วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ยุคมืด ยุคการก่อกวนและยุคของความล้มเหลวของรัฐไทย


ยุคมืดยุคการก่อกวนและยุคของความล้มเหลวของรัฐไทย
ไม่ว่าสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้จะอยู่ในโหมดของการปรองดอง สมานฉันท์ของฝ่ายการเมืองทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน ซึ่งดูเหมือนว่าหลายฝ่ายจะปักใจเชื่อว่าเป็นการสร้างสภาพของความปรองดอง มากกว่าความจริงใจของฝ่ายการเมือง แต่สิ่งหนึ่งที่สังคมกำลังละเลยและควรให้ความสนใจอย่างมาก เนื่องจะส่งผลกระทบต่อความเรียบร้อยและความสงบในบ้านเมืองรวมทั้งชีวิตความแนอยู่ของตนเอง ก็คือว่า การใช้อำนาจเหนือกฏหมายของกลุ่มที่ไม่หวังดี ในรูปแบบใต้ดิน โดยการก่อกวน การลอบวางระเบิด ที่จะมีมากขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคงยังไม่สามารถทำความกระจ่าง หรือ หาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้อย่างเป็นรูปธรรมเนื่องจากผู้ที่ก่อเหตุส่วนใหญ่หรือการก่อกวนเกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจ หรือ เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ใช้อำนาจตามกฏหมายหรืออำนาจในการปกครองโดยตรง หรือผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ของการต่อสู้ในทางการเมือง

การลอบวางระเบิดหลายครั้งที่ผ่านมามักจะมีสาเหตุจากการเมืองที่ต้องการดิสเครดิตฝ่ายรัฐ หรือ การสร้างอำนาจต่อรองเพื่อวัตถุกระสงค์แอบแฝง รวมทั้งยังมีกลุ่มที่สูญเสียผลประโยชน์ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ทางการเมือง หรือ ขัดแย้งผลประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง รวมทั้งความไม่พอใจของผู้ที่ผิดหวังจาการแต่งตั้งทหาร ตำรวจ ก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งเนื่องจากในวงการทหาร ตำรวจ มีการเกี่ยวพันกับการต่อสู้ทางการเมืองค่อนข้างมาก จึงอาจฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ซ้ำเติมประเทศชาติโดยมองเห็นผลประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก
ด้วยเหตุนี้ การสร้างสถานการณ์จึงมีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เป็นข่าวหรือไม่เป็นข่าวหรือที่เปิดเผยต่อสาธารณชน การสร้างสถานการณ์ที่เป็นข่าวและเปิดเผยต่อสาธารณชน เช่น การลอบวางระเบิดแสวงเครื่องในห้วงที่ผ่านมาจำนวน 3 จุด ระเบิด 4 ลูกในกรุงเทพมหารนครและนนทบุรี การวางระเบิดพรรคการเมือง การลอบวางระเบิดและการยิงใส่โรงแรมที่ซอยรางน้ำ การขู่วางระเบิดบนเครื่องบินการบินไทย การใช้อาวุธสงครามยิงใส่ค่ายทหารในจังหวัดเชียงใหม่ และการลอบยิงใส่ค่ายทหารอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนพื้นที่นอกกรุงเทพมหานคร เริ่มปรากฏการลอบยิงนักการเมือง หัวคะแนนบางแล้ว ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าการแข่งขันทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งจะมีความรุนแรง
ในกรณีที่ไม่เป็นข่าวเช่น การลอบวางระเบิดทีสถานีรถไฟหัวลำโพง การขู่ว่าจะมีการลอบวางระเบิดเครื่องบินแอร์เอเชีย เป็นต้น เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของบรรยากาศทางการเมืองที่เกิดขึ้นซึ่งไม่มีท่าที่จะลดความขัดแย้งได้เลยและมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงมากขึ้น จะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้มีการก่อกวนและการก่อเหตุร้าย จะมากขึ้นในห้วงต่อไป
โดยสรุปแล้วสถานการณ์ความมั่นคงของประเทศในห้วงต่อไปจะอยู่ในห้วงการก่อความไม่สงบที่ไม่มีความแตกต่างจากการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีสาเหตุที่หลากหลายทั้งมีสาเหตุจากกลุ่มก่อความไม่สงบร้อยละ 50-70 ส่วนที่เหลือ มีสาเหตุจากความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งส่วนตัว ความขัดแย้งด้านยาเสพติด กล่าวคือ การก่อกวนหรือการก่อเหตุร้ายด้วยรูปแบบอะไรก็ตามในกรุงเทพมหานคร มีสาเหตุที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งเหมือนกับการจำลองสถานการณ์ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาไว้ที่กรุงเทพมหานคร แต่ยังไม่มีสัญญาณว่ากลุ่มก่อความไม่สงบจะเข้ามาก่อเหตุในกรุงเทพมหานคร ซึ่งหากเป็นจริงฝ่ายรัฐคงต้องเผชิญคูต่อสู้ที่รอบด้าน
ด้วยเหตุนี้สภาพของประเทศไทยที่กำลังเกิดขึ้น โดยมีการก่อกวนในพื้นที่เขตเมืองและนอกศูนย์กลางอำนาจรัฐ กำลังทำให้ประเทศไทยอยู่ในเส้นทางของความเป็นรัฐที่ล้มเหลวหรือ Failed-state เนื่องจากการบังคับใช้กฏหมาย กลไกของรัฐไม่มีประสิทธิภาพ และความขัดแย้งของประชาชนทำให้ประเทศไม่มีเอกภาพเหมือนเดิม ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอยู่ในขั้นของความขัดแย้งซึ่งเรียกว่า Crisis State โดยผ่านสถานการณ์ที่เรียกว่า Fragile State มาแล้ว เช่นการต่อสู้ของเสื้อหลากสี่ หวังว่าหากผู้มีอำนาจทั้งพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน ทหาร ตำรวจ รวมทั้งประชาชน หากยังไม่สำนึกและให้ความสำคัญต่อประเทศชาติเป็นอันดับแรกแล้ว คาดว่าประเทศไทยในอนาคตคงจะมีกองกำลังสหประชาชาติเข้ามาดูแลประเทศให้มีความสงบไม่แตกต่างจากประเทศในแอฟริกาใต้ เช่น ซูดาน

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Strategic Map of Government ‘s Movement

Strategic Map of Government ‘s Movement
1.Actor: Government
2.Ways : Discourse
1.Making Binary of Opposition
2.Reducing the the Legitimacy of Redshirt ‘ s Movement
3.Building the Legitimacy to Government to use law enforcement
3.Channel :Political Communication Instruments
1.Government Media
2.Non-Government Media
3.Reducing the communication of redshirt station
4.How to make the Strategic Operational Planning
1. Making population support and atmosphere of peace=target Bangkokian support and
2. Using law enforcement
3. Expressing the truth to international community
4. Using special measures:open and close operation
-Leader
-Fund
-Forces
5. Dividing mass from redshirt
. 4. Contain Redshirt ‘Movement
5. Area Approach: to contain the activity of politician that support red shirt
-North
-North-east
-------------------------------------

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สงครามกลางเมืองเมื่อ 19 พฤษภาคม 2553 มีสาเหตุจากนักการเมือง

สถานการณ์ทางการเมืองมีสาเหตุจากนักการเมือง

สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยในวันนี้ สาเหตุมาจากนักการเมืองซึ่งทำให้ระบบการเมืองล้มเหลว และถูกบิดเบือนจนทำให้โครงสร้างของประเทศล้มเหลว ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งที่ไม่มีทางออกเพราะกลไกของรัฐไม่สามารถตอบสนองได้แล้ว เหตุการณ์เมื่อ 19 พ.ค.53 ไม่ได้มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งที่เห็น แต่สาเหตุที่แท้จริงมาจากผลพวงของประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ที่ไม่มีการแก้ไข ทั้งระบบการศึกษา ค่านิยม คุณธรรม เนื่องจากหลังสถานการณ์สงบลงผู้นำหรือผู้ปกครองปล่อยให้สถานการณ์สงบแต่ไม่ได้แก้ไขต้นเหตุของปัญหา คือ ความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม ซึ่งถูกใช่เป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมืองมาตลอดแต่ที่ชัดเจน คือ อดีตนายกได้นำไปใช้ในการหาเสียงและสร้างเครือข่ายในการต่อสู้ ด้วยการให้ความหวังเพื่อให้มวลชนโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคเหนือซึ่งมีความแตกต่างในด้านฐานะทางเศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการเมือง ซึ่งเริ่มปรากฏชัดว่าเริ่มแบ่งแยกพื้นที่เพื่อสถาปนาพื้นที่ในปลอดอำนาจรัฐจากส่วนกลางแล้ว การเคลื่อนไหวดังกล่าวคาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น

ความขัดแย้งของรัฐบาลกับกลุ่มคนเสื้อแดง จึงเป็นเพียงปรากฏการณ์บางส่วนของความขัดแย้ง ด้วยเหตุนี้ ความขัด ซึ่งเกิดความขัดแย้งทั้งในระดับเครือข่ายผู้นำในทุกระดับประชาชน เจ้าหน้าที่ และในระดับพื้นที่ซึ่งกำลังขยายครอบคลุมในทุกจังหวัดที่เป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยและโรงเรียน นปช.ได้ขยายความขัดแย้งมากขึ้นเป็นการก่อความไม่สงบแบบสงครามการเมืองเต็มรูปแบบ เนื่องจากความเคลื่อนไหวทางการเมืองในปัจจุบันนี้ มีแกนนำ มีมวลชน มีกองกำลัง เทียบกับกลุ่มก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร เนื่องจากการต่อสู้ในทางการเมืองในครั้งนี้เป็นการขัดแย้งที่มีความซับซ้อน(Deep- Diversity Conflict) ในหลายรูปแบบ แต่สะท้อนความเป็นจริงที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เมื่อไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยการเมืองได้การใช้อำนาจเถื่อนหรือการใช้วิธีใต้ดิน จะถูกนำมาใช้ เพื่อสร้างอำนาจต่อรองหรือการเอาชนะฝ่ายตรงข้าม ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาการใชวิธีดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง หรือ การเปลี่ยนผู้นำหรืออาจควบคู่กันไป
การต่อสู้ที่มีความหลากหลายในทางการเมืองในครั้งนี้ ประกอบด้วย ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นปกครอง ความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองกับนักการเมือง ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งฝ่ายความมั่นคง ทหารกับทหาร ตำรวจกับตำรวจ ที่สำคัญมีความพยายามที่ทำให้เป็นการขัดแย้งระหว่างประชาชนกับประชาชน หรือ ความขัดแย้งระหว่างชนบทกับเมือง เมื่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีหลายชั้นหลายแนวทำให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทวีความรุนแรงมากขึ้นและเท่าทันเกมส์ เนื่องจากในแต่ละหน่วยงานจะมีผู้ฝักฝ่ายในแต่และกลุ่มจะส่งต่อข้อมูลความเคลื่อนไหวของแต่ละฝ่ายให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง

ส่วนในระดับพื้นที่ในการต่อสู่ครั้งนี้มีความชัดเจนว่ามีเครือข่ายนักการเมือง เป็นแกนนำหลักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แบ่งแยกทั้งด้านความคิดเพื่อสร้างมวลชนใช้เป็นเครืองมือในการขับเคลื่อนต่อสู้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือวัตถุประสงค์ที่มากกว่านั้น ลักษณะของมวลชนประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่าย ทั้งหัวคะแนนนักการเมือง ประกอบกับการจัดตั้งมวลชนผ่านโรงเรียน นปช.เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งต่อเครือข่ายและโครงสร้างของกลุ่ม นปช.มากขึ้น พร้อมกับได้รับการสนับสนุนจากผู้ที่อยู่เบื้องหลังจากต่างประเทศ

ยุทธวิธีของกลุ่มกองกำลังของคนเสื้อแดงในการสร้างสถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเมื่อ 19 พ.ค.2553 ทั้งการวางเพลิงสถานที่ การยิงใส่สถานที่ การขัดขวางการดับเพลิง เป็นความตั้งใจและมีเป้าประสงค์ที่จะทำให้เกิดภาพความรุนแรงที่รัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ หรือเป็นรัฐที่ล้มเหลว แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ สงครามการเมืองได้ก่อตัวขึ้นแล้ว
ส่วนฝ่ายรัฐบาลซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐเป็นคู่ขัดแย้งกับเครือข่ายอดีตผู้นำ ซึ่งรับช่วงต่อมาจากฝ่ายทหารที่ต้องการลดอิทธิพลของอดีตผู้นำ วิธีการต่อสู้ของฝ่ายรัฐบาลจะขับเคลื่อนใน 2 ระดับ คือ ประการแรก คือการสร้างวาทกรรมสร้างความชอบธรรมในการใช้อำนาจเช่นการกระชับวงล้อม ประการที่สอง คือ การสร้างวาทกรรมการการก่อการ้ายต่อแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ทั้งสองประการจะดำเนินการด้วยปฏิบัติการจิตวิทยาในรูปแบบต่าง

สถานการณ์ความขัดแย้งในครั้งนี้ คงไม่มีทางออกที่ทำให้ปัญหาจบลงในทันที หริอ อย่างเบ็ดเสร็จ แม้ว่าฝ่ายแกนนำเสื้อแดงจะประกาศยุติการชุมนุม เนื่องจากยังมีเครือข่ายของฝ่ายเสื้อแดงอีกจำนวนมากคือ ตำรวจ ทหารบางกลุ่ม นักการเมือง กองกำลังใต้ดิน อันธพาล นักเลง เครือข่ายหัวคะแนนของนักการเมือง รวมทั้งผู้สนับสนุนที่ไม่เปิดเผยและที่สำคัญผู้ที่อยู่เบื้องหลังที่แท้จริงยังไม่มีท่าทีประนีประนอมและมีเตรียมความพร้อมที่จะต่อสู้ในขั้นต่อไปคือการใช้เวทีต่างประเทศกดดันประเทศไทยด้วยการว่าจ้างทนายต่างมาแก้ต่างและเป็นตัวขับเคลื่อนให้ปัญหาในประเทศเป็นที่สนใจในต่างประเทศ โดยจะหยิบยกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลในทางลบเช่นรัฐบาลกระทำสังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มนิยมความรุนแรงที่มีการวางเพลิงธนาคารห้างร้านเพื่อทำให้การขับเคลื่อนของภาคธุรกิจหยุดชะงักและการเผาศาลากลางเพื่อต่อต้านการปกครองของรัฐบาลปัจจุบัน รวมทั้งการเผาสถานที่บางส่วนเป็นของทรัพย์สินส่วนมหากษัตรยิ์สะท้อนว่าการต่อสู้ในเชิงสัญญาลักษณ์จะเป็นตัวขับเคลื่อนในการต่อสู้ของกลุ่มคนเสื้อแดงต่อไป ด้วยเหตุนี้การยุติในครั้งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครั้งใหญ่ที่ประเทศไทยต้องเผชิญ

แนวโน้มสถานการณ์
สถานการณ์ในห้วงต่อไป ในด้านของเป้าหมาย เนื่องจากผู้ที่ควบคุมอำนารัฐมาจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นเป้าหมาย เครือข่ายธรกิจที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับพล.อ.เปรม วิธีการก่อเหตุ จากการจลาจลก่อกวนเผาสถานที่แล้วจะนำการก่อการร้ายทั้งการลอบวางระเบิดสถานที่บุคคลที่เป็นฝ่ายตรงข้าม การลอบสังการลอบยิงเป้าหมายบุคคล

ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ มีแนวโน้มว่าต่างประเทศจะเข้าแทรกแซง เนื่องจากมีสิ่งบอกเหตุเริ่มเห็นชัด 1.จากการเคลื่อนไหวของอดีตนายกรัฐมนตรี ที่จ้างทนายความที่มีขีดความสามารถในการแก้ต่างและสร้างกระแสในต่างประเทศ 2.การเปลี่ยนแปลงแกนนำในการต่อสู้จาก 3 เกลอมาเป็นการขับเคลื่อนด้วยอดีตฝ่ายซ้ายเก่าคาดว่าการวางแผนในการต่อสู้จะเน้นการสร้างมวลชน การยึดพื้นที่เพื่อใช้เป็นฐานในการต่อสู้ รวมทั้งการใช้แนวทางการปิดล้อม โดยเฉพาะชนบทล้อมเมือง การทำให้อำนาจรัฐอ่อนแอโดยการจลาจลการก่อกวน การวางเพลิงโรงเรียน การลอบวางระเบิด การลอบยิงเป้าหมายบุคคลฝ่ายตรงข้าม 3.การต่อสู้ในเชิงความคิดโดยการส่งต่อไปยังมวลชนจะมีมากขึ้นโดยผ่านสื่อทุกรูปแบบ โดยเฉพาะใต้ดินหรือการส่งต่อข้อมูลที่บิดเบือนแบบปากต่อปาก 4.การทำให้เห็นว่าสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในประเทศส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในระดับภูมิภาคหรือระดับโลก เพื่อให้องค์กรต่างประเทศเข้าแทรกแซง

แนวทางในการแก้ไขปัญหา
การแก้ไขปัญหาของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นที่ได้ผล จึงไม่สามารถทำได้ด้วยการเมือง การใช้กำลัง แต่ต้องรวมกันแก้ไขของทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อผลักดันให้เกิดสัญญาประชาคม(Social Contact ) เนื่องจากที่ผ่านมาไม่เกิดมีสัญญาประชาคมที่แท้จริงในไทย เพราะที่ผ่านมาเป็นการหยิบยืนจากชั้นปกครองมากว่าจิตสำนึกที่เกิดขึ้นเองของประชาชนระดับล่าง


------------------------------------