วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551

เกมส์การเมืองกับความสูญเสียอำนาจอธิปไตยในจังหวัดชายแดนภาคใต้

เกมส์การเมืองกับความสูญเสียอธิปไตยในจังหวัดชายแดนภาคใต้

  • นับตั้งตั่งรัฐบาลภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวชเข้าบริหารบ้านเมืองเป็นเวลา เดือน ยังไม่มีผลงานเป็นที่เด็นชัดมากเท่าที่หลายคนได้ตั้งความหวังไว้ โดยเฉพาะปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนโยบายที่จะสร้างความเชื่อมันกับประชาชนในประเทศได้ว่าประเทศไทยจะไม่เสียดินแดนในรัฐบาลชุดนี้

  • ความไม่มั่นใจมาจากเกมส์การเมืองที่มีตัวแสดงสำคัญเป็น ผู้บริหารประเทศ ข้าราชการทหาร นักการเมืองมุสลิม ....กลุ่มก่อความไม่สงบ ที่ต่างต้องการเอาชนะซึ่งกันและกัน รวมทั้งต้องปกป้องสถานะของตันเอง โดยใช้สนามรบในภาคใต้เป็นการต่อสู้ ..หลายคนอาจจะไม่เข้าใจจากสมมติฐานข้างต้น แต่จะอธิบายให้เห็นถึงภาพด้านลึก(Deep Picture)ดังนี้

  • นักการเมืองที่ไม่ชอบทหาร เพราะในอดีตที่ผ่านมาปี 2535 ต้องหนีไปต่างประเทศก็เนื่องจากทหาร จึงมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อทหาร และเมื่อมาดำรงตำแหน่ง รมว.มท จึงต้องการเข้ามามีบทบาทต่อการแก้ไขปัญหความไม่สงบในภาคใต้ ดังจะเห็นจากการนำเสนอความคิดในการแก้ไขปัญหามาตลอด ...จากคำสัมภาษณ์ว่า...นายกรัฐมนตรีไม่มอบอำนาจในการดูแลภาคใต้เสียที่.....และยังพยายามผลักดันให้นายแพทย์ท่านหนึ่งมาเป็นรัฐมนตรีช่วยมหาดไทย เพื่อคุมการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งบุคคลท่านนี้พยายามสร้างบทบาทการเป็นผู้นำในท้องที่และอดีตเคยเป็นผู้ต้องหาคดีเจไอ แต่ก็ถูกโจมตีจากสื่อ และในความจริงแล้วแม้ว่าภาพของบุคคลผู้นี้จะนิ่ง แต่ก็เคลื่อนไหวในทางลับในการที่จะผลักดันทหารออกนอกพื้นที่ รวมทั้งยังใช้อำนาจบริหารราชการอย่างเงียบๆในการแกไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ โดยเฉพาะส่งตัวแทนไปเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ.....ในขณะที่พยายามสร้างบทบาทต่อสาธารณชนหากมีอำนาจจะเน้นการแก้ไขด้วยวิธีการเจรจา ปัญหาที่อาจตามมาได้หากรัฐมนตรีท่านนี้เชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเหล่านี้ หรือ หากต้องการเอาชนะในเกมส์การเมืองโดยขาดซึ่งสติแล้ว อาจจะนำมาสู่ผลกระทบที่รุนแรงในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบจนถึงขั้นการเสียดินแดนก็เป็นได้

  • กลุ่มนักการเมืองมุสลิมที่ต้องการอำนาจ ที่เคยมีบทบาทมากในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มนักการเมืองกลุ่มนี้ในความรู้สึกลึกยังต้องการกลับมาเป็นผู้นำในพื้นที่ แต่ด้วยเหตุที่การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผ่านมาได้สร้างความเกลียดชังต่อชาวมุสลิมเพราะอยู่ตรงกลางระหว่างชาวมุสลิม กลุ่มก่อความไม่สงบ รัฐบาล ส่งผลให้ไม่สามารถทำอะไรได้อย่างเต็มที่ ภาพลักษณทีปรากฏต่อสาธารณชนจึงถูกมองว่าไม่มีความจริงใจ อย่างไรก็ตาม ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีกับนายทหารท่านหนึ่งและอดีต นรม.ที่เคยเสนอแนวความคิดดอกไม้หลากสีและเขตปกครองพิเศษ และเป็นที่นับถือของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ส่งผลให้กลายเป็นบุคคลที่สามารถเสนอคำที่ปรึกษาต่อรัฐมนตรีท่านนี้ได้ไม่มากก็น้อยแต่อย่างน้อย ก็สามารถเป็นตัวแทนไปเจรจา
  • นอกจากนี้กลุ่มบุคคลนี้ยังมีความใกล้ชิดกับผู้บริหารพรรคPAS ที่ให้การสนับสนุนกลุ่มก่อความไม่สงบอีกด้วย ลองพิจารณาดูแล้วกันว่าความเคลื่อนไหวในครั้งนี้เราจะได้หรือเสียผลประโยชน์ เพราะการเจรจามีปัจจัยในหลายด้านด้วยกัน คือ เราตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ สถานการณ์ไม่สามารถควบคุมได้ ต่างชาติเข้าแทรกแซง ความรุนแรงขยายพื้นที่ที่จากจุดความขัดแย้ง แต่สถานการณ์ยังคงควบคุมได้ แล้วจะช่วยเจรจาไปทำไม ถ้าหากไม่เป็นการผลักกดันเพื่อให้ดินแดนนี้เป็น Local State แยกตัวออกมาจากรัฐไทย ก็เพื่อกลุ่มของตนเองจะกลายเป็นผู้ปกครองรัฐบาลในพื้นที่ อย่างน้อย 3 รัฐบาลใน 3 จังหวัด
  • ทหาร ในมุมมองด้านความมั่นคงแล้วทหารจะเป็นตัวแสดงหลักในการรัษาอธิปไตยของชาติ แต่ต้องมีไหวพริบตามเกมส์การเมืองให้ทัน โดยเฉพาะฝ่ายเสนาธิการ ซึ่งเป็นมันสมองของกองทัพ ในเกมส์การเมืองครั้งนี้ ทหารยังพอทันอยู่ ดังจากการลงพื้นที่ของ ผบ.ทบ.อย่างต่อเนื่อง และมีอำนาจเต็มเมื่อ นรม.มองอำนาจการดูแล กอ.รมน. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ รวมทั้งยังคุม ศอ.บต. สังกัดมหาดไทย ทั้งนี้ในเรื่องของงบประมาณที่ใช้ในการบริหารต้องผ่านการพิจารณาของหน่วยงานเหล่านี้ ดังนั้นจึงเป็นอุปสรรคต่อรัฐมนตรีท่านนี้ที่ต้องการมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้

  • อีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าทหารยังมีสมองก็คือ การมีแผนจัดตั้ง new military bases and training camp ใน จังหวัด คือ สงขลา 1 แห่ง นราธิวาส 2 แห่ง ภายในปี 2009 เป็นผู้เสนอ เมื่อ 27 มีนาคม 2551 แม้ว่าหลายฝ่ายจะเห็นว่าเป็นเพียงนโยบายธรรมดา แต่ก็มีความสำคัญในแง่กลยุทธ์ของฝ่ายทหารว่า ดินแดนนี้.....ยังมีความมั่นคง และทหารจะไม่ถอนกองกำลังออกนอกพื้นที่ แม้ว่าการเจรจาต้องการให้ทหารออกนอกพื้นที่ก็ตาม (โปรดติดตามในตอนต่อไป)

ไม่มีความคิดเห็น: