วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551

ทางเลือกที่สามที่จะสามารถยุติความขัดแย้งทางการเมืองในไทย

  • ทางเลือกที่สามที่จะสามารถยุติความขัดแย้งในไทย

    ปัญหาหนึ่งที่หน่วยงานความมั่นคงต่างๆเห็นว่าต้องรีบแก้ไข คือการแตกความสามัคคีของคนภายในชาติซึ่งเริ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งเป็นผลจากการแข่งขันในการช่วงชิงอำนาจระหว่างผู้นำทางการเมือง(Political Elite) จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มรักทักษิณ กับ กลุ่มต่อต้าน หรือเป็นการต่อสู้ระหว่างนักธุรกิจที่เห็นว่าข้าราชการที่อิงกับสถาบัน หรือ ทุนนิยมกับศีลธรรม โดยระดับของความขัดแย้งอาจกล่าวได้ว่ามีการพัฒนาไปในทางที่ไม่สามารถจะรอมชอมกันได้ และ ยังทวีความรุ่นแรงมากขึ้นในสภาวะที่โครงสร้างทางสังคมในประเทศไม่มีพื้นฐานของความรักชาติและทางสายกลางซึ่งเป็นคำสอนของศาสนาพุทธรองรับแม้แต่น้อยในขณะที่ประชาชนส่วนใหญานับถือศาสนาพุทธ

    การจัดภาระกิจเบื้องต้นของหน่วยงานความมั่นคงดูเหมือนว่าหน่วยงานด้านความมั่นคงยังไม่มีความเข้าใจสถานะของตนเองมากนัก เพราะในฐานะฝ่ายข้าราชการซึ่งต้องปฏิบัติตามนโยบายของนักการเมืองในคราบผู้บริหารประเทศจึงไม่มีทางเป็นไปได้ รวมทั้งในการประเมินระดับความขัดแย้งเป็นเพียงผลผลิตที่ค่อนข้างตื้นเขินในแง่ของความคิดเพราะเมื่อเกิดความขัดแย้งทางด้านความคิดจนสามารถทำให้ประชาชนเลือกข้างได้นั้นหมายความว่ามันเป็นความขัดแย้งในขั้นรุนแรงในลักษณะการเป็นปฏิปักษ์(Binary Opposition) เพราะปรากฏการที่เห็นมันเต็มไปด้วยความเกลียดชังและพร้อมที่จะเผชิญหน้า โดยมีประชาชนเป็นเครื่องมือของการต่อสู้

    การต่อสู้ทางการเมืองในครั้งนี้ จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตราบใดที่กำลังของแต่ละฝ่ายยังมีความใกล้เคียงกัน ซึ่งพิจารณาจากขุมกำลังของแต่ละฝ่ายดังนี้
    ฝ่ายทักษิณ ....มีความได้เปรียบอำนาจทางการเงิน ควบคุมฝ่ายบริหาร ควบคุมข้าราชการได้บางส่วน เช่น องค์กรตำรวจกำลังกลายเป็นสนามรบขนาดเล็กของการต่อสู้ระหว่างคน 2 กลุ่ม ซึ่งเห็นได้ชัดว่าน้องภรรยาอดีต นรม.กลับมาในเส้นทางสายตำรวจอีกครั้ง ทหารที่ถูกควบคุมในสมัยทักษิณมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นหลังการปฏิวัติ แต่ยังด้วยเหตุที่ ผบ.ทบ.รุ่นเดียวกันกับอดีต นรม.และยังมีความขัดแย้งกับอดีต ประธาน คมช.ทำให้ ผบ.ทบ.คนปัจจุบันอาจเป็นตัวแปรสำคัญในการต่อสู่ครั้งนี้แม้ว่าจะพยายามวางตัวเป็นกลาง
    ส่วนประชาชนในบางพื้นที่ได้กลายเป็นผู้ภักดีต่อระบบทักษิณยังคงมีความจงรักภักดี ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีความต่อเนื่องเมื่อรัฐบาลได้ผลักดันนโยบายประชานิยมเพื่อเป็นหลักประกัน เป็นเกราะกำบัง ฐานทางอำนาจในการต่อสู่กับฝ่ายตรงข้าม ซึ่งดูเหมือนว่าแนวรบที่มีประชาชนเป็นผู้สนับสนุนจะทำให้ได้เปรียบฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากสื่อต่างประเทศอีกเช่นกัน

    ฝ่ายต่อต้านทักษิณ ....เป็นตัวแทนของผู้ที่ผูกขาดความเป็นชาติและศีลธรรม(ป.ปธ.อ.)ซึ่งมีความได้เปรียบทางรูปธรรมคือ อำนาจศีลธรรม ความซื่อสัตย์ โดยทำการต่อสู้ผ่านตัวแทนที่มีความใกล้ชิด รวมทั้งทหารสายที่มีส่วนร่วมในการปฏิวัติหรือที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการแต่งตั้งในสมัยทักษิณ....ที่สำคัญหากมองลงไปลึกก็จะเห็นถึงความสัมพันธ์กับสถาบันที่เก่าแก่หนึ่ง....ทำให้เกิดความเหนือกว่าใงแก่ของอำนาจที่มองไม่เห็น โดยประชาชนและสื่อมวลชนที่ติดตามการเมืองจะเข้าใจดี
    เมื่อพิจารณาตัวแสดงที่จะเป็นการชี้ขาดยังอยู่ที่ภาคประชาชนและทหาร

  • อย่างไรก็ตาม หากไม่ต้องการให้เกิดการเผชิญหน้าจนอาจเกิดการปะทะถึงขั้นนองเลือด หน่วยงานความมั่นคงต้องใช้การสร้างเครือข่ายภาคสังคม(Social Network)โดยต้องให้คนจำนวนมากออกมาแสดงพลังหรือต้องมีสร้างพลังที่สามที่(Third Power)ขนาดใหญ่จำนวนมาก(Mass) โดยต้องมีความหลากหลายไม่ถูกครอบงำจาก ประกอบด้วย ชนชั้นกลางบริสุทธิ์ที่ไม่อิงการเมือง ประชาชนชั้นล่างที่ต้องการเห็นประเทศเกิดการพัฒนามากกว่าที่เป็นอยู่ ข้าราชการ นักธุรกิจ ที่ไม่อิงการเมือง (มีต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น: