สำคัญว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ชนะคือ ผบ.ทบ.ซึ่งในเวลานี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเลือกอยู่ฝ่ายใด โดยต้องขึ้นอยู่กับแนวโน้มว่าฝ่ายใดจะมีโอกาสที่ชนะมากกว่านั้นหมายว่า ผบ.ทบ.จะเลือกทำหน้าที่เพื่ออะไร ทางหนึ่งเลือกที่จะช่วยเหลือเพื่อร่วมรุ่น อีกทางหนึ่งเลือกเพื่อทำลายระบบทักษิณ ซึ่งระบอบที่เทียบเท่าระบบที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นจะเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลไม่ยอมลาออก โดยคาดว่าพันธมิตรเมื่อยึดทำเนียบไปแล้วนั้นหมายว่าศูนย์กลางการบริหารประเทศ อยู่ภายใต้การควบคุมของพันธมิตร ซึ่งคาดว่าจะยึดอย่างยืดเยื้อต่อไป แนวทางต่อสู้ครั้งนี้ จึงกดดันให้ฝ่ายรัฐบาล ต้องเหมือนกับรัฐบาลพลัดถิ่นที่ถูกขับไล่ออกจากประเทศ เพราะไม่มีความชอบธรรม

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วความกดดันจะเกิดขึ้นกับฝ่ายรัฐบาลหากขาดความอดทนและอดกลั้นต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วใช้ความรุนแรงต่อพันธมิตร ย่อมหมายถึงฝ่ายทหารโดย ผบ.ทบ.จะมีการตัดสินใจว่าจะเลือกเข้าข้างฝ่ายใด เพราะจะเกิดความชอบธรรมในการใช้อำนาจมากขึ้น นั้นหมายความว่าแนวทางในการต่อสู้อาจยังไม่ถึงจุดจบ เพราะเป็นการหยุดสถานการณ์ ความรุนแรง และจากการต่อสู้ครั้งนี้เป็นสงครามกลางเมืองที่จะยืดเยื้อเพราะระดับผู้นำยังไม่ได้ถูกทำลายอย่างย่อยยับ และยังพร้อมที่จะเอาคืนเสมอ แต่หากมีการประกาศยอมรับและขอโทษกับสิ่งที่ทำไปของอดีตผู้นำ มีความเป็นไปได้ว่าสถานการณ์อาจจะดีขึ้นก็ได้

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การต่อสู้ทางการเมืองเพิ่งเริ่มต้น

การต่อสู้ทางการเมืองเพิ่งเริ่มต้น

สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ ปัจจัยหรือเงื่อนไขต่างๆที่จะนำมาซึ่งการเผชิญหน้าอย่างรุนแรงระหว่างรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช กับ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พ.ป.ป.) ได้ลดลงเพราะฝ่ายต่อต้าน พ.ป.ป.ได้ถอนเงื่อนไขทั้งในเรื่องการลาออกของรัฐมนตรีท่านหนึ่ง การถอนประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญ แต่ในการต่อสู่ในทางการเมืองครั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าฝ่ายรัฐบาลจะพ่ายแพ้ในการต่อสู้ในครั้งนี้ เนื่องจากวัฒนธรรมทางการเมืองไทยหากผู้พ่ายแพ้ยอมรับผิดแล้วผู้ที่เป็นฝ่ายชนะมักจะไม่ยอมให้อภัยแต่จะใช้เป็นข้ออ้างในการซ้ำเติม หรือ แสดงความเหนือกว่า ซึ่งแตกต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่จะให้อภัยและเปิดทางให้ผู้ที่ทำผิดสามารถแก้ไขสิ่งที่ทำไปแล้วให้ถูกต้อง นั้นหมายความว่าความบาดหมางที่เกิดขึ้นจะได้รับการเยียวยาซึ่งเป็นผลจากการกระทำจากทั้งฝ่ายคือ ผู้แพและผู้ชนะ

จากการที่หลายฝ่ายมีความเห็นว่าหลังที่ภาพของ 2 บุรุษได้พบกันในงานศพมารดาของ ผบ.ทบ.จะเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาโดยมีรายงานข่าวจากสื่อมวลชนว่าอดีตนายกรัฐมนตรีและผู้นำพรรคไทยรักไทยได้กล่าวคำ ”ขอโทษ” แต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าการต่อสู้จะจบสิ้นได้ง่าย เนื่องจากต่างฝ่ายต่างมีแนวร่วมในภาคต่างๆซึ่งมีวัตถุประสงค์แอบแฝงโดยเฉพาะเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ให้การสนับสนุน จึงอยากแก่การหันหน้าเข้าหากัน

การต่อสู้ทางการเมืองในขณะนี้ อาจกล่าวได้ว่ามีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องในหลายด้าน ประกอบด้วย การสร้างเครือข่ายในการต่อสู้ซึ่งขยายตัวมากขึ้นจากการช่องทางในการสื่อสารสมัยใหม่ เสนอข้อมูลเชิงลบโจมตีฝ่ายตรงข้ามโดยการขุดคุ้ยความไม่ดีไม่งามมาเสนอ หรือ เรียกร้องความสนใจในรูปแบบต่างๆต่อเป้าหมาย วัตถุประสงค์ คือ การสร้างแนวร่วมในการต่อสู้ ดังจะเห็นจากการแปรสภาพจาก เว็บไซด์ ไฮทักษิณ มาเป็น www. thai-grassroots.com ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ที่สำคัญ ซึ่งเป็นการ ขณะที่ฝ่าย พ.ป.ป.ได้ใช้วิธีการเดียวกันตอบโต้ฝ่ายรัฐบาล โดยใช้เครือข่ายทางการสื่อสารของเจ้าของ นสพ.ผู้จัดการ วิทยุ 97.75 astv.

การใช้เครื่องมือข้างต้นจึงทำให้ไม่สามารถประเมินกำลังของแต่ละฝ่ายได้เพราะเป็นการสร้างแนวร่วมในพื้นที่ส่วนตัว โดยผ่านเครือข่ายทางการสื่อสารสมัยใหม่ ดังนั้นการต่อสู้ในครั้งนี้ จึงทำให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างลึกซึ้งในภาคสังคม ดังจะเห็นจากการเคลื่อนไหวของแต่ละฝ่ายมีมือที่มองไม่เห็นให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือฝ่ายรัฐบาล ซึ่งมีความได้เปรียบทางด้านเมืองในแง่ของการสนับสนุนจากประชาชนในต่างจังหวัด กลุ่มอิทธิพลซึ่งเป็นหัวคะแนนของนักการเมือง นักการเมือง กลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่มีความใกล้ชิดกับอดีตนายกรัฐมนตรีทั้งภายในและภายนอกประเทศ (มีต่อ)

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

กลุ่มก่อความไม่สงบกับแนวทางการเคลื่อนไหวในต่างประเทศ

กลุ่มก่อความไม่สงบกับแนวทางการเคลื่อนไหวในต่างประเทศ

ในขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองยังเป็นอุปสรรคต่อการบริหารและการผลักดันนโยบายที่เป็นรูปธรรม อาจส่งผลกระทบที่อาจจะคาดไม่ถึงต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากขาดความเอาใจใส่จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อยุทธศาสตร์ในการต่อสู้ ทั้งนี้ การขาดความต่อเนื่องและความสนใจหรือมีความสนใจน้อยของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ผบ.ทบ. ที่ได้รับอำนาจเข้ามาแก้ไขปัญหาความไม่สงบจาก นรม. แต่เป็นตัวแปรที่สำคัญในการต่อสู้ทางการเมืองในส่วนกลาง

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองข้างต้น ได้ส่งผลที่ดีในการต่อสู้ของกลุ่มก่อความไม่สงบไม่มากก็น้อย แต่อย่างน้อยที่สะท้อนให้เห็นก็คือว่ายุทธศาสตร์ในการต่อสู้ของกลุ่มยังไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ฝ่ายรัฐต้องประสบปัญหาภายใน ส่งผลให้ไม่มีความคืบหน้าในมาตรการต่างๆในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบมากเท่าที่จะเป็น

ในสถานการณ์ปัจจุบัน กลุ่มก่อความไม่สงบได้เคลื่อนไหวมากขึ้นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการต่อสู้ โดยมีการสร้างเอกภาพและความร่วมมือระหว่างกลุ่ม BRN Coordinate และ PULO อย่างผิดสังเกต ซึ่งจะมีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนว่า กลุ่ม PULO เน้นการรุกด้านการเมืองต่างประเทศมากขึ้น ส่วน BRN Coordinate ยังเน้นก่อเหตุร้ายในพื้นที่ การปลุกระดมหาแนวร่วมใหม่ การแทรกซึมในหน่วยงานของรัฐ

สำหรับการรุกทางการเมืองระหว่างประเทศเพื่อยกระดับของปัญหา จชต.ให้เป็นปัญหานานาชาติ(Internationalization) ของ PULO ได้กระทำในลักษณะส่งข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาในภาคใต้ให้กับประเทศที่มีอิทธิพลต่อการหยิบยกประเด็นปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อนำมาพิจารณาในที่ประชุมเพื่อออกแถลงการณ์ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการยับยั้ง มาตลอด

อย่างไรก็ เป็นที่น่าสังเกตว่าก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ หรือ Council of Foreign Minister ของ OIC กลุ่มพูโล ได้ระดมเงินทุนและยังส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนให้กับ EU และ ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีอิทธิพลต่อที่ประชุม OIC ที่สำคัญในการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ 18-20 มิ.ย.51 นี้ ยังจะมีการพิจารณาว่าด้วยร่างข้อมติให้ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชนกลุ่มน้อย (Minority) แยกออกมาจากเรื่องอื่นๆ ซึ่งจะเป็นการยกระดับของปัญหาชนกลุ่มน้อยที่ไม่ได้รับความชอบธรรมในประเทศที่ไม่ใช้มุสลิม เช่น ในปัญหาความไม่สงบในประเทศไทย

เมื่อพิจารณาจากความเคลื่อนไหวข้างต้นในช่วงการเมืองภายในประเทศยังไม่มีทางออกแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะหน่วยงานระดับยุทธศาสตร์ต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ของกลุ่มก่อความไม่สงบ เพื่อหาทางแก้ไขและตอบโต้ โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศ ต้องรีบดำเนินการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่ รวมทั้งต้องหาทางลอบบี้สมาชิก OIC ที่อาจจะมีมติเห็นชอบให้แยกเรื่องมติของชนกลุ่มน้อยในประเทศที่ไม่ใช้มุสลิมออกมาจากเรื่องอื่น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อนโยบายของไทยในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ในอนาคต

วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

สภาพความเป็นนจริงของสังคมไทยสะท้อนความเป็นจริงทางการเมือง

สภาพความเป็นนจริงของสังคมไทยสะท้อนความเป็นจริงทางการเมือง

สถานการณ์ของบ้านเมืองในยามนี้เป็นสภาวะที่หยุดนิ่งและไม่มีการพัฒนาเกือบทุกด้าน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นหากมองในแง่ของรัฐศาสตร์แล้วเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทางการเมืองของประเทศที่ยังไม่มีความมั่นคงของระบบการเมือง หรือ ระบบการเมืองที่เกิดขึ้นเป็นเพียงเครื่องมือของชนชั้นผู้ปกครองที่ต้องการใช้เพื่อควบคุมประชาชนและสืบทอดอำนาจ โดยลืมนึกไปว่าระบบการเมืองต้องตอบสนองความต้องการของประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะประชาชนแม้ไม่ใช้ส่วนใหญ่เห็นว่าน่าจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่ ความเป็นจริงของสภาพการเมืองไทยที่ต้องมีผู้นำ แต่ในข้อเท็จจริงที่ว่าสภาวะทางจิตใจของผู้คนแม้ว่าจะขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแต่ดูเหมือนว่าเป็นเพียงการนับถือในแง่พื้นผิวเท่านั้น เพราะแท้จริงแล้วคนในชาติส่วนใหญ่ไม่ได้นำข้อดีมาปรับปรุงสันดารดิบต่างๆ ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดเท่าใดนัก โดยเฉพาะชนชั้นปกครอง ชนชั้นนำของไทย ประชาชน

ในประวัติศาสตร์ทางการเมืองที่ผ่านมารวมทั้งเหตุการณ์ทางการเมืองในครั้งนี้ สะท้อนความเป็นจริงที่ว่าการทำหน้าที่ของชนกลุ่มนี้ ไม่ได้สรรค์สร้างประเทศชาติให้มีความเจริญแต่อย่างใด แต่เป็นการกระทำที่มุ่งผลประโยชน์ระยะสั้น และ เป็นการครอบครองอำนาจทางการบริหารเพื่อใช้ในการกดขี่ชนชั้นปกครองกลุ่มอื่นๆ

ในส่วนของประชาชนในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ส่วนใหญ่ยังไม่มีจิตสำนึกร่วมในการสร้างชาติอย่างมั่นคง หากได้รับผลประโยชน์จากนักการเมืองในรูปแบบโครงการประชานิยมก็จะมีความจงรักภักดี กับนักการเมืองผู้นั้น หรือย่างน้อยจะมีความรู้สึกของการสนับสนุน โดยไม่ให้ความสนใจว่านักการเมืองผู้นั้นจะมีมลทินหรือกระทำผิดใดมา ด้วยเหตุนี้ กลับกลายเป็นว่าแทนที่ประชาชนจะมีอำนาจต่อรองกับกลุ่มนักการเมือง ได้ถูกควบคุมกับนักการเมืองเสียเอง ส่งผลให้ภาคการเมืองเกิดความยิ่งใหญ่ ดังนั้นจะทำให้เกิดประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นใหญ่ได้อย่างไร

ชนชั้นกลางในประเทศไทยไม่ได้มีส่วนรวมทางการเมืองมากกว่าที่จะเป็น และ ไม่ได้ทำหน้าที่ในการสร้างความรู้สึกที่เป็นประชาธิปไตยหรือยอมเสียสละความสุข ผลประโยชน์เฉพาะหน้าเพื่อรังสรรค์ประชาธิปไตย แต่วางตัวในลักษณะเพิกเฉย รักษาสถานนะ สร้างความมั่นคงแก่ชีวิต ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติแต่หากพิจารณาอนาคตแล้วประเทศไทยต้องการการเสียสละบางส่วนของผู้คนภายในประเทศ ถึงจะทำให้ประเทศชาติพัฒนาไปด้วย

สรุปในชั้นนี้ได้ว่าสภาพความเป็นจริงในสังคมสะท้อนความเป็นจริงทางการเมือง แต่ การเมืองกำหนดความเป็นไปทางสังคม ซึ่งดูเหมือนว่าภาคการเมืองจะมีสถานะเหนือว่าทุกภาคส่วนในประเทศไทย ซึ่งสามารถกำหนดความเป็นไปของประเทศได้มาก ซึ่งแตกต่างกับอารยะประเทศที่ภาคการเมืองไม่มีความเหลื่อมล้ำจากภาคอื่นๆของสังคมมากนัก

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ไทยอยู่ในยุคการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง

ไทยอยู่ในยุคการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง

ความเป็นจริงทางการเมืองของไทยในปัจจุบัน(2551)หากหยิบเอางานวิชาการแนวหลังยุคสมัยใหม่(Post-Modern)มาอธิบาย สะท้อนความเป็นจริงทางการเมืองได้ว่า ไม่มีชนชั้นผู้นำทางการเมืองใดมีอำนาจสูงสุดพอที่ควบคุมผู้นำทางการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งได้อีกแล้ว ส่งผลให้เกิดความคิดเทียบเคียงเทียบเท่า ภายในจิตใจขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดความลำพองในจิตใจของผู้นำบางกลุ่มที่จะท้าทายหรือต่อสู้กับผู้นำอื่นๆ โดยอาศัยบารมีทางการเงิน การใช้อิทธิพลภายนอก หรือ การดึงต่างประเทศเข้ามาสร้างบารมีในการต่อสู้ ซึ่งในประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองในอดีตที่ผ่านมาได้เกิดการต่อสู้ในลักษณะดังกล่าวและประวัติศาสตร์ก็คือหลุมฝังศพของผู้นำ(History is the graveyard of elite)

การต่อสู้ทางการเมืองในไทยกำลังเป็นไปอย่างเข้มข้น ต่างฝ่ายต่างจะเอาชนะกันโดยความตั้งใจ การวางแผน และ ทำทุกวิถีทาง ทั้งต่อหน้าและลับหลัง รวมทั้งยังดูเหมือนว่าจะไม่ยอมถอยหลังมาพูดคุย ในสภาวะแบบนี้ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ปี 2549 ได้ส่งผลต่อประเทศชาติในหลายด้าน

ประการแรก เกิดการสร้างวาทกรรมแบ่งฝ่าย แบ่งภูมิภาค แบ่งพรรคแบ่งพวก แบ่งแยกทางความคิด รุนแรงที่สุดอาจแบ่งประเทศ ทั้งนี้ การแบ่งเป็นฝักฝ่ายได้เริ่มมีมานับตั้งแต่หลังการใช้รัฐธรรมนูญ 2540มาระยะเวลาหนึ่ง ของผู้นำทางการเมืองพรรคหนึ่ง จนเกิดความได้เปรียบทางการเมือง แต่กลับนำมาสร้างความได้เปรียบทางการเมือง การกดดันฝ่ายตรงข้าม รวมทั้งนำมาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองและยังเพื่อสั่นคลอนสถาบันที่สำคัญที่เป็นผู้สร้างประเทศ

ประการที่สอง การสร้างวาทกรรมให้ตนเองเป็นฝ่ายถูกและเกิดความชอบธรรม ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยสภาวะดังกล่าวส่งผลให้เกิดความไม่สามัคคี และดูเหมือนว่าจะประสานความรู้สึกกันอย่างมากขึ้นแม้ว่าจะมีความพยายามจากหลายฝ่ายรณรงค์ให้เกิดความสามัคคีแต่ต่างฝ่ายเกิดความรู้สึกว่าเชื่อไม่ได้เพราะมักคาดเดาว่าเป็นการกระทำที่แอบแฝง

ประการที่สาม การสร้างความเหนือกว่าให้เกิดขึ้นโดยไม่ได้ให้ความสนใจความเป็นไปของประเทศ และไม่สนใจว่าจะส่งผลกระทบต่ออนาคตซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่เพราะเป็นการใช้อำนาจเหนือการเมือง คือ การดึงเอาเครือข่ายในต่างประเทศมาสร้างบารมีในการต่อสู้ ซึ่งจะกดดันให้ฝ่ายบริหารไม่สามารถดำเนินการบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประการที่สี่ การต่อสู้ในครั้งนี้ ต่างฝ่ายมีเครือข่ายในการสนับสนุนที่ไม่เปิดเผยอยู่มาก และจะสนับสนุนการต่อสู้อย่างเงียบๆหากไม่มีการเปิดโปงก็จะสนับสนุนการต่อสู้ทุกทาง ด้วยเหตุนี้ การต่อสู้จะไม่จำกัดอยู่ที่การเมืองต่อไปยังรวมถึงในด้านอื่นอีกด้วย เช่น ภาคราชการ ภาคเศรษฐกิจ ภาคประชาชน โดยเฉพาะภาคราชการทหาร ยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จะเป็นตัวชี้ขาดต่อการใช้กำลังเพื่อวัตถุประสงค์ใด ซึ่งที่ผ่านมาได้เริ่มเคลื่อนไหวในลักษณะปกป้องสถาบันมากขึ้น เพราะการต่อสู้มีการอ้างอิงหรือจาบจ้วงสถาบันมากขึ้น

สถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่สามารถจะทำนายได้ว่าจะเปลี่ยนรูปจากการปะทะทางด้านความคิดมาปะทะในด้านการเมือง ขั้นสุดท้ายปะทะกันด้วยกำลัง จะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่มีเงื่อนไขที่จะนำมาสู่การปะทะกันมากขึ้น โดยยังไม่มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการเคลื่อนไหวของบุคคลสำคัญทางการเมืองทุกวันนี้ ยังไม่มีท่าทีประณีประนอม แต่แฝงไปด้วยผลประโยชน์เฉพาะหน้าเสมอ

วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ข้อเท็จจริงในการโยกย้ายในกระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางการเมือง

ข้อเท็จจริงในโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางการเมือง

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งนักการเมืองเป็นผู้ก่อกำลังจะกลายเป็นประเด็นที่จะถูกนำมาขยายผลให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นผลพวงของการเมืองภายในประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะในเรื่องของการเอาชนะฝ่ายตรงข้ามทุกแนวทางแม้ว่ากระทั้งในกระทรวงการต่างประเทศได้รับผลพวงของการต่อสู้ในครั้งนี้

ดังจะเห็นจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่มาจากพรรคพลังประชาชนได้ใช้อำนาจที่ขาดความชอบธรรมสั่งย้ายอธิบดีรวมทั้งปลัดกระทรวงเบื้องหลังเกิดขึ้นจากความไม่พอใจนายวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมกรมสนธิสัญญาและกฎหมายไม่ยอมส่งเอกสารสัญญา CTX ให้กับท่านผู้นี้ เพราะเอกสารนี้มีความสำคัญต่อการเอาผิด อดีต รมว.คค. แต่ท่านอธิบดีได้ปฏิเสธเพราะต้องทำหนังสืออย่างเป็นทางการ ผลทำให้ท่านอธิบดีถูกย้ายออกจากตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูลปลัดกระทรวงการต่างประเทศ มีความเห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชาจึงทำหนังสือปิดผนึกในกระทรวงแสดงความเห็นใจ และ ขอบคุณท่านอธิบดีที่มีส่วนสำคัญต่อการแก้ปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับลาวและกัมพูชา ส่งผลข้าราชการจำนวนหนึ่งแต่งชุดดำ เรื่องที่เกิดขึ้นได้สร้างความไม่พอใจต่อท่านรัฐมนตรีจึงเรียกปลัดกระทรวงเข้าพบ แล้วพูดว่าอยากจะไปเป็นทูตที่ประเทศไหน ซึ่งปลัดกระทรวงตอบไปว่าไปไหนก็ได้

ปัญหาดังกล่าวไม่ได้จบแค่นั้นเมื่อท่านรัฐมนตรีได้กดดันให้กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่เจรจาปัญหาเขาพระวิหาร ใช้อำนาจต่อรองกับกัมพูชา โดยนำเอาประเด็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลมาใช้เป็นข้อแลกเปลี่ยน ในลักษณะที่จะสร้างความเสียเปรียบแก่ฝ่ายไทย เนื่องจากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลหากพิจารณาตามกฏหมายว่าด้วยเรื่องเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางทะเล 200 ไมล์ทะเล ฝ่ายไทยสามารถคอบครองพื้นที่ได้ร้อย 70 (มีน้ำมันและกาซจำนวนมาก) แต่ท่านรัฐมนตรีต้องการเปลี่ยนการถือครองมาเป็นฝ่ายละ 50 เพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขปัญหาพิพาทเขาพระวิหาร

แม้ว่าการทำหน้าที่ของท่านรัฐมนตรียังตอบไม่ได้ว่าทำไปเพื่อประโยชน์ของบุคคลใด แต่หากพิจารณาความตั้งใจ ความมุ่งมั่น แล้วคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่มาก ผิดกับการทำหน้าที่ของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ โดยเฉพาะท่านอธิดีและปลัดกระทรวง ได้ทำหน้าที่อย่างมืออาชีพที่เห็นประโยชน์ของประเทศมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวจนเป็นที่ยอมรับของข้าราชการในกระทรวงแม้ว่าสังคมภายนอกจะไม่เห็นความตั้งใจจริงแต่ความขัดแย้งที่ปรากฏทำให้เห็นความจริงมากขึ้น

การทำหน้าที่ของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้โดดเดี่ยวเสียทีเดียวเพราะเป็นการทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ(National Interest) ซึ่งเป็นบทบาทเดียวกับทหาร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีพันธมิตรที่มีกำลังในการต่อสู้อย่างไม่โดดเดียวเสียทีเดียว
การย้ายข้าราชการในครั้งนี้ในกระทรวงการต่างประเทศเกิดคำถามมากมายว่ามีสาเหตุมาจากอะไร แต่สิ่งหนึ่งทำให้เห็นว่าข้าราชการที่ไม่ตอบสนองความต้องการฝ่ายการเมืองกำลังจะเป็นเป้าหมายในการโยกย้ายและฝ่ายการเมืองจะทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้มีอุปสรรคในการขัดผลประโยชน์ของตน

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ยุทธศาสตร์การครอบงำประเทศของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทย

ยุทธศาสตร์การครบงำประเทศของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทย

นับตั้งแต่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เข้ามาบริหารประเทศเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน สามารถทำให้เห็นยุทธศาสตร์ที่ลอกเลียนแบบมาเพื่อสร้างอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จในการบริหารประเทศเหมือนรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทยในอดีต ดังนั้นลองกลับไปทบทวยุทธศาสตร์ทางการเมืองของพรรคไทยรักไทย เพื่อให้เห็นถึงภาพสะท้อนที่เกิดขึ้น ซึ่งยังมีความต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
สำหรับ ยุทธศาสตร์ในการคุมอำนาจการบริหารประเทศของพรรคไทยรักไทยคือการใช้ความได้เปรียบทางการเมืองในการคุมอำนาจภาคเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารประเทศมีความต่อเนื่อง แต่นัยทางการเมืองก็คือ ความต่อเนื่องของพรรคไทยรักไทยที่จะเข้ามาบริหารประเทศในทุกสมัยแม้ว่าจะยุบพรรค

ด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลโดยพรรคไทยรักไทยได้ผลักดันนโยบายและกฎหมายที่ส่งผลต่อธุรกิจ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนที่มีความใกล้ชิดและให้การสนับสนุนพรรคไทยรักไทย รวมทั้งการส่งบุคคลที่มีความใกล้ชิดหรือตัวแทนของกลุ่มทุนเข้าไปคุมอำนาจหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของภาครัฐ เพื่อผลักดันนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อพวกพ้อง เพื่อตอบแทนกลุ่มทุนที่ให้ความช่วยเหลือทางการเมือง ที่สำคัญการใช้นโยบายทางด้านการคลังโดยภาครัฐกระจายงบประมาณลงพื้นที่ผ่านนโยบายประชานิยม แม้จะทำให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น แต่ก็ทำให้การประกอบการของกลุ่มทุนที่สนับสนุนพรรคไทยรักไทยดีขึ้นไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วนัยของการใช้นโยบายทางการคลังของรัฐบาลเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงผู้ถือเงินจากรัฐบาลผ่านประชาชนไปยังกลุ่มทุนเท่านั้น

ด้านสังคม รัฐบาลได้ใช้ระบบอุปถัมภ์ (Patron-Client) สร้างความนิยมในหมู่ประชาชน โดยการผลักดันนโยบายที่สร้างความอยู่ดีกินดีให้กับประชาชนหรือคนยากจนที่มีจำนวนมากถึงร้อยละ 90 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ เนื่องจากเห็นว่าประชาชนเหล่านี้เป็นฐานเสียงในการเลือกตั้ง แต่นโยบายที่รัฐบาลผลักดันออกมานั้นได้สร้างนิสัยให้ราษฎรเป็นผู้ถูกอุปภัมภ์ที่รอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีความคิดในการพึ่งพาตนเอง

ด้านการเมือง รัฐบาลได้ใช้อำนาจรัฐสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่ใช้ความรุนแรงและขัดต่อกฎหมายในการตรวจสอบเพื่อลดบทบาทฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล ได้แก่ องค์กรพัฒนาเอกชน (Non-Government Organization) สื่อมวลชน (Media) และฝ่ายค้าน ผ่านนโยบายการปราบปรามยาเสพติด นโยบายปราบปรามการทุจริต และนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพล ดังนั้นการใช้อำนาจรัฐที่ไม่คำนึงถึงความถูกต้องหรือขัดแย้งกับความรู้สึกของประชาชนจึงส่งผลให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลมีลักษณะเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalistarianism)

อย่างไรก็ตาม การคุมอำนาจการบริหารประเทศจะทำให้พรรคไทยรักไทยสามารถเป็นรัฐบาลได้นานขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่นเดียวกับการบริหารประเทศที่มีความต่อเนื่อง แต่ผลกระทบที่ตามมาที่ทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลตกต่ำนับตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศก็คือการทุจริตที่เกิดขึ้นจากการบริหารงานซึ่งมีการเปิดเผยอยู่ตลอดเวลา ทั้งที่รัฐบาลได้ประกาศนโยบายปราบปรามการทุจริต ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลครองเสียงข้างมากในรัฐสภา ที่สำคัญเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่ายรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้อง รัฐบาลมักจะเลือกปฏิบัติไม่เข้าไปตรวจสอบ หรือหากมีการตรวจสอบการทุจริตก็เป็นในลักษณะตอบโต้หรือทำลายภาพลักษณ์ฝ่ายค้านที่นำกรณีการทุจริตที่มีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่ายรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้องมาเปิดเผยต่อสาธารณชน ดังนั้นนโยบายปราบปรามการทุจริตจึงไม่มีความคืบหน้าและทำให้รูปแบบการทุจริตมีการพัฒนาเป็นการทุจริตเชิงนโยบายหรือแบบบูรณาการ ด้วยเหตุนี้หน่วยงานจัดอันดับการทุจริตต่างประเทศ คือ องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ หรือ Transparency International (TI) ได้จัดอันดับให้ไทยมีความโปร่งใสต่ำลงโดยลดจากลำดับที่ 60 และ 61 ในปี 2543 และ 2544 มาอยู่ลำดับที่ 64 จากจำนวน 102 ประเทศที่มีการสำรวจในปี 2545


-

การพัฒนาประชาธิปไตยกับการต่อสู้ของชนชั้นทางการเมืองในไทย

  1. การพัฒนาประชาธิปไตยกับการต่อสู้ของชนชั้นทางการเมืองในไทย

    ปัญหาความไม่สงบของบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ในลักษณะของการเผชิญหน้าและแบ่งเป็นฝักฝ่าย ในทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์แล้วมีคำตอบในทางทฤษฎีมากมายที่จะให้คำตอบได้ว่าทำไมในขณะที่ประเทศชาติพัฒนาเป็นประชาธิปไตย แต่ทำไมไม่เป็นไปตามกรอบของแนวคิดของตะวันตก ที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างทางอารยประเทศ ทั้งนี้การทำความเข้าใจถึงความเป็นจริงและข้อเท็จจริงต้องย้อนกลับไปพิจารณาถึงจุดเริ่มต้นของที่มาที่ไปของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย

    หากพิจารณาต้นกำเนิดของสายธารประธิปไตยในประเทศไทยไม่ได้มาจากของเรียกร้องจากประชาชนโดยส่วนใหญ่ของประเทศ แต่มาจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ คือ ทหาร นักกฎหมาย ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในปี 2475 การเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นเป็นการเปลี่ยนเชิงโครงสร้างมากว่า การเปลี่ยนระบบความคิดที่จะมีส่วนสนับสนุนให้เกิดประชาธิปไตย หรือ จะเปรียบเทียบให้ชัดคือ เอาเสื้อกันหนาวมาให้ประชาชนใส่ในช่วงหน้าร้อน

    แม้ว่าประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่จะให้และเปิดโอกาสให้เกิดความเท่าเทียมกันของผู้คนในสังคม แต่ในความเป็นจริงยังมีอุปสรรคหรือปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาระบบประชาธิปไตยไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ประกอบด้วย การช่วงชิงการนำทางการเมืองเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ระหว่างผู้นำทางการเมืองเป็นกระแสหลักในระบบการเมืองไทยมากกว่าที่จะเน้นหนักต่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนต่อประชาธิปไตย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่เอื้อต่อการสนับสนุนการพัฒนาประชิปไตย ระบบการศึกษาที่เน้นการท่องจำมากกว่าการคิดและการใช้เหตุผล จิตสำนึกของการเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ถูกปลูกฝังในหมู่ของประชาชนและประชาชนแท้จริงไม่ได้มีส่วนร่วมในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมากนักตลอดระยะเวลา เพราะเป็นเพียงฐานของอำนาจให้กับนักการเมืองหรือผู้นำทางการเมือง ซึ่งจะใช้เป็นข้ออ้างสร้างความชอบธรรมแก่ชนชั้นนำเหล่านั้นมากกว่า

    สำหรับสถานการณ์ของการต่อสู้ทางการเมืองในปัจจุบันสะท้อนให้เห็นถึงนัยที่บ่งบอกถึงความมั่นคงของประเทศ ที่ค่อนข้างจะเปราะบาง เนื่องจาก
    ประการแรก ไม่ชนชั้นใดสามารถจะครอบงำทางความคิดของประชาชนในประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จเหมือนก่อน หลายคนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างอิสระแม้กระทั่งสิ่งที่ไม่ควรพาดพิง
    ประการที่สอง ไม่มีชนชั้นนำสามารถผูกขาดอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเหมือนแต่ก่อน ด้วยเหตนี้ย่อมเกิดการกระทบกระทั่งและต่อสู่ในทุกรูปแบบทุกวิธีเพื่อเอาชนะทางการเมือง
    ประการที่สาม ประชาชนบางส่วนกลายเป็นเครื่องมือของการต่อสู้ครั้งนี้ แต่เสียงของประชาชนส่วนใหญ่ยังอำนาจเงียบที่มีความหมายต่ออนาคตของประเทศหากมีการแสดงพลังและเคลื่อนอย่างบริสุทธิ์ใจที่ต้องการเห็นประเทศชาติดีขึ้น
    ประการที่สี่ แนวโน้มการต่อสูจนถึงขั้นการปะทะมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงในสภาวะเศรษฐกิจกำลังประสบกับภาวะสินค้าในการอุปโภคบริโภคปรับราคาอย่างต่อเนื่อง และการดำเนินนโยบายของรัฐบาลเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนมากกว่า
    ประการที่ห้า แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งในครั้งนี้จะเกิดขึ้นได้ยากเพราะต่างฝ่ายไม่ยอมถอยและเห็นต่อประเทศชาติและยังดำเนินการต่อสู้ทุกรูปแบบทั้งในระบบและนอกระบบ รวมทั้งยังมีความพยายามดึงสถาบันเข้ามาเกี่ยวของส่งผลให้เกิดภาพของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นที่ชัดเจนมากขึ้น
    ประการที่หก การนำประเด็นของสถาบันมาแอบอ้าง(จริงหรือไม่)โจมตีน่าจะทำให้การต่อสู้ทางการเมืองครั้งนี้ ขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น โดยเฉพาะพลังเงียบของประชาชนชั้นกลางที่มีความคิดสมัยใหม่แบบทุนนิยมที่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษบกิจยุครัฐบาลเสียงข้ามมากและต่อต้านสถาบันโดยไม่แสดงออกอาจะแสดงความไม่พอใจและสนับสนุนการต่อทางการเมืองมากขึ้น(มีต่อ)

วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2551

รัฐไทยกำลังจะสูญเสียดินแดนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้?

รัฐไทยกำลังจะสูญเสียดินแดนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความชัดเจนมากขึ้นว่า รัฐบาลไทยกำลังใช้แนวทางการเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ คือ PULO กับ BRN เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ แนวทางดังกล่าวแม้ว่ารัฐบาลจะไม่บอกโดยตรง แต่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐมนตรีท่านหนึ่งได้มอบหมายให้กลุ่มการเมืองหนึ่งเป็นตัวแทนเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ

ที่สำคัญจากการที่กลุ่ม PULO โดยนายกัสตูรี มะกอตอ หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในลักษณะที่ฝ่ายรัฐเป็นผู้เลือกว่าเป็นกลุ่มที่ต้องเจรจาเพื่อเป็นการปูพื้นหรือสร้างกระแสว่า ฝ่ายรัฐได้มีการเจรจากับกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการและยังเป็นการเรียกร้องให้ฝ่ายรัฐเริ่มกระบวนการเจรจา อย่างจริงจัง

การเจรจาในครั้งนี้คาดว่าฝ่ายไทยจะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบและยังเสียศักดิ์ศรี เพราะเป็นผู้เสนอหรือเดินเข้าไปหากลุ่มก่อความไม่สงบเอง ทั้งที่สถานการณ์ในความเป็นจริงฝ่ายรัฐไทยยังไม่ทำงานอย่างจริงจังต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการเสียสละอคติในแต่ละหน่วยงานรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวก่อนเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังเสียก่อน ทั้งนี้ หากได้ทำอย่างเต็มที่แล้วค่อยบากหน้าไปใช้การเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ

นอกจากนี้ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ฝ่ายรัฐยังสามารถควบคุมหรือมีความได้เปรียบในการต่อสู้มากขึ้น.... สถานการณ์ที่เกิดขึ้นยังจำกัดอยู่ในพื้นที่ยังไม่มีการขยายแนวรบออกนอกพื้นที่เช่น กทม.หรือเมืองใหญ่อื่นๆ ที่จะทำให้ฝ่ายรัฐตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ..และยังไม่มีการแทรกแซงจากอำนาจเหนือชาติจากภายนอกประเทศ รวมทั้ง ระยะเวลาในการต่อสู่เพียง 5 ปี หากใช้วิธีการเจรจาทำให้เห็นถึงการถอดใจของฝ่ายรัฐ

ส่วนข้อที่จะทำให้ฝ่ายรัฐเสียเปรียบคือร่างข้อเสนอของกลุ่มยังมีการเรียกร้องที่รุนแรงในระดับที่ทำให้รัฐต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยเมื่อเปรียบเทียบกับข้อเสนอสันติภาพที่เคยจัดทำขึ้นก่อนหน้านั้น เช่นข้อเสนอของหะยีสุหลง หรือ เบอร์ซาตู ที่ต้องการให้ฝ่ายรัฐเคารพแค่อัตตลักษณ์ของชาวมลายู-ปัตตานี มากกว่าความต้องการแบ่งแยกดินแดน

ด้วยเหตุนี้ การที่กลุ่ม PULO กำลังกดดันให้ฝ่ายรัฐดำเนินการตอบสนองการเจรจาโดยอ้างว่ามีความพร้อม...น่าจะเป็นหลุมพรางที่ขุดไว้ให้ฝ่ายรัฐโดยการนำคณะมนตรีชุดนี้เดินทางเข้าสู่กับดัก...และหากจะมีการเสียดินแดนในครั้งนี้....น่าจะเกิดขึ้นจากผู้บริหารในรัฐบาลมากกว่า....เป็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบเอง...(มีต่อ)

วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551

ทางเลือกที่สามที่จะสามารถยุติความขัดแย้งทางการเมืองในไทย

  • ทางเลือกที่สามที่จะสามารถยุติความขัดแย้งในไทย

    ปัญหาหนึ่งที่หน่วยงานความมั่นคงต่างๆเห็นว่าต้องรีบแก้ไข คือการแตกความสามัคคีของคนภายในชาติซึ่งเริ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งเป็นผลจากการแข่งขันในการช่วงชิงอำนาจระหว่างผู้นำทางการเมือง(Political Elite) จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มรักทักษิณ กับ กลุ่มต่อต้าน หรือเป็นการต่อสู้ระหว่างนักธุรกิจที่เห็นว่าข้าราชการที่อิงกับสถาบัน หรือ ทุนนิยมกับศีลธรรม โดยระดับของความขัดแย้งอาจกล่าวได้ว่ามีการพัฒนาไปในทางที่ไม่สามารถจะรอมชอมกันได้ และ ยังทวีความรุ่นแรงมากขึ้นในสภาวะที่โครงสร้างทางสังคมในประเทศไม่มีพื้นฐานของความรักชาติและทางสายกลางซึ่งเป็นคำสอนของศาสนาพุทธรองรับแม้แต่น้อยในขณะที่ประชาชนส่วนใหญานับถือศาสนาพุทธ

    การจัดภาระกิจเบื้องต้นของหน่วยงานความมั่นคงดูเหมือนว่าหน่วยงานด้านความมั่นคงยังไม่มีความเข้าใจสถานะของตนเองมากนัก เพราะในฐานะฝ่ายข้าราชการซึ่งต้องปฏิบัติตามนโยบายของนักการเมืองในคราบผู้บริหารประเทศจึงไม่มีทางเป็นไปได้ รวมทั้งในการประเมินระดับความขัดแย้งเป็นเพียงผลผลิตที่ค่อนข้างตื้นเขินในแง่ของความคิดเพราะเมื่อเกิดความขัดแย้งทางด้านความคิดจนสามารถทำให้ประชาชนเลือกข้างได้นั้นหมายความว่ามันเป็นความขัดแย้งในขั้นรุนแรงในลักษณะการเป็นปฏิปักษ์(Binary Opposition) เพราะปรากฏการที่เห็นมันเต็มไปด้วยความเกลียดชังและพร้อมที่จะเผชิญหน้า โดยมีประชาชนเป็นเครื่องมือของการต่อสู้

    การต่อสู้ทางการเมืองในครั้งนี้ จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตราบใดที่กำลังของแต่ละฝ่ายยังมีความใกล้เคียงกัน ซึ่งพิจารณาจากขุมกำลังของแต่ละฝ่ายดังนี้
    ฝ่ายทักษิณ ....มีความได้เปรียบอำนาจทางการเงิน ควบคุมฝ่ายบริหาร ควบคุมข้าราชการได้บางส่วน เช่น องค์กรตำรวจกำลังกลายเป็นสนามรบขนาดเล็กของการต่อสู้ระหว่างคน 2 กลุ่ม ซึ่งเห็นได้ชัดว่าน้องภรรยาอดีต นรม.กลับมาในเส้นทางสายตำรวจอีกครั้ง ทหารที่ถูกควบคุมในสมัยทักษิณมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นหลังการปฏิวัติ แต่ยังด้วยเหตุที่ ผบ.ทบ.รุ่นเดียวกันกับอดีต นรม.และยังมีความขัดแย้งกับอดีต ประธาน คมช.ทำให้ ผบ.ทบ.คนปัจจุบันอาจเป็นตัวแปรสำคัญในการต่อสู่ครั้งนี้แม้ว่าจะพยายามวางตัวเป็นกลาง
    ส่วนประชาชนในบางพื้นที่ได้กลายเป็นผู้ภักดีต่อระบบทักษิณยังคงมีความจงรักภักดี ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีความต่อเนื่องเมื่อรัฐบาลได้ผลักดันนโยบายประชานิยมเพื่อเป็นหลักประกัน เป็นเกราะกำบัง ฐานทางอำนาจในการต่อสู่กับฝ่ายตรงข้าม ซึ่งดูเหมือนว่าแนวรบที่มีประชาชนเป็นผู้สนับสนุนจะทำให้ได้เปรียบฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากสื่อต่างประเทศอีกเช่นกัน

    ฝ่ายต่อต้านทักษิณ ....เป็นตัวแทนของผู้ที่ผูกขาดความเป็นชาติและศีลธรรม(ป.ปธ.อ.)ซึ่งมีความได้เปรียบทางรูปธรรมคือ อำนาจศีลธรรม ความซื่อสัตย์ โดยทำการต่อสู้ผ่านตัวแทนที่มีความใกล้ชิด รวมทั้งทหารสายที่มีส่วนร่วมในการปฏิวัติหรือที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการแต่งตั้งในสมัยทักษิณ....ที่สำคัญหากมองลงไปลึกก็จะเห็นถึงความสัมพันธ์กับสถาบันที่เก่าแก่หนึ่ง....ทำให้เกิดความเหนือกว่าใงแก่ของอำนาจที่มองไม่เห็น โดยประชาชนและสื่อมวลชนที่ติดตามการเมืองจะเข้าใจดี
    เมื่อพิจารณาตัวแสดงที่จะเป็นการชี้ขาดยังอยู่ที่ภาคประชาชนและทหาร

  • อย่างไรก็ตาม หากไม่ต้องการให้เกิดการเผชิญหน้าจนอาจเกิดการปะทะถึงขั้นนองเลือด หน่วยงานความมั่นคงต้องใช้การสร้างเครือข่ายภาคสังคม(Social Network)โดยต้องให้คนจำนวนมากออกมาแสดงพลังหรือต้องมีสร้างพลังที่สามที่(Third Power)ขนาดใหญ่จำนวนมาก(Mass) โดยต้องมีความหลากหลายไม่ถูกครอบงำจาก ประกอบด้วย ชนชั้นกลางบริสุทธิ์ที่ไม่อิงการเมือง ประชาชนชั้นล่างที่ต้องการเห็นประเทศเกิดการพัฒนามากกว่าที่เป็นอยู่ ข้าราชการ นักธุรกิจ ที่ไม่อิงการเมือง (มีต่อ)

วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551

เกมส์การเมืองกับอธิปไตยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2

  • เกมส์การเมืองกับอธิปไตยในจังหวัดชายแดนภาคใต้2

    ในหลักการด้านความมั่นคงแล้วทหารจะเป็นผู้แสดงหลัก แม้ว่าวงการวิชาการได้ขยายแนวความคิดว่าภัยคุกคามในปัจจุบันต้องเพิ่มบทบาทภาคส่วนต่างๆของสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขภัยคุกคามด้วย....แต่ก็เป็นเพียงมุมมองหนึ่ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทหารยังต้องเป็นผู้ค้ำโครงสร้างของประเทศอยู่...แต่บทบาทนี้ต้องปรับใหเข้ากับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง ....เนื่องจากในยุคปัจจุบันเกิดความหลากหลายของผู้น้ำที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง และ แสวงประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ
    การเข้ามาของผู้นำที่มีความหลากหลายส่งผลกระทบกับผู้นำทหารโดยตรงหากไม่ขัดผลประโยชน์ระหว่างกัน ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผ่านมามีตัวแสดงที่มีบทบาทต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบมากมาย ซึ่งหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามโอกาสทางการเมือง.....ในรัฐบาลชุดนี้ ทหารยังเป็นตัวแสดงหลักในพื้นที่และจะถูกโจมตีเสมอมาว่าการแก้ไขปัญหาของทหารไม่มีความคืบหน้า.......และการใช้ความรุนแรงยังนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆตามมาเช่นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นต้น แต่หากพิจารณาประเด็นภายในแล้วเห็นว่าองค์ความรู้ด้านการต่อต้านความไม่สงบของทหารพึ่งเริ่มต้น คงต้องให้โอกาสไปซักพัก......
    ปัญหาที่ทหารต้องเผชิญในปัจจุบันในสนามรบทางภาคใต้ในขณะนี้ คือ นอกจากจะมีนักการเมืองที่ต้องการให้ทหารลดบทบาทในพื้นที่แล้วยังมีองค์กร ภาคสังคมต่างๆกำลังเคลื่อนไหวกดดันให้เห็นความบกพร่องของทหารในการปฏิบัติการในพื้นที่ โดยใช้ประเด็นการเสียชีวิตของโต๊ะอิหม่ามท่านหนึ่ง มาเผยแพร่ว่ากรณีดังกล่าวเป็นกรณีตัวอย่างของการละเมิดสิทธิมนษยชน ซึ่งได้รับการตอบรับจาก องค์กร Human Right Watch Asia นำกรณีดังกล่าวเผยแพร่ไปทั่วโลกเมื่อ 26 มีนาคม 2551 .ในชื่อบทความ Thailand: Imam’s Killing Highlights Army Abuse in South แม้ว่าว่าภาคสังคมไม่มีความเกี่ยวข้องกับนักการเมืองท่านหนึ่ง แต่ทหารคือเป้าหมายเดียวกัน
    ด้วยเหตุนี้ สถานการณ์การเมืองทั้งในระดับชาติและในระดับท้องที่กำลังกดดันทหารอยู่มาก ยังไม่นับรวมกลุ่มก่อความไม่สงบที่กำลังปลุกระดมประชาชนในพื้นที่ให้เกลียดชังทหารและเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงอื่นๆ การเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีความชัดเจนมากขึ้นว่ามีความเชื่อมโยงกับภาคสังคมของมุสลิมมากขึ้นโดยเฉพาะนักศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน นักการเมือง ดังนั้นแนวโน้มของการเคลื่อนไหวในลักษณะ Muslim Mobilization กำลังก่อตัวขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายร่วมทุกภาคส่วนของชาวมุสลิม (Total Movement) เพื่อเรียกร้องทางการเมือง คล้ายกับการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในอาณานิคมที่ต้องการปลดปล่อยประเทศตนเองให้เป็นอิสระในยุคล่าอาณานิคม(ติดตามตอนต่อไป)

วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551

เกมส์การเมืองกับความสูญเสียอำนาจอธิปไตยในจังหวัดชายแดนภาคใต้

เกมส์การเมืองกับความสูญเสียอธิปไตยในจังหวัดชายแดนภาคใต้

  • นับตั้งตั่งรัฐบาลภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวชเข้าบริหารบ้านเมืองเป็นเวลา เดือน ยังไม่มีผลงานเป็นที่เด็นชัดมากเท่าที่หลายคนได้ตั้งความหวังไว้ โดยเฉพาะปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนโยบายที่จะสร้างความเชื่อมันกับประชาชนในประเทศได้ว่าประเทศไทยจะไม่เสียดินแดนในรัฐบาลชุดนี้

  • ความไม่มั่นใจมาจากเกมส์การเมืองที่มีตัวแสดงสำคัญเป็น ผู้บริหารประเทศ ข้าราชการทหาร นักการเมืองมุสลิม ....กลุ่มก่อความไม่สงบ ที่ต่างต้องการเอาชนะซึ่งกันและกัน รวมทั้งต้องปกป้องสถานะของตันเอง โดยใช้สนามรบในภาคใต้เป็นการต่อสู้ ..หลายคนอาจจะไม่เข้าใจจากสมมติฐานข้างต้น แต่จะอธิบายให้เห็นถึงภาพด้านลึก(Deep Picture)ดังนี้

  • นักการเมืองที่ไม่ชอบทหาร เพราะในอดีตที่ผ่านมาปี 2535 ต้องหนีไปต่างประเทศก็เนื่องจากทหาร จึงมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อทหาร และเมื่อมาดำรงตำแหน่ง รมว.มท จึงต้องการเข้ามามีบทบาทต่อการแก้ไขปัญหความไม่สงบในภาคใต้ ดังจะเห็นจากการนำเสนอความคิดในการแก้ไขปัญหามาตลอด ...จากคำสัมภาษณ์ว่า...นายกรัฐมนตรีไม่มอบอำนาจในการดูแลภาคใต้เสียที่.....และยังพยายามผลักดันให้นายแพทย์ท่านหนึ่งมาเป็นรัฐมนตรีช่วยมหาดไทย เพื่อคุมการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งบุคคลท่านนี้พยายามสร้างบทบาทการเป็นผู้นำในท้องที่และอดีตเคยเป็นผู้ต้องหาคดีเจไอ แต่ก็ถูกโจมตีจากสื่อ และในความจริงแล้วแม้ว่าภาพของบุคคลผู้นี้จะนิ่ง แต่ก็เคลื่อนไหวในทางลับในการที่จะผลักดันทหารออกนอกพื้นที่ รวมทั้งยังใช้อำนาจบริหารราชการอย่างเงียบๆในการแกไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ โดยเฉพาะส่งตัวแทนไปเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ.....ในขณะที่พยายามสร้างบทบาทต่อสาธารณชนหากมีอำนาจจะเน้นการแก้ไขด้วยวิธีการเจรจา ปัญหาที่อาจตามมาได้หากรัฐมนตรีท่านนี้เชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเหล่านี้ หรือ หากต้องการเอาชนะในเกมส์การเมืองโดยขาดซึ่งสติแล้ว อาจจะนำมาสู่ผลกระทบที่รุนแรงในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบจนถึงขั้นการเสียดินแดนก็เป็นได้

  • กลุ่มนักการเมืองมุสลิมที่ต้องการอำนาจ ที่เคยมีบทบาทมากในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มนักการเมืองกลุ่มนี้ในความรู้สึกลึกยังต้องการกลับมาเป็นผู้นำในพื้นที่ แต่ด้วยเหตุที่การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผ่านมาได้สร้างความเกลียดชังต่อชาวมุสลิมเพราะอยู่ตรงกลางระหว่างชาวมุสลิม กลุ่มก่อความไม่สงบ รัฐบาล ส่งผลให้ไม่สามารถทำอะไรได้อย่างเต็มที่ ภาพลักษณทีปรากฏต่อสาธารณชนจึงถูกมองว่าไม่มีความจริงใจ อย่างไรก็ตาม ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีกับนายทหารท่านหนึ่งและอดีต นรม.ที่เคยเสนอแนวความคิดดอกไม้หลากสีและเขตปกครองพิเศษ และเป็นที่นับถือของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ส่งผลให้กลายเป็นบุคคลที่สามารถเสนอคำที่ปรึกษาต่อรัฐมนตรีท่านนี้ได้ไม่มากก็น้อยแต่อย่างน้อย ก็สามารถเป็นตัวแทนไปเจรจา
  • นอกจากนี้กลุ่มบุคคลนี้ยังมีความใกล้ชิดกับผู้บริหารพรรคPAS ที่ให้การสนับสนุนกลุ่มก่อความไม่สงบอีกด้วย ลองพิจารณาดูแล้วกันว่าความเคลื่อนไหวในครั้งนี้เราจะได้หรือเสียผลประโยชน์ เพราะการเจรจามีปัจจัยในหลายด้านด้วยกัน คือ เราตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ สถานการณ์ไม่สามารถควบคุมได้ ต่างชาติเข้าแทรกแซง ความรุนแรงขยายพื้นที่ที่จากจุดความขัดแย้ง แต่สถานการณ์ยังคงควบคุมได้ แล้วจะช่วยเจรจาไปทำไม ถ้าหากไม่เป็นการผลักกดันเพื่อให้ดินแดนนี้เป็น Local State แยกตัวออกมาจากรัฐไทย ก็เพื่อกลุ่มของตนเองจะกลายเป็นผู้ปกครองรัฐบาลในพื้นที่ อย่างน้อย 3 รัฐบาลใน 3 จังหวัด
  • ทหาร ในมุมมองด้านความมั่นคงแล้วทหารจะเป็นตัวแสดงหลักในการรัษาอธิปไตยของชาติ แต่ต้องมีไหวพริบตามเกมส์การเมืองให้ทัน โดยเฉพาะฝ่ายเสนาธิการ ซึ่งเป็นมันสมองของกองทัพ ในเกมส์การเมืองครั้งนี้ ทหารยังพอทันอยู่ ดังจากการลงพื้นที่ของ ผบ.ทบ.อย่างต่อเนื่อง และมีอำนาจเต็มเมื่อ นรม.มองอำนาจการดูแล กอ.รมน. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ รวมทั้งยังคุม ศอ.บต. สังกัดมหาดไทย ทั้งนี้ในเรื่องของงบประมาณที่ใช้ในการบริหารต้องผ่านการพิจารณาของหน่วยงานเหล่านี้ ดังนั้นจึงเป็นอุปสรรคต่อรัฐมนตรีท่านนี้ที่ต้องการมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้

  • อีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าทหารยังมีสมองก็คือ การมีแผนจัดตั้ง new military bases and training camp ใน จังหวัด คือ สงขลา 1 แห่ง นราธิวาส 2 แห่ง ภายในปี 2009 เป็นผู้เสนอ เมื่อ 27 มีนาคม 2551 แม้ว่าหลายฝ่ายจะเห็นว่าเป็นเพียงนโยบายธรรมดา แต่ก็มีความสำคัญในแง่กลยุทธ์ของฝ่ายทหารว่า ดินแดนนี้.....ยังมีความมั่นคง และทหารจะไม่ถอนกองกำลังออกนอกพื้นที่ แม้ว่าการเจรจาต้องการให้ทหารออกนอกพื้นที่ก็ตาม (โปรดติดตามในตอนต่อไป)

วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2551

Ugly Thailand

Ugly Thailand

วันนี้ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย หากพิจารณาอดีตที่ผ่านมาเรามีความทรงจำที่ดีเกี่ยวกับประเทศไทย ...ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ลองมาหาคำตอบกัน
ธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์มากมายไปด้วยป่าไม้ น้ำตก สัตว์ป่า ความหนาวตามธรรมชาติ กำลังหายไปอย่างไม่กลับคืนมา...ดงพญาไฟ ที่ในอดีตมนุษย์ต้องกลัวไม่กล้าอาศัยอยู่ กลายเป็นดงพญาเย็น. ซึ่งเป็นที่พักร้อน หลบกายของผู้คนจากเมืองหลวง.....เป็นแหล่งหากินของนักเรียนนอก ใช้ความรู้ที่ทันสมัยขับไล่ความเถื่อนของธรรมชาติออกไป ....สร้างแดนสวรรค์ตามความคิดแบบทุนนิยม แต่ไม่เคยมองอนาคตของป่าไม้ไทย ณ วันนี้ ดงพญาไฟ .. มีแต่เพียงฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โชคชัยนะโชคชัย....ทำกันได้
ความเสื่อมของทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดจากความจงใจกลายเป็นข้ออ้างของนายทุนราชการ ธุรกิจ นักการเมือง เข้าครอบครอง อาศัยสายปานที่ร้อยท่อถักจากเงินตราเหนือความถูกต้อง...เป็นเครื่องมือในการบุกรุกป่าไม้ เพื่อทำบ้านพักตากกระโปกและกระปี๋ ..55555...และคอนโดกลางป่าใช้เสพยายาเสพติดของลูกหลานที่จะเป็นผู้นำประเทศในอนาคต...ประเทศชาติหลายคนบอกไม่ใช้ของเราคนเดียว...ปลงซะเถอะ...แค่คิดก็ไม่ถูกแล้ว
ทุกวันนี้ จะมองไปทางไหนมีแต่ความอ้างว้างกับหนทางที่ไทยต้องเผชิญว่าจะเป็นอย่างไร เมื่อคนรุ่นใหม่ยังไม่เห็นภัยที่เกิดใกล้ตัว...ความร้อนที่ระอุของอากาศที่เพิ่มมากขึ้นในตัวเมือง .ผู้คนหันมาใช้เครื่องปรับอากาศ.... แต่ไม่มี.ใครจะให้คำตอบได้บ้างว่ามาจากสิ่งใด ก็มาจากธรรมชาติที่ตั้งใจให้เสื่อมโทรม..เรามีกรมป่าไม้มาเกือบร้อยปีแต่ทำไมป่าไม้ถูกทำลายมาตลอด....เราจะภูมิใจได้อย่างไร...กับนโยบายการปิดป่าปี 2535 ยกเลิกสัมปทานตัดไม้ แต่กลายเป็นปัจจัยให้มีการปิดปาก นี่แหละผลงานชิ้นโบว์แดงของรัฐบาลและกระทรวงป่าไม้..
เราเห็นค่านิยมของความหรูหราแต่เราไม่เคยเห็นความตื่นตัวในการรักษาความเป็นไทยและธรรมชาติที่มีค่า...แต่ก็มีบางเป็นบางครั้ง ซึ่งเป็นไปตามกระแสของกระทรวงวัฒนธรรมไทย..5555... ไทยจะเป็นอย่างไรคงตอบไม่ได้ตอนนี้แล้วค่อยว่ากันใหม่กับ.....Ugly Thailand…..

ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมทางความมั่นคง 3

ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมทางความมั่นคง 3

1. ความเป็นจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในแง่ของความขัดแย้งทางด้านความคิดได้พัฒนาการแสดงออกถึงความขัดแย้งมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ขอลำดับความเป็นมาทางด้านความคิดที่นำมาสู่ความขัดแย้งตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน หลังจากนั้นจะนำเสนอระดับความขัดแย้งทางด้านความคิดว่ามีระดับอะไรบ้างในพื้นที่ที่ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.ก่อนเหตุการณ์ปล้นปืนที่ค่ายปิเหล็ง ความคิดที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของผู้คนส่วนใหญ่ยังหยุดนิ่งและยังมีความคิดว่าสยบกับอำนาจรัฐไทย ในส่วนของกลุ่มก่อความไม่สงบนั้น ในสายตาของฝ่ายความมั่นคงทางการทหาร(Military-led Security)ซึ่งเป็นกลไกหลักด้านความมั่นคงของประเทศในขณะนั้น ไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของกลุ่มก่อความไม่สงบเพราะเห็นว่าเป็นเพียงกลุ่มที่เรียกค่าคุ้มครองเท่านั้น ความละเลยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ข้างต้นได้ทำให้กลุ่มก่อความไม่สงบสามารถสร้างวาทกรรม(Discourse)ของการต่อสู่กับฝ่ายรัฐขึ้นมาใหม่อย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยเริ่มสร้างตัวแทนของการต่อสู่เพื่อพระเจ้าโดยเริ่มต้นสร้างเด็กในตาดีกา ปอเนาะ มาเป็นนักรบของพระเจ้า
3.รูปแบบการปลูกฝังได้นำเข้ามาจากการสร้างนักรบในอัฟกานิสถาน ซึ่งนอกจากเป็นสนามรบที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพของมุสลิมแล้ว ยังเป็นโรงเรียนสร้างนักรบเพื่อพระเจ้า โดยมีสมาชิกของกลุ่มก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้มาเป็นนักเรียนอยู่ด้วย เมื่อจบการศึกษาได้นำความรู้เข้ามาสร้างรูปแบบการต่อต้านอำนาจรัฐของตนเอง(มีต่อ)

วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551

ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง 2

  • ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง2

    ในการทำความเข้าในทางด้านความคิดซึ่งนำมาสู่ความขัดแย้งนั้นมันไม่ได้เกิดด้วยตัวของมันเองแต่ต้องมีเงื่อนไข/ปัจจัยต่างๆหากเรียงตามความสำคัญของสาเหตุที่นำไปสู้ความขัดแย้งอย่างรุนแรง จนไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างทันที อันดับแรก ศาสนา(Religious) และ ความเชื่อ(Belief) แม้ว่าในวงการด้านศาสนามีความเห็นคล้ายกันทั่วโลกว่าทุกศาสนารักสันติ แต่ก็เป็นเพียงภาพลักษณ์หนึ่งที่เป็นบวก(Positive)เท่านั้น เพราะหากย้อนอดีตกับไปจะเห็นได้ชัดว่าศาสนาเป็นต้นเหตุที่สำคัญของการทำสงครามอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ Crusade หรือ ในยุคปัจจุบันศาสนาก็ยังกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของสงครามการก่อการร้ายยุคใหม่ ที่ไม่มีความแตกต่างกับในอดีตมานัก แต่จะมีความแตกต่างตรงที่ว่าสงครามยุคนี้ไม่มีพรมแดน(Boundary) เพราะสงครามชนิดนี้จะอยู่ในความคิดก่อนเมื่อถึงเวลาที่สุกงอมมันก็จะระเบิดออกมาเป็นสงครามระหว่างเชื่อชาติและศาสนา
    นอกจากนี้ ความคิดด้านศาสนายังเป็นตัวขับเคลื่อนความคิดหนึ่งที่สำคัญของตะวันตก ดังจะเห็นการประกาศสงครามการต่อต้านการก่อการร้ายของประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาหรือที่เรียกว่า Global War on Terrorism หรือ GWOT แท้จริงแล้วมีสาเหตุของแนวความคิดที่แบ่งแยกความเป็นฝักฝ่าย คือ Binary Opposition ซึ่งเป็นพื้นฐานความคิดของตะวันตกมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แนวความคิดดังกล่าวยังนำมาสู่การแข่งขันทางการเมืองที่แบ่งเป็น 2 พรรคใหญใน สหรัฐอเมริกา แล้วประเทศไทยก็เลียนแบบกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งทางด้านความคิดที่พัฒนามาสู่ความรุนแรงทางด้านการเมือง แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหามาตรการเยียวยาในลักษณะสมานฉันท์ แต่ควรยอมรับข้อเท็จจริงว่าเราไม่มีแนวความคิดที่เรียกว่าความรักชาติ/ประเทศ(Patriotism)(มีความแตกต่างกับNationalism เพราะคำนี้มีความหมายในแง่ลบ)ในนิสัยของคนไทยเหมือนกับสหรัฐอเมริกา แล้วจะสมานฉันท์อย่างไร
    ปัญหาของฝ่ายความมั่นคงไทยที่ต้องขบคิดอยู่ตรงที่ว่าจะทำอย่างไรที่จะสลายความคิดที่เกิดความเข้าใจผิดของผู้ไม่หวังดีที่นำศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือในการก่อความไม่สงบมาเป็นระยะเวลานานได้ เพราะหากขาดความเข้าใจถึงข้อเท็งจริงแล้วยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจะหลงทางไปในที่สุด ภาระกิจแรกในการต่อสู่กับความเชื่อที่ผิดนั้นมีผู้หวังดีกล่าวว่าต้องมีการสร้างความไม่วางใจระหว่างกันแต่นั้น เป็นภาพกว้างแต่ควรเสนอมารตรการรองรับด้วยซึ่งต้องอยู่เป็นพื้นฐานของการสำรวจระดับความขัดแย้งในสังคมภาคใต้ว่าอยู่ในระดับใด(to be continued)

ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง 2

  • ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง2

    ในการทำความเข้าในทางด้านความคิดซึ่งนำมาสู่ความขัดแย้งนั้นมันไม่ได้เกิดด้วยตัวของมันเองแต่ต้องมีเงื่อนไข/ปัจจัยต่างๆหากเรียงตามความสำคัญของสาเหตุที่นำไปสู้ความขัดแย้งอย่างรุนแรง จนไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างทันที อันดับแรก ศาสนา(Religious) และ ความเชื่อ(Belief) แม้ว่าในวงการด้านศาสนามีความเห็นคล้ายกันทั่วโลกว่าทุกศาสนารักสันติ แต่ก็เป็นเพียงภาพลักษณ์หนึ่งที่เป็นบวก(Positive)เท่านั้น เพราะหากย้อนอดีตกับไปจะเห็นได้ชัดว่าศาสนาเป็นต้นเหตุที่สำคัญของการทำสงครามอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ Crusade หรือ ในยุคปัจจุบันศาสนาก็ยังกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของสงครามการก่อการร้ายยุคใหม่ ที่ไม่มีความแตกต่างกับในอดีตมานัก แต่จะมีความแตกต่างตรงที่ว่าสงครามยุคนี้ไม่มีพรมแดน(Boundary) เพราะสงครามชนิดนี้จะอยู่ในความคิดก่อนเมื่อถึงเวลาที่สุกงอมมันก็จะระเบิดออกมาเป็นสงครามระหว่างเชื่อชาติและศาสนา
    นอกจากนี้ ความคิดด้านศาสนายังเป็นตัวขับเคลื่อนความคิดหนึ่งที่สำคัญของตะวันตก ดังจะเห็นการประกาศสงครามการต่อต้านการก่อการร้ายของประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาหรือที่เรียกว่า Global War on Terrorism หรือ GWOT แท้จริงแล้วมีสาเหตุของแนวความคิดที่แบ่งแยกความเป็นฝักฝ่าย คือ Binary Opposition ซึ่งเป็นพื้นฐานความคิดของตะวันตกมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แนวความคิดดังกล่าวยังนำมาสู่การแข่งขันทางการเมืองที่แบ่งเป็น 2 พรรคใหญใน สหรัฐอเมริกา แล้วประเทศไทยก็เลียนแบบกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งทางด้านความคิดที่พัฒนามาสู่ความรุนแรงทางด้านการเมือง แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหามาตรการเยียวยาในลักษณะสมานฉันท์ แต่ควรยอมรับข้อเท็จจริงว่าเราไม่มีแนวความคิดที่เรียกว่าความรักชาติ/ประเทศ(Patriotism)(มีความแตกต่างกับNationalism เพราะคำนี้มีความหมายในแง่ลบ)ในนิสัยของคนไทยเหมือนกับสหรัฐอเมริกา แล้วจะสมานฉันท์อย่างไร
    ปัญหาของฝ่ายความมั่นคงไทยที่ต้องขบคิดอยู่ตรงที่ว่าจะทำอย่างไรที่จะสลายความคิดที่เกิดความเข้าใจผิดของผู้ไม่หวังดีที่นำศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือในการก่อความไม่สงบมาเป็นระยะเวลานานได้ เพราะหากขาดความเข้าใจถึงข้อเท็งจริงแล้วยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจะหลงทางไปในที่สุด ภาระกิจแรกในการต่อสู่กับความเชื่อที่ผิดนั้นมีผู้หวังดีกล่าวว่าต้องมีการสร้างความไม่วางใจระหว่างกันแต่นั้น เป็นภาพกว้างแต่ควรเสนอมารตรการรองรับด้วยซึ่งต้องอยู่เป็นพื้นฐานของการสำรวจระดับความขัดแย้งในสังคมภาคใต้ว่าอยู่ในระดับใด(to be continued)

การข่าวกรองเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายในประเทศไทย

การข่าวกรองเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายในประเทศไทย
(Intelligence – led Counterinsurgency)

การต่อสู้กับการก่อการร้ายเครื่องมือหนึ่งที่มีความสำคัญในการปราบปรามการก่อการร้าย คือ การมีข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมานับตั้งแต่ยุคการก่อการร้าย ประเทศต่างๆได้มีการปรับปรุงการทำงานด้านการข่าวมาอย่างต่อเนื่อง ทั้ง สหรัฐอเมริการ อังกฤษ โดยหันมาเน้นการสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อช่วยเหลืองานด้านข่าวกรอง รวมทั้งได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและพัฒนารูปแบบงานวิเคราะห์ที่เป็นหัวใจของงานข่าวกรอง โดยเฉพาะการใช้ข้อมูลข่าวกรองในการขับเคลื่อนการวางแผนการต่อต้านข่าวกรอง ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำให้นักวิเคราะห์สามารถประเมินภัยคุกคามได้ง่ายขึ้น
สำหรับการพัฒนาด้านข่าวกรองในประเทศไทยนับตั้งแต่ยุคการก่อการร้ายยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก เพราะการทำงานยังไม่มีระบบ แนวความคิด(Concept) หรือรูปแบบ(Model) รวมทั้งยุทธศาสตร์ข่าวกรองยังไม่มีความชัดเจน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงสภาพการณ์ที่ผ่านมาของข่าวกรองเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย ควรเข้าทำความเข้าใจถึงสภาพ/สถานะโดยทั่วไปประเทศไทยในเวทีการก่อการร้ายสากลดังนี้
นับตั้งแต่ ปี พ.ศ.2544 เป็นต้นมา ประเทศไทย ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความร่วมมือกับประชาคมโลก ที่มีประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นแกนนำ ในการดำเนินการเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายข้ามชาติ ที่มุ่งกระทำต่อผลประโยชน์ของชาติต่างๆ ทั้งในเอเซีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยภัยคุกคามจากการก่อการร้าย ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มอัล-กออิดะห์ (Al Qaeda)และกลุ่มเชื่อมโยงกับกลุ่มอัล-กออิดะห์ในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งรับอิทธิพลและแนวความคิดเชื้อชาตินิยม (Ethno-nationalism) และอิสลามนิยม (Islamism) ในการต่อต้านอิทธิพลของชาติตะวันตก โดยเฉพาะการขับไล่สหรัฐอเมริกา ออกจากดินแดนอิสลาม เป็นสำคัญ

สถานการณ์ปัจจุบัน สงครามต่อต้านการก่อการร้าย ภายใต้ความร่วมมือของประชาคมโลก ยังคงยืดเยื้อและขยายขอบเขต ความรุนแรง และรูปแบบวิธีการก่อเหตุร้ายออกไปจากเดิมมากขึ้น (อาทิ กรณีการก่อเหตุระเบิดพลีชีพหลายครั้งในประเทศปากีสถาน กระทั่งมีการสังหารอดีตนายกรัฐมนตรี นางเบนาซีร์ บุตโต เมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม 2550) ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก การที่กลุ่มก่อการร้าย ยังคงสามารถบ่มเพาะแนวคิดรุนแรง (Radicalization) ไปยังกลุ่มแนวร่วมมากขึ้น โดยอาศัยช่องทางการดำเนินการผ่านสถาบันครอบครัว สถานศึกษา สถาบันศาสนา และกลุ่มเพื่อน รวมทั้ง การเผยแพร่แนวความคิดผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถขยายเครือข่ายได้อย่างกว้างไกลและรวดเร็ว ส่งผลให้กลุ่มก่อการร้ายสามารถสร้างแนวร่วมกลุ่มใหม่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าบางส่วนจะถูกเจ้าหน้าที่ หน่วยงานราชการ ของประเทศต่างๆปราบปราม จับกุม

ในห้วงปัจุบันประเทศต่างๆ ยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตการณ์ก่อการร้ายขนาดใหญ่ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อประชาชน และผลประโยชน์ ได้แก่ ภูมิภาคตะวันออกกลาง ยังคงมีปัญหาเรื่องการขับไล่อิทธิพลของสหรัฐฯ ในประเทศอิรัก และการต่อต้านอิสราเอล ในปาเลสไตน์ ภูมิภาคเอเชียใต้ มีปัจจัยความขัดแย้งทางเชื้อชาติ และแนวคิดอิสลามนิยม ใน อินเดีย,ปากีสถาน,อัฟกานิสถาน,บังคลาเทศ และศรีลังกา เชื่อว่าความพยายามในการก่อเหตุร้ายยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่วนใน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นพื้นที่หลัก ที่กลุ่มก่อการร้ายมุ่งเป้าโจมตี เนื่องจากเป็นแหล่งผลประโยชน์ขนาดใหญ่ ซึ่งหากสามารถลงมือก่อการร้ายได้สำเร็จ ก็จะสร้างความเสียหาย และส่งผลกระทบต่อกลไกต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
กรณีของประเทศไทย ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาจะไม่มีการก่อการร้ายขนาดใหญ่ ที่เกิดจากการกระทำของกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติเกิดขึ้น แต่จากการที่ปัญหาความไม่สงบ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จ.ปัตตานี,ยะลา และนราธิวาส) มีมิติที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม ทำให้เป็นประเด็นปัญหาที่ถูกจับตามองจากประชาคมมุสลิมในภูมิภาคอื่นๆ รวมทั้ง มีความพยายามจากกลุ่มก่อการร้ายในภูมิภาคนี้ อาทิ กลุ่มเจมาอิสลามิยาห์ (Jemaah Islamiyah-JI ที่ต้องการเข้ามาเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ เพื่อยกระดับเหตุการณ์ให้เชื่อมโยงกับสถานการณ์ในอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ดังนั้น หากทางการไทย ปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อออกไป หรือมีสถานการณ์ที่รุนแรงมากขึ้น อาจจะส่งผลให้เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย กลายเป็นสถานการณ์ในระดับภูมิภาค และเชื่อมโยงกับกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ อันจะส่งผลให้เกิดผลเสียหายต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก

ในการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย องค์ประกอบหลักอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ประเทศต่าง สามารถดำเนินการต่อต้านและตอบโต้การก่อการร้าย ได้อย่างประสบความสำเร็จ คือ การมี การข่าวกรองและการต่อต้านข่าวกรอง ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรวบรวมข่าวกรองและความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับขบวนการก่อการร้ายกลุ่มต่างๆทุกแง่มุม ตลอดจนต้องมีการใช้ข่าวกรองที่มีประสิทธิผล เพื่อต่อต้านและตอบโต้ขีดความสามารถของกลุ่มก่อการร้าย ก่อนที่กลุ่มก่อการร้ายจะสามารถลงมือก่อเหตุร้าย ในภูมิภาคต่างๆ ก่อนที่จะเกิดความสูญเสียต่อประชาชนและผลประโยชน์ของชาตินั้นๆ (มีต่อ)

วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551

สภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงในมิติใหม่

ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง(1)

การทำความเข้าใจกับความมั่นคงของประเทศในสถานะปัจจุบันคงต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อม(Security Environment)ที่เปลี่ยนไปโดยหน้าที่หลักต้องเป็นหน่วยงานความมั่นคงระดับชาติที่รับผิดชอบในเรื่องยุทธศาสตร์หรือภาพใหญ่เป็นการเฉพาะ แต่ดูเหมือนว่าประเทศไทยมักมีลักษณะการทำงานต่างคนต่างทำส่งผลให้ทุกหน่วยงานต่างมีแนวความคิดที่จะมองภาพด้านความมั่นคงที่แตกต่างกันไป เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วแนวทางการแก้ไขจึงขาดทิศทางและไม่เป็นองค์รวมของการแก้ไขปัญหาความมั่นคง ซึ่งเป็นแนวทางที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน เช่น เห็นได้ชัดจากการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังไม่มีความคืบหน้า
สำหรับสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงที่เปลี่ยนไปมีหลายมิติด้วยกัน ประการแรก คือ ด้านความคิด ที่ผ่านมาหน่วยงานด้านความมั่นคงมักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับความคิด(Concept) เพราะเห็นว่ามันเป็นรูปธรรมไม่สามารถจับต้องได้ ความคิดมีหลายระดับด้วยกันและส่งผลให้เกิดความขัดแย้งได้หากความคิดไม่มีความรองลอยกัน หรือ กล่าวได้ว่าความคิดเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง ซึ่งไม่สามารมองเห็นได้เมื่อถึงจุดของการแสดงออกก็นำมาสู่การเผชิญหน้าเสียแล้ว ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือความขัดแย้งทางด้านการเมืองในประเทศไทยก็เกิดขึ้นจากความไม่ยอมรับความคิดระหว่างกันทั้งที่เรามีเครื่องมือคือศาสนาพุทธที่มีหลักของทางสายกลางที่จะสามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ หรือ จะยกตัวอย่างอีก 1 ตัวอย่างที่แม้ว่าจะห่างไกลกันในด้านภูมิศาสตร์ แต่ปัจจุบันได้เข้ามาอิทธิพลต่อความคิดของผู้คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ความไม่เป็นธรรมของสงครามที่เกิดขึ้นในอิรัก ซึ่งเป็นแหล่งเผยแพร่การทำสงครามทางด้านศาสนา(Jihad )ต่อจากสนามรบอัฟกานิสถาน โดยการต่อสู่ในระดับภูมิภาคที่ยกตัวอย่างข้างต้นกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแนวความคิดของมุสลิมในการต่อสู่เพื่อปลดปล่อยความไม่เป็นธรรม แม้ว่าการต่อสู้ในสนามรบเหล่านี้ไม่สามารถจับต้องได้แต่หากพิจารณาจุดมุ่งหมายของผู้ที่ประกาศสงครามในลักษณะนี้แล้ว ถือว่าเป็นความฉลาดของผู้กำหนดการต่อสู้เพราะแนวความคิดของการต่อสู้จะกลายเป็นต้นเหตุของการต่อสู้ทางด้านความคิด(War of Idea)ที่ไม่สามารถลบด้วยฝ่าเท้า (การใช้กำลัง)
สำหรับ การต่อสู่กับการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็เริ่มต้นจากความคิดเล็กก่อนแล้วขยายกลายเป็นชุมชนทางความคิดในสังคม(Social Community) ซึ่งจะมีการกระจายตัวไปอย่างต่อเนื่องจากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่งคล้ายกับโรคติดต่อ เมื่อถึงที่สุดแล้วแนวความคิดของการต่อสู้ก็จะเสถียรลอยเหนือในพื้นที่คล้ายกับว่าไม่จำเป็นต้องแพร่ระบาดต่อไป แต่สถานะของความคิดในเรื่องการต่อสู้ได้กลายเป็นคำสอนทางศาสนาไปเสียแล้ว ด้วยเหตุนี้ คงไม่แปลกที่จะกล่าวว่ากลุ่มก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในพื้นที่หรือ มีพื้นฐานมาจากสังคม เพราะจุดเริ่มต้นมากจากความไม่พอใจของผู้คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมกลายเป็นกำเนิดของการต่อสู่ด้วยวิธีการก่อความไม่สงบ ก็เริ่มต้นจากความคิดทั้งนั้น ซึ่งประเด็นนี้ถือว่าเป็นจุดแข็งที่สุด(Strong Point)ของกลุ่มก่อความไม่สงบ แต่ฝ่ายความมั่นคงของไทยส่วนใหญ่มักมองแต่เรื่องกายภาพของกลุ่มก่อความไม่สงบเท่านั้น (มีต่อ)จาก mr.t and s

วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2551

แนะนำตัว

แนะนำตัว
กล่าวสวัสดีกับประชาชนไทยในยุคของความไม่แน่นอน(Unsecurity Age )ในทุกๆด้าน ทั้งการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ทุกคนคงจะสังเกตได้ว่าในปัจจุบันประเทศชาติของเราอยู่ในช่วงของความไม่แน่นอน เราหาความแน่นอนไม่ได้ เพราะอะไรหรือคงต้องหาคำตอบต่อไปแต่ที่สำคัญที่สุด ในยุคนี้เป็นยุคที่เราต้องเผชิญกับภัยคุกคามสมัยใหม่(New Threats ) เช่น การก่อความไม่สงบในรูปแบบการก่อการร้ายได้เริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายของรัฐไทยในรูปแบบต่างๆมากขึ้น เรามีคำจำกัดความต่อภัยคุกคามที่กว้างมากขึ้น ดูเหมือนว่าทุกอย่างเกี่ยวกับความั่นคงทั้งนั้น แม้กระทั้งการเมืองยังนำเอาความมั่นคงเป็นประเด็นในการคำยันสานะภาพของรัฐบาล นอกจากนี้ เรายังเห็นว่าความขัดแย้งทางด้านความคิด(War of Idea)ยังนำมาสู่ความบาดหมางมากขึ้นเช่น ประเทศไทย แม้ว่าจะมีนโยบาย สมานฉันท์ คงเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะนำมาสู่ในสภาวะปกติ .ในเรื่องนี้เรามีคำตอบด้วยเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ผม MR.Bush พร้อมทีมงานจึงเห็นพ้องว่าเราน่าจะทำอะไรบ้างเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบความเคลื่อนไหวด้านวิชาการ ข้อมูล บทความ ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนและจะส่งผลต่อความั่นคงของชาติในปัจจุบันและอนาคต การนำเสนอของเราจะมองทุกมิติที่เกิดขึ้นทั้งในระดับ Global ระดับ Region ระดับ State โดยใช้แนวทางในการวิเคราะห์ที่เรียกว่าAll-Sources Analysis
ในส่วนของบทความทางวิชาการนั้น เราจะนำเสนอข้อเท็จจริงพร้อมบทวิเคราะห์ ที่มีความหลากหลาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างครือข่ายสมาชิกที่มีจิตสำนึกด้านความมั่นคง เรามุ่งหวังว่าจะเชื่อมโยงกับเครือข่ายในต่างประเทศด้วยซึ่งจะเป็นภารกิจของเราในการสร้างเครือข่ายของประชาชนโลก(Global Citizen)ที่มีจิตสำนึกร่วมกันในการรักษาโลกของเราให้ปลอดภัยกับภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆไม่เฉพาะกับการก่อการ้ายเพียงอย่างเดียว
เรามีความปราถนาดีว่าจากจุดเริ่มต้นเล็กๆของเราจะเป็นการเปิดโลกทัศน์ของผู้คน เรายินดีหากว่าผู้ใดมีบทบาทที่มีมุมมองแปลกใหม่ก็สามารถนำมาลงใน Blog นี้ได้เราเปิดกว้างเสมอ
Mr.Bush and Mr.Putin

แนะนำตัว

แนะนำตัว
กล่าวสวัสดีกับประชาชนไทยในยุคของความไม่แน่นอน(Unsecurity Age )ในทุกๆด้าน ทั้งการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ทุกคนคงจะสังเกตได้ว่าในปัจจุบันประเทศชาติของเราอยู่ในช่วงของความไม่แน่นอน เราหาความแน่นอนไม่ได้ เพราะอะไรหรือคงต้องหาคำตอบต่อไปแต่ที่สำคัญที่สุด ในยุคนี้เป็นยุคที่เราต้องเผชิญกับภัยคุกคามสมัยใหม่(New Threats ) เช่น การก่อความไม่สงบในรูปแบบการก่อการร้ายได้เริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายของรัฐไทยในรูปแบบต่างๆมากขึ้น เรามีคำจำกัดความต่อภัยคุกคามที่กว้างมากขึ้น ดูเหมือนว่าทุกอย่างเกี่ยวกับความั่นคงทั้งนั้น แม้กระทั้งการเมืองยังนำเอาความมั่นคงเป็นประเด็นในการคำยันสถานะภาพของรัฐบาล นอกจากนี้ เรายังเห็นว่าความขัดแย้งทางด้านความคิด(War of Idea)ยังนำมาสู่ความบาดหมางมากขึ้นเช่น ประเทศไทย แม้ว่าจะมีนโยบาย สมานฉันท์ คงเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะนำมาสู่ในสภาวะปกติ .ในเรื่องนี้เรามีคำตอบด้วยเช่นกัน
ด้วยเหตุนี้ผม MR.T พร้อมทีมงานจึงเห็นพ้องว่าเราน่าจะทำอะไรบ้างเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบความเคลื่อนไหวด้านวิชาการ ข้อมูล บทความ ที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนและจะส่งผลต่อความั่นคงของชาติในปัจจุบันและอนาคต การนำเสนอของเราจะมองทุกมิติที่เกิดขึ้นทั้งในระดับ Global ระดับ Region ระดับ State โดยใช้แนวทางในการวิเคราะห์ที่เรียกว่าAll-Sources Analysis
ในส่วนของบทความทางวิชาการนั้น เราจะนำเสนอข้อเท็จจริงพร้อมบทวิเคราะห์ ที่มีความหลากหลาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างครือข่ายสมาชิกที่มีจิตสำนึกด้านความมั่นคง เรามุ่งหวังว่าจะเชื่อมโยงกับเครือข่ายในต่างประเทศด้วยซึ่งจะเป็นภารกิจของเราในการสร้างเครือข่ายของประชาชนโลก(Global Citizen)ที่มีจิตสำนึกร่วมกันในการรักษาโลกของเราให้ปลอดภัยกับภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆไม่เฉพาะกับการก่อการ้ายเพียงอย่างเดียว
เรามีความปราถนาดีว่าจากจุดเริ่มต้นเล็กๆของเราจะเป็นการเปิดโลกทัศน์ของผู้คน เรายินดีหากว่าผู้ใดมีบทบาทที่มีมุมมองแปลกใหม่ก็สามารถนำมาลงใน Blog นี้ได้เราเปิดกว้างเสมอ
Mr.t and Mr.s