วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

กลุ่มก่อความไม่สงบกับแนวทางการเคลื่อนไหวในต่างประเทศ

กลุ่มก่อความไม่สงบกับแนวทางการเคลื่อนไหวในต่างประเทศ

ในขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองยังเป็นอุปสรรคต่อการบริหารและการผลักดันนโยบายที่เป็นรูปธรรม อาจส่งผลกระทบที่อาจจะคาดไม่ถึงต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากขาดความเอาใจใส่จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อยุทธศาสตร์ในการต่อสู้ ทั้งนี้ การขาดความต่อเนื่องและความสนใจหรือมีความสนใจน้อยของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ ผบ.ทบ. ที่ได้รับอำนาจเข้ามาแก้ไขปัญหาความไม่สงบจาก นรม. แต่เป็นตัวแปรที่สำคัญในการต่อสู้ทางการเมืองในส่วนกลาง

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองข้างต้น ได้ส่งผลที่ดีในการต่อสู้ของกลุ่มก่อความไม่สงบไม่มากก็น้อย แต่อย่างน้อยที่สะท้อนให้เห็นก็คือว่ายุทธศาสตร์ในการต่อสู้ของกลุ่มยังไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่ฝ่ายรัฐต้องประสบปัญหาภายใน ส่งผลให้ไม่มีความคืบหน้าในมาตรการต่างๆในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบมากเท่าที่จะเป็น

ในสถานการณ์ปัจจุบัน กลุ่มก่อความไม่สงบได้เคลื่อนไหวมากขึ้นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการต่อสู้ โดยมีการสร้างเอกภาพและความร่วมมือระหว่างกลุ่ม BRN Coordinate และ PULO อย่างผิดสังเกต ซึ่งจะมีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนว่า กลุ่ม PULO เน้นการรุกด้านการเมืองต่างประเทศมากขึ้น ส่วน BRN Coordinate ยังเน้นก่อเหตุร้ายในพื้นที่ การปลุกระดมหาแนวร่วมใหม่ การแทรกซึมในหน่วยงานของรัฐ

สำหรับการรุกทางการเมืองระหว่างประเทศเพื่อยกระดับของปัญหา จชต.ให้เป็นปัญหานานาชาติ(Internationalization) ของ PULO ได้กระทำในลักษณะส่งข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาในภาคใต้ให้กับประเทศที่มีอิทธิพลต่อการหยิบยกประเด็นปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อนำมาพิจารณาในที่ประชุมเพื่อออกแถลงการณ์ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการยับยั้ง มาตลอด

อย่างไรก็ เป็นที่น่าสังเกตว่าก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ หรือ Council of Foreign Minister ของ OIC กลุ่มพูโล ได้ระดมเงินทุนและยังส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนให้กับ EU และ ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีอิทธิพลต่อที่ประชุม OIC ที่สำคัญในการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ 18-20 มิ.ย.51 นี้ ยังจะมีการพิจารณาว่าด้วยร่างข้อมติให้ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชนกลุ่มน้อย (Minority) แยกออกมาจากเรื่องอื่นๆ ซึ่งจะเป็นการยกระดับของปัญหาชนกลุ่มน้อยที่ไม่ได้รับความชอบธรรมในประเทศที่ไม่ใช้มุสลิม เช่น ในปัญหาความไม่สงบในประเทศไทย

เมื่อพิจารณาจากความเคลื่อนไหวข้างต้นในช่วงการเมืองภายในประเทศยังไม่มีทางออกแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะหน่วยงานระดับยุทธศาสตร์ต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ของกลุ่มก่อความไม่สงบ เพื่อหาทางแก้ไขและตอบโต้ โดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศ ต้องรีบดำเนินการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่ รวมทั้งต้องหาทางลอบบี้สมาชิก OIC ที่อาจจะมีมติเห็นชอบให้แยกเรื่องมติของชนกลุ่มน้อยในประเทศที่ไม่ใช้มุสลิมออกมาจากเรื่องอื่น ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อนโยบายของไทยในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ในอนาคต

วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

สภาพความเป็นนจริงของสังคมไทยสะท้อนความเป็นจริงทางการเมือง

สภาพความเป็นนจริงของสังคมไทยสะท้อนความเป็นจริงทางการเมือง

สถานการณ์ของบ้านเมืองในยามนี้เป็นสภาวะที่หยุดนิ่งและไม่มีการพัฒนาเกือบทุกด้าน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นหากมองในแง่ของรัฐศาสตร์แล้วเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทางการเมืองของประเทศที่ยังไม่มีความมั่นคงของระบบการเมือง หรือ ระบบการเมืองที่เกิดขึ้นเป็นเพียงเครื่องมือของชนชั้นผู้ปกครองที่ต้องการใช้เพื่อควบคุมประชาชนและสืบทอดอำนาจ โดยลืมนึกไปว่าระบบการเมืองต้องตอบสนองความต้องการของประชาชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะประชาชนแม้ไม่ใช้ส่วนใหญ่เห็นว่าน่าจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่ ความเป็นจริงของสภาพการเมืองไทยที่ต้องมีผู้นำ แต่ในข้อเท็จจริงที่ว่าสภาวะทางจิตใจของผู้คนแม้ว่าจะขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแต่ดูเหมือนว่าเป็นเพียงการนับถือในแง่พื้นผิวเท่านั้น เพราะแท้จริงแล้วคนในชาติส่วนใหญ่ไม่ได้นำข้อดีมาปรับปรุงสันดารดิบต่างๆ ที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดเท่าใดนัก โดยเฉพาะชนชั้นปกครอง ชนชั้นนำของไทย ประชาชน

ในประวัติศาสตร์ทางการเมืองที่ผ่านมารวมทั้งเหตุการณ์ทางการเมืองในครั้งนี้ สะท้อนความเป็นจริงที่ว่าการทำหน้าที่ของชนกลุ่มนี้ ไม่ได้สรรค์สร้างประเทศชาติให้มีความเจริญแต่อย่างใด แต่เป็นการกระทำที่มุ่งผลประโยชน์ระยะสั้น และ เป็นการครอบครองอำนาจทางการบริหารเพื่อใช้ในการกดขี่ชนชั้นปกครองกลุ่มอื่นๆ

ในส่วนของประชาชนในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ส่วนใหญ่ยังไม่มีจิตสำนึกร่วมในการสร้างชาติอย่างมั่นคง หากได้รับผลประโยชน์จากนักการเมืองในรูปแบบโครงการประชานิยมก็จะมีความจงรักภักดี กับนักการเมืองผู้นั้น หรือย่างน้อยจะมีความรู้สึกของการสนับสนุน โดยไม่ให้ความสนใจว่านักการเมืองผู้นั้นจะมีมลทินหรือกระทำผิดใดมา ด้วยเหตุนี้ กลับกลายเป็นว่าแทนที่ประชาชนจะมีอำนาจต่อรองกับกลุ่มนักการเมือง ได้ถูกควบคุมกับนักการเมืองเสียเอง ส่งผลให้ภาคการเมืองเกิดความยิ่งใหญ่ ดังนั้นจะทำให้เกิดประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นใหญ่ได้อย่างไร

ชนชั้นกลางในประเทศไทยไม่ได้มีส่วนรวมทางการเมืองมากกว่าที่จะเป็น และ ไม่ได้ทำหน้าที่ในการสร้างความรู้สึกที่เป็นประชาธิปไตยหรือยอมเสียสละความสุข ผลประโยชน์เฉพาะหน้าเพื่อรังสรรค์ประชาธิปไตย แต่วางตัวในลักษณะเพิกเฉย รักษาสถานนะ สร้างความมั่นคงแก่ชีวิต ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติแต่หากพิจารณาอนาคตแล้วประเทศไทยต้องการการเสียสละบางส่วนของผู้คนภายในประเทศ ถึงจะทำให้ประเทศชาติพัฒนาไปด้วย

สรุปในชั้นนี้ได้ว่าสภาพความเป็นจริงในสังคมสะท้อนความเป็นจริงทางการเมือง แต่ การเมืองกำหนดความเป็นไปทางสังคม ซึ่งดูเหมือนว่าภาคการเมืองจะมีสถานะเหนือว่าทุกภาคส่วนในประเทศไทย ซึ่งสามารถกำหนดความเป็นไปของประเทศได้มาก ซึ่งแตกต่างกับอารยะประเทศที่ภาคการเมืองไม่มีความเหลื่อมล้ำจากภาคอื่นๆของสังคมมากนัก

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ไทยอยู่ในยุคการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง

ไทยอยู่ในยุคการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง

ความเป็นจริงทางการเมืองของไทยในปัจจุบัน(2551)หากหยิบเอางานวิชาการแนวหลังยุคสมัยใหม่(Post-Modern)มาอธิบาย สะท้อนความเป็นจริงทางการเมืองได้ว่า ไม่มีชนชั้นผู้นำทางการเมืองใดมีอำนาจสูงสุดพอที่ควบคุมผู้นำทางการเมืองอีกกลุ่มหนึ่งได้อีกแล้ว ส่งผลให้เกิดความคิดเทียบเคียงเทียบเท่า ภายในจิตใจขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดความลำพองในจิตใจของผู้นำบางกลุ่มที่จะท้าทายหรือต่อสู้กับผู้นำอื่นๆ โดยอาศัยบารมีทางการเงิน การใช้อิทธิพลภายนอก หรือ การดึงต่างประเทศเข้ามาสร้างบารมีในการต่อสู้ ซึ่งในประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองในอดีตที่ผ่านมาได้เกิดการต่อสู้ในลักษณะดังกล่าวและประวัติศาสตร์ก็คือหลุมฝังศพของผู้นำ(History is the graveyard of elite)

การต่อสู้ทางการเมืองในไทยกำลังเป็นไปอย่างเข้มข้น ต่างฝ่ายต่างจะเอาชนะกันโดยความตั้งใจ การวางแผน และ ทำทุกวิถีทาง ทั้งต่อหน้าและลับหลัง รวมทั้งยังดูเหมือนว่าจะไม่ยอมถอยหลังมาพูดคุย ในสภาวะแบบนี้ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ปี 2549 ได้ส่งผลต่อประเทศชาติในหลายด้าน

ประการแรก เกิดการสร้างวาทกรรมแบ่งฝ่าย แบ่งภูมิภาค แบ่งพรรคแบ่งพวก แบ่งแยกทางความคิด รุนแรงที่สุดอาจแบ่งประเทศ ทั้งนี้ การแบ่งเป็นฝักฝ่ายได้เริ่มมีมานับตั้งแต่หลังการใช้รัฐธรรมนูญ 2540มาระยะเวลาหนึ่ง ของผู้นำทางการเมืองพรรคหนึ่ง จนเกิดความได้เปรียบทางการเมือง แต่กลับนำมาสร้างความได้เปรียบทางการเมือง การกดดันฝ่ายตรงข้าม รวมทั้งนำมาเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองและยังเพื่อสั่นคลอนสถาบันที่สำคัญที่เป็นผู้สร้างประเทศ

ประการที่สอง การสร้างวาทกรรมให้ตนเองเป็นฝ่ายถูกและเกิดความชอบธรรม ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยสภาวะดังกล่าวส่งผลให้เกิดความไม่สามัคคี และดูเหมือนว่าจะประสานความรู้สึกกันอย่างมากขึ้นแม้ว่าจะมีความพยายามจากหลายฝ่ายรณรงค์ให้เกิดความสามัคคีแต่ต่างฝ่ายเกิดความรู้สึกว่าเชื่อไม่ได้เพราะมักคาดเดาว่าเป็นการกระทำที่แอบแฝง

ประการที่สาม การสร้างความเหนือกว่าให้เกิดขึ้นโดยไม่ได้ให้ความสนใจความเป็นไปของประเทศ และไม่สนใจว่าจะส่งผลกระทบต่ออนาคตซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่เพราะเป็นการใช้อำนาจเหนือการเมือง คือ การดึงเอาเครือข่ายในต่างประเทศมาสร้างบารมีในการต่อสู้ ซึ่งจะกดดันให้ฝ่ายบริหารไม่สามารถดำเนินการบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประการที่สี่ การต่อสู้ในครั้งนี้ ต่างฝ่ายมีเครือข่ายในการสนับสนุนที่ไม่เปิดเผยอยู่มาก และจะสนับสนุนการต่อสู้อย่างเงียบๆหากไม่มีการเปิดโปงก็จะสนับสนุนการต่อสู้ทุกทาง ด้วยเหตุนี้ การต่อสู้จะไม่จำกัดอยู่ที่การเมืองต่อไปยังรวมถึงในด้านอื่นอีกด้วย เช่น ภาคราชการ ภาคเศรษฐกิจ ภาคประชาชน โดยเฉพาะภาคราชการทหาร ยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จะเป็นตัวชี้ขาดต่อการใช้กำลังเพื่อวัตถุประสงค์ใด ซึ่งที่ผ่านมาได้เริ่มเคลื่อนไหวในลักษณะปกป้องสถาบันมากขึ้น เพราะการต่อสู้มีการอ้างอิงหรือจาบจ้วงสถาบันมากขึ้น

สถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่สามารถจะทำนายได้ว่าจะเปลี่ยนรูปจากการปะทะทางด้านความคิดมาปะทะในด้านการเมือง ขั้นสุดท้ายปะทะกันด้วยกำลัง จะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่มีเงื่อนไขที่จะนำมาสู่การปะทะกันมากขึ้น โดยยังไม่มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการเคลื่อนไหวของบุคคลสำคัญทางการเมืองทุกวันนี้ ยังไม่มีท่าทีประณีประนอม แต่แฝงไปด้วยผลประโยชน์เฉพาะหน้าเสมอ

วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ข้อเท็จจริงในการโยกย้ายในกระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางการเมือง

ข้อเท็จจริงในโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางการเมือง

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งนักการเมืองเป็นผู้ก่อกำลังจะกลายเป็นประเด็นที่จะถูกนำมาขยายผลให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นผลพวงของการเมืองภายในประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะในเรื่องของการเอาชนะฝ่ายตรงข้ามทุกแนวทางแม้ว่ากระทั้งในกระทรวงการต่างประเทศได้รับผลพวงของการต่อสู้ในครั้งนี้

ดังจะเห็นจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่มาจากพรรคพลังประชาชนได้ใช้อำนาจที่ขาดความชอบธรรมสั่งย้ายอธิบดีรวมทั้งปลัดกระทรวงเบื้องหลังเกิดขึ้นจากความไม่พอใจนายวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมกรมสนธิสัญญาและกฎหมายไม่ยอมส่งเอกสารสัญญา CTX ให้กับท่านผู้นี้ เพราะเอกสารนี้มีความสำคัญต่อการเอาผิด อดีต รมว.คค. แต่ท่านอธิบดีได้ปฏิเสธเพราะต้องทำหนังสืออย่างเป็นทางการ ผลทำให้ท่านอธิบดีถูกย้ายออกจากตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูลปลัดกระทรวงการต่างประเทศ มีความเห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชาจึงทำหนังสือปิดผนึกในกระทรวงแสดงความเห็นใจ และ ขอบคุณท่านอธิบดีที่มีส่วนสำคัญต่อการแก้ปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับลาวและกัมพูชา ส่งผลข้าราชการจำนวนหนึ่งแต่งชุดดำ เรื่องที่เกิดขึ้นได้สร้างความไม่พอใจต่อท่านรัฐมนตรีจึงเรียกปลัดกระทรวงเข้าพบ แล้วพูดว่าอยากจะไปเป็นทูตที่ประเทศไหน ซึ่งปลัดกระทรวงตอบไปว่าไปไหนก็ได้

ปัญหาดังกล่าวไม่ได้จบแค่นั้นเมื่อท่านรัฐมนตรีได้กดดันให้กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่เจรจาปัญหาเขาพระวิหาร ใช้อำนาจต่อรองกับกัมพูชา โดยนำเอาประเด็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลมาใช้เป็นข้อแลกเปลี่ยน ในลักษณะที่จะสร้างความเสียเปรียบแก่ฝ่ายไทย เนื่องจากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลหากพิจารณาตามกฏหมายว่าด้วยเรื่องเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางทะเล 200 ไมล์ทะเล ฝ่ายไทยสามารถคอบครองพื้นที่ได้ร้อย 70 (มีน้ำมันและกาซจำนวนมาก) แต่ท่านรัฐมนตรีต้องการเปลี่ยนการถือครองมาเป็นฝ่ายละ 50 เพื่อแลกเปลี่ยนกับการแก้ไขปัญหาพิพาทเขาพระวิหาร

แม้ว่าการทำหน้าที่ของท่านรัฐมนตรียังตอบไม่ได้ว่าทำไปเพื่อประโยชน์ของบุคคลใด แต่หากพิจารณาความตั้งใจ ความมุ่งมั่น แล้วคงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่มาก ผิดกับการทำหน้าที่ของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ โดยเฉพาะท่านอธิดีและปลัดกระทรวง ได้ทำหน้าที่อย่างมืออาชีพที่เห็นประโยชน์ของประเทศมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวจนเป็นที่ยอมรับของข้าราชการในกระทรวงแม้ว่าสังคมภายนอกจะไม่เห็นความตั้งใจจริงแต่ความขัดแย้งที่ปรากฏทำให้เห็นความจริงมากขึ้น

การทำหน้าที่ของข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้โดดเดี่ยวเสียทีเดียวเพราะเป็นการทำหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ(National Interest) ซึ่งเป็นบทบาทเดียวกับทหาร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีพันธมิตรที่มีกำลังในการต่อสู้อย่างไม่โดดเดียวเสียทีเดียว
การย้ายข้าราชการในครั้งนี้ในกระทรวงการต่างประเทศเกิดคำถามมากมายว่ามีสาเหตุมาจากอะไร แต่สิ่งหนึ่งทำให้เห็นว่าข้าราชการที่ไม่ตอบสนองความต้องการฝ่ายการเมืองกำลังจะเป็นเป้าหมายในการโยกย้ายและฝ่ายการเมืองจะทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้มีอุปสรรคในการขัดผลประโยชน์ของตน

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ยุทธศาสตร์การครอบงำประเทศของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทย

ยุทธศาสตร์การครบงำประเทศของรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทย

นับตั้งแต่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เข้ามาบริหารประเทศเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน สามารถทำให้เห็นยุทธศาสตร์ที่ลอกเลียนแบบมาเพื่อสร้างอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จในการบริหารประเทศเหมือนรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคไทยรักไทยในอดีต ดังนั้นลองกลับไปทบทวยุทธศาสตร์ทางการเมืองของพรรคไทยรักไทย เพื่อให้เห็นถึงภาพสะท้อนที่เกิดขึ้น ซึ่งยังมีความต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
สำหรับ ยุทธศาสตร์ในการคุมอำนาจการบริหารประเทศของพรรคไทยรักไทยคือการใช้ความได้เปรียบทางการเมืองในการคุมอำนาจภาคเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารประเทศมีความต่อเนื่อง แต่นัยทางการเมืองก็คือ ความต่อเนื่องของพรรคไทยรักไทยที่จะเข้ามาบริหารประเทศในทุกสมัยแม้ว่าจะยุบพรรค

ด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลโดยพรรคไทยรักไทยได้ผลักดันนโยบายและกฎหมายที่ส่งผลต่อธุรกิจ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนที่มีความใกล้ชิดและให้การสนับสนุนพรรคไทยรักไทย รวมทั้งการส่งบุคคลที่มีความใกล้ชิดหรือตัวแทนของกลุ่มทุนเข้าไปคุมอำนาจหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของภาครัฐ เพื่อผลักดันนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อพวกพ้อง เพื่อตอบแทนกลุ่มทุนที่ให้ความช่วยเหลือทางการเมือง ที่สำคัญการใช้นโยบายทางด้านการคลังโดยภาครัฐกระจายงบประมาณลงพื้นที่ผ่านนโยบายประชานิยม แม้จะทำให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น แต่ก็ทำให้การประกอบการของกลุ่มทุนที่สนับสนุนพรรคไทยรักไทยดีขึ้นไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วนัยของการใช้นโยบายทางการคลังของรัฐบาลเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงผู้ถือเงินจากรัฐบาลผ่านประชาชนไปยังกลุ่มทุนเท่านั้น

ด้านสังคม รัฐบาลได้ใช้ระบบอุปถัมภ์ (Patron-Client) สร้างความนิยมในหมู่ประชาชน โดยการผลักดันนโยบายที่สร้างความอยู่ดีกินดีให้กับประชาชนหรือคนยากจนที่มีจำนวนมากถึงร้อยละ 90 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ เนื่องจากเห็นว่าประชาชนเหล่านี้เป็นฐานเสียงในการเลือกตั้ง แต่นโยบายที่รัฐบาลผลักดันออกมานั้นได้สร้างนิสัยให้ราษฎรเป็นผู้ถูกอุปภัมภ์ที่รอคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีความคิดในการพึ่งพาตนเอง

ด้านการเมือง รัฐบาลได้ใช้อำนาจรัฐสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่ใช้ความรุนแรงและขัดต่อกฎหมายในการตรวจสอบเพื่อลดบทบาทฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล ได้แก่ องค์กรพัฒนาเอกชน (Non-Government Organization) สื่อมวลชน (Media) และฝ่ายค้าน ผ่านนโยบายการปราบปรามยาเสพติด นโยบายปราบปรามการทุจริต และนโยบายปราบปรามผู้มีอิทธิพล ดังนั้นการใช้อำนาจรัฐที่ไม่คำนึงถึงความถูกต้องหรือขัดแย้งกับความรู้สึกของประชาชนจึงส่งผลให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลมีลักษณะเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalistarianism)

อย่างไรก็ตาม การคุมอำนาจการบริหารประเทศจะทำให้พรรคไทยรักไทยสามารถเป็นรัฐบาลได้นานขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่นเดียวกับการบริหารประเทศที่มีความต่อเนื่อง แต่ผลกระทบที่ตามมาที่ทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลตกต่ำนับตั้งแต่เข้ามาบริหารประเทศก็คือการทุจริตที่เกิดขึ้นจากการบริหารงานซึ่งมีการเปิดเผยอยู่ตลอดเวลา ทั้งที่รัฐบาลได้ประกาศนโยบายปราบปรามการทุจริต ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลครองเสียงข้างมากในรัฐสภา ที่สำคัญเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่ายรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้อง รัฐบาลมักจะเลือกปฏิบัติไม่เข้าไปตรวจสอบ หรือหากมีการตรวจสอบการทุจริตก็เป็นในลักษณะตอบโต้หรือทำลายภาพลักษณ์ฝ่ายค้านที่นำกรณีการทุจริตที่มีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฝ่ายรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้องมาเปิดเผยต่อสาธารณชน ดังนั้นนโยบายปราบปรามการทุจริตจึงไม่มีความคืบหน้าและทำให้รูปแบบการทุจริตมีการพัฒนาเป็นการทุจริตเชิงนโยบายหรือแบบบูรณาการ ด้วยเหตุนี้หน่วยงานจัดอันดับการทุจริตต่างประเทศ คือ องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ หรือ Transparency International (TI) ได้จัดอันดับให้ไทยมีความโปร่งใสต่ำลงโดยลดจากลำดับที่ 60 และ 61 ในปี 2543 และ 2544 มาอยู่ลำดับที่ 64 จากจำนวน 102 ประเทศที่มีการสำรวจในปี 2545


-

การพัฒนาประชาธิปไตยกับการต่อสู้ของชนชั้นทางการเมืองในไทย

  1. การพัฒนาประชาธิปไตยกับการต่อสู้ของชนชั้นทางการเมืองในไทย

    ปัญหาความไม่สงบของบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ในลักษณะของการเผชิญหน้าและแบ่งเป็นฝักฝ่าย ในทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์แล้วมีคำตอบในทางทฤษฎีมากมายที่จะให้คำตอบได้ว่าทำไมในขณะที่ประเทศชาติพัฒนาเป็นประชาธิปไตย แต่ทำไมไม่เป็นไปตามกรอบของแนวคิดของตะวันตก ที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างทางอารยประเทศ ทั้งนี้การทำความเข้าใจถึงความเป็นจริงและข้อเท็จจริงต้องย้อนกลับไปพิจารณาถึงจุดเริ่มต้นของที่มาที่ไปของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย

    หากพิจารณาต้นกำเนิดของสายธารประธิปไตยในประเทศไทยไม่ได้มาจากของเรียกร้องจากประชาชนโดยส่วนใหญ่ของประเทศ แต่มาจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ คือ ทหาร นักกฎหมาย ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในปี 2475 การเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นเป็นการเปลี่ยนเชิงโครงสร้างมากว่า การเปลี่ยนระบบความคิดที่จะมีส่วนสนับสนุนให้เกิดประชาธิปไตย หรือ จะเปรียบเทียบให้ชัดคือ เอาเสื้อกันหนาวมาให้ประชาชนใส่ในช่วงหน้าร้อน

    แม้ว่าประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่จะให้และเปิดโอกาสให้เกิดความเท่าเทียมกันของผู้คนในสังคม แต่ในความเป็นจริงยังมีอุปสรรคหรือปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาระบบประชาธิปไตยไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ประกอบด้วย การช่วงชิงการนำทางการเมืองเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ระหว่างผู้นำทางการเมืองเป็นกระแสหลักในระบบการเมืองไทยมากกว่าที่จะเน้นหนักต่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนต่อประชาธิปไตย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่เอื้อต่อการสนับสนุนการพัฒนาประชิปไตย ระบบการศึกษาที่เน้นการท่องจำมากกว่าการคิดและการใช้เหตุผล จิตสำนึกของการเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ถูกปลูกฝังในหมู่ของประชาชนและประชาชนแท้จริงไม่ได้มีส่วนร่วมในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมากนักตลอดระยะเวลา เพราะเป็นเพียงฐานของอำนาจให้กับนักการเมืองหรือผู้นำทางการเมือง ซึ่งจะใช้เป็นข้ออ้างสร้างความชอบธรรมแก่ชนชั้นนำเหล่านั้นมากกว่า

    สำหรับสถานการณ์ของการต่อสู้ทางการเมืองในปัจจุบันสะท้อนให้เห็นถึงนัยที่บ่งบอกถึงความมั่นคงของประเทศ ที่ค่อนข้างจะเปราะบาง เนื่องจาก
    ประการแรก ไม่ชนชั้นใดสามารถจะครอบงำทางความคิดของประชาชนในประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จเหมือนก่อน หลายคนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างอิสระแม้กระทั่งสิ่งที่ไม่ควรพาดพิง
    ประการที่สอง ไม่มีชนชั้นนำสามารถผูกขาดอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเหมือนแต่ก่อน ด้วยเหตนี้ย่อมเกิดการกระทบกระทั่งและต่อสู่ในทุกรูปแบบทุกวิธีเพื่อเอาชนะทางการเมือง
    ประการที่สาม ประชาชนบางส่วนกลายเป็นเครื่องมือของการต่อสู้ครั้งนี้ แต่เสียงของประชาชนส่วนใหญ่ยังอำนาจเงียบที่มีความหมายต่ออนาคตของประเทศหากมีการแสดงพลังและเคลื่อนอย่างบริสุทธิ์ใจที่ต้องการเห็นประเทศชาติดีขึ้น
    ประการที่สี่ แนวโน้มการต่อสูจนถึงขั้นการปะทะมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงในสภาวะเศรษฐกิจกำลังประสบกับภาวะสินค้าในการอุปโภคบริโภคปรับราคาอย่างต่อเนื่อง และการดำเนินนโยบายของรัฐบาลเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนมากกว่า
    ประการที่ห้า แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งในครั้งนี้จะเกิดขึ้นได้ยากเพราะต่างฝ่ายไม่ยอมถอยและเห็นต่อประเทศชาติและยังดำเนินการต่อสู้ทุกรูปแบบทั้งในระบบและนอกระบบ รวมทั้งยังมีความพยายามดึงสถาบันเข้ามาเกี่ยวของส่งผลให้เกิดภาพของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นที่ชัดเจนมากขึ้น
    ประการที่หก การนำประเด็นของสถาบันมาแอบอ้าง(จริงหรือไม่)โจมตีน่าจะทำให้การต่อสู้ทางการเมืองครั้งนี้ ขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น โดยเฉพาะพลังเงียบของประชาชนชั้นกลางที่มีความคิดสมัยใหม่แบบทุนนิยมที่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษบกิจยุครัฐบาลเสียงข้ามมากและต่อต้านสถาบันโดยไม่แสดงออกอาจะแสดงความไม่พอใจและสนับสนุนการต่อทางการเมืองมากขึ้น(มีต่อ)