วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2551

สภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงในมิติใหม่

ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง(1)

การทำความเข้าใจกับความมั่นคงของประเทศในสถานะปัจจุบันคงต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อม(Security Environment)ที่เปลี่ยนไปโดยหน้าที่หลักต้องเป็นหน่วยงานความมั่นคงระดับชาติที่รับผิดชอบในเรื่องยุทธศาสตร์หรือภาพใหญ่เป็นการเฉพาะ แต่ดูเหมือนว่าประเทศไทยมักมีลักษณะการทำงานต่างคนต่างทำส่งผลให้ทุกหน่วยงานต่างมีแนวความคิดที่จะมองภาพด้านความมั่นคงที่แตกต่างกันไป เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วแนวทางการแก้ไขจึงขาดทิศทางและไม่เป็นองค์รวมของการแก้ไขปัญหาความมั่นคง ซึ่งเป็นแนวทางที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน เช่น เห็นได้ชัดจากการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังไม่มีความคืบหน้า
สำหรับสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคงที่เปลี่ยนไปมีหลายมิติด้วยกัน ประการแรก คือ ด้านความคิด ที่ผ่านมาหน่วยงานด้านความมั่นคงมักไม่ค่อยให้ความสำคัญกับความคิด(Concept) เพราะเห็นว่ามันเป็นรูปธรรมไม่สามารถจับต้องได้ ความคิดมีหลายระดับด้วยกันและส่งผลให้เกิดความขัดแย้งได้หากความคิดไม่มีความรองลอยกัน หรือ กล่าวได้ว่าความคิดเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง ซึ่งไม่สามารมองเห็นได้เมื่อถึงจุดของการแสดงออกก็นำมาสู่การเผชิญหน้าเสียแล้ว ยกตัวอย่างง่ายๆก็คือความขัดแย้งทางด้านการเมืองในประเทศไทยก็เกิดขึ้นจากความไม่ยอมรับความคิดระหว่างกันทั้งที่เรามีเครื่องมือคือศาสนาพุทธที่มีหลักของทางสายกลางที่จะสามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ หรือ จะยกตัวอย่างอีก 1 ตัวอย่างที่แม้ว่าจะห่างไกลกันในด้านภูมิศาสตร์ แต่ปัจจุบันได้เข้ามาอิทธิพลต่อความคิดของผู้คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ความไม่เป็นธรรมของสงครามที่เกิดขึ้นในอิรัก ซึ่งเป็นแหล่งเผยแพร่การทำสงครามทางด้านศาสนา(Jihad )ต่อจากสนามรบอัฟกานิสถาน โดยการต่อสู่ในระดับภูมิภาคที่ยกตัวอย่างข้างต้นกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแนวความคิดของมุสลิมในการต่อสู่เพื่อปลดปล่อยความไม่เป็นธรรม แม้ว่าการต่อสู้ในสนามรบเหล่านี้ไม่สามารถจับต้องได้แต่หากพิจารณาจุดมุ่งหมายของผู้ที่ประกาศสงครามในลักษณะนี้แล้ว ถือว่าเป็นความฉลาดของผู้กำหนดการต่อสู้เพราะแนวความคิดของการต่อสู้จะกลายเป็นต้นเหตุของการต่อสู้ทางด้านความคิด(War of Idea)ที่ไม่สามารถลบด้วยฝ่าเท้า (การใช้กำลัง)
สำหรับ การต่อสู่กับการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็เริ่มต้นจากความคิดเล็กก่อนแล้วขยายกลายเป็นชุมชนทางความคิดในสังคม(Social Community) ซึ่งจะมีการกระจายตัวไปอย่างต่อเนื่องจากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่งคล้ายกับโรคติดต่อ เมื่อถึงที่สุดแล้วแนวความคิดของการต่อสู้ก็จะเสถียรลอยเหนือในพื้นที่คล้ายกับว่าไม่จำเป็นต้องแพร่ระบาดต่อไป แต่สถานะของความคิดในเรื่องการต่อสู้ได้กลายเป็นคำสอนทางศาสนาไปเสียแล้ว ด้วยเหตุนี้ คงไม่แปลกที่จะกล่าวว่ากลุ่มก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในพื้นที่หรือ มีพื้นฐานมาจากสังคม เพราะจุดเริ่มต้นมากจากความไม่พอใจของผู้คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมกลายเป็นกำเนิดของการต่อสู่ด้วยวิธีการก่อความไม่สงบ ก็เริ่มต้นจากความคิดทั้งนั้น ซึ่งประเด็นนี้ถือว่าเป็นจุดแข็งที่สุด(Strong Point)ของกลุ่มก่อความไม่สงบ แต่ฝ่ายความมั่นคงของไทยส่วนใหญ่มักมองแต่เรื่องกายภาพของกลุ่มก่อความไม่สงบเท่านั้น (มีต่อ)จาก mr.t and s

1 ความคิดเห็น:

a view from the outside กล่าวว่า...

ความเป็นธรรม ..ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละฝ่าย แต่ละคน..การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ของไทย จึงอยู่ที่การสร้างความเข้าใจต่อกัน ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องยาก และใช้เวลาที่ยาวนาน