วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สถานการณ์ทางการเมืองยุคเปลี่ยนผ่าน

สถานการณ์ทางการเมืองยุคเปลี่ยนผ่าน

สถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน แม้ว่ายังมีความสงบเรียบร้อย แต่ยังไม่สามารถวางใจได้อยางกรณีที่ฝ่ายมีอำนาจได้ดำเนินการไปมีนัยทางการเมืองทั้งสิ้นดังจะเห็นจากหลังขึ้นรับอำนาจในการบริหารบ้านเมืองฝ่ายผู้มีอำนาจดำเนินการเพื่อคงและรักษาสภาพให้ยาวนานในสภาวะที่กำลังสู่ยุคการเปลี่ยนผ่าน(Transitional Period ) หรืออีกนัยหนึ่งคืออยู่ในสภาวะที่มีความเสี่ยงของการเผชิญหน้าจากปัญหาการเมืองผู้นำไม่สามารถควบคุมความคิด ที่สำคัญไม่ได้มีผู้นำเพียงคนเดียวในการสร้างและควบคุมชุมชนทางการเมืองเหมือนเช่นในอดีต สภาพเช่นนี้เช่นนี้คือ Relative Autonomy กล่าวคือ เริ่มปรากฎช่องวางทางอำนาจที่จะทำให้ผู้นำในระบบเก่ามีคู่แข็งทางการเมือง ดังนั้นในระยะเปลี่ยนผ่าน สภาพการณ์จึงเป็นการต่อสู้ทั้งในเรื่องทางความคิด การสื่อสาร การควบคุมมวลชน ควบคุมกลไกของรัฐ และการนำภาคีต่างประเทศหรือองค์กรทำงานด้านความขัดแย้งเข้ามาสนับสนุนแนวทางการเคลื่อนไหว การกระชับอำนาจของรัฐบาลใหม่ในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการวางแผนของทีมงานด้านยุทธศาสตร์หรือThink-Thank วัตถุประสงค์เพื่อครอบครองอำนาจในระยะยาวในช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งหากใครสามารถควบคุมอำนาจรัฐได้ก็สามารถกำหนดโครงสร้างใหม่ของประเทศได้เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการกำหนดมาตรการด้านการเมืองที่อาจเอื้อประโยชน์ส่วนตัว(Individual Interest)หรือกำหนดแนวทางที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางการเมือง ก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น คาดว่าฝ่ายผู้มีอำนาจใหม่ต้องควบคุมกลไกของรัฐให้เบ็ดเสร็จ(Total )รวมทั้งช่องทางอื่นสรุปได้ดังนี้
1)แต่งตั้งบุคคลที่เห็นว่าสามารถทำงานที่มอบหมายได้งานด้านการเมืองมากกว่าที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นหน้าที่หลักของกลไกของรัฐ ซึ่งมีความชัดเจนขึ้นจากการเปลี่ยนเลขาธิการสภาความมั่นคง เนื่องจากเป็นตัวกลางในการผลักดันเรื่องกัมพูชา โดยเฉพาะการจัดสรรผลประโยชน์ โดย สมช.จะส่งเรื่องให้ ครม.พิจารณาก่อนการประชุมGBC อันจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพูดคุยในการจัดสรรผลประโยชน์ที่เป็นทางการมากขึ้น การเปลี่ยน ผบ.ตร.เพื่อกระชับโดยเป็นองค์กรประกอบด้านกำลัง การจะผลักดันคนใกล้ชิดไปรับตำแหน่ง เลาธิการ ศอ.บต.โดยหลักการแล้วจะเป็นตัวขับเคลื่อนด้านการพัฒนาในพื้นที่ แต่คาดว่าการแต่งตั้งที่จะใช้ในการแก้ไขฐานทางการเมืองหรือการเอาชนะทางการเมือง ภายหลังที่สมาชิกของพรรคไม่ได้รับการเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรวมถึงการไม่เปลี่ยนข้าราชการบางหน่วยด้วยเช่นกระทรวงยุติธรรมก็หวังผลด้านการเมืองเช่นกัน โดยจะเป็นโครงสร้างหลักในการผลักดันการปรองดองที่แอบแฝงผ่าน คอป. และ การวางโครงสร้างกระบวนการยุติธรรมผ่าน คอ.นธ.ก็มาจากการทำงานของกระทรวงยุติธรรม
2)การสร้างกระแสความเป็นประชาธิปไตยจากเครือข่ายที่มีส่วนสนับสนุนพรรคผู้นำรัฐบาลแม้ว่าบางเครือข่ายจะเป็นกลุ่มที่มีแนวความคิดซ้ายนำหน้ามาก่อนและการสร้างเกาะป้องกันโดยใช้องค์กรต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานด้านสันติภาพโดยมีนัยเพื่อตรึงความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้ามที่ใช้ทหารในการเคลื่อนไหว เป็นแนวทางที่เน้นการขับเคลื่อนในทางเปิด(Public )
3)การดึงองค์กรต่างชาติเข้ามาเคลื่อนไหวเชื่อมต่อกับความเคลื่อนไหวของเครือข่ายที่มีแนวทางเดียวกันในต่างประเทศเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีความชัดเจนมากขึ้นส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากขอบเขตภารหน้าที่ขององค์กรเหล่านี้ ประกอบการที่ประเทศไทยเคยมีปัญหาความขัดแย้งจนถึงขั้นการใช้อาวุธทั้งในส่วนกลางและจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้องค์กรต่างประเทศเข้ามาเคลื่อนไหวมากขึ้น ตัวการหลักที่สำคัญคือ ทนายความอดีตผู้นำ มีกำหนดการที่สะท้อนนัยว่าต้องการสร้างกระแสเชิงรุกทางการเมืองที่จะส่งผลในหลายประการ คือ การเคลื่อนไหวเชิงรุกต่อกองทัพ ผลักดันให้แก้ไข พ.ร.บ.การจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 การเคลื่อนไหวเชิงรุกต่ออำนาจเก่า เน้นให้แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 และโจมตีว่ามือที่มองไม่เห็นคอยขัดขวางการแก้ไขกฎหมาย การเคลื่อนไหวเชิงรุกต่อพรรคฝ่ายค้าน เน้นการกดดันพรรคฝ่ายค้านด้วยเรื่องเดิม คือ การพยายามนำคดีเหตุการณ์สลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 เข้าสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ (หากการเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศประสบความสำเร็จ) เพื่อให้พรรคฝ่ายค้านตกเป็นฝ่ายตั้งรับ และมีภาพลักษณ์เสียหายหรือตกต่ำ
4)ความพยายามลดบทบาททหารของฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะ พ.ร.บ.สภากลาโหม ที่เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้าแทรกแซงการแต่งโยกย้ายทหารระดับนายพล กำลังมีความพยายามเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ฝ่ายการเมืองเข้าไปมีแทรกแซงได้ เพื่อป้องกันการปฏิวัติรัฐประหาร หรืออย่างน้อยยังเป็นการจุดกระแสให้กลุ่มคนเสื้อแดงสามรถนำมาเป็นประเด็นในการเคลื่อนไหวที่จะส่งผลต่อการตรึงกำลังของทหารต่อไป อาจจะจุดขยายความขัดแย้งระหว่างกองทัพกับรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย
5)การขยายฐานมวลคนเสื้อแดงจากหมู่บ้านมาเป็นอำเภอและคาดว่าขยายไปยังจังหวัด เป็นการสร้างฐานมวลชนเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยคาดว่าเป้าประสงค์ก็เพื่อทำให้รัฐบาลสามารถบริหารงานไปได้ในระยะยาวนอกจากนี้ การเคลื่อนไหวของนักวิชาการที่จะเป็นตัวนำในการเปิด/จุดกระแสความคิดในการต่อต้านกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานบันเพราะเห็นว่าจะถูกนำไปใช้เพื่อเหตุผลทางการเมือง จะมีส่วนสำคัญที่จะจุดกระแส เพราะมีความน่าเชื่อถือมากว่านักการเมือง กลุ่มคนเสื้อแดง แม้ว่านักวิชาการกลุ่มดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับอดีตผู้นำและเสนอความคิดในรูปแบบวิชาการ อาจถูกนำไปแสวงประโยชน์อีกทางหนึ่ง แต่หากฝ่ายรัฐรุกและมุ่งใช้อำนาจกดดันนักวิชาการกลุ่มนี้ จะก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวที่อาจมาแตกต่างในตะวันออกกลางก็เป็นได้
สถานการณ์ในไทยในห้วง 3-5 ปี ประเมินได้ว่า 1)ความไม่แน่นอนขึ้นกับการกระทำใดๆที่มีผลกระทบต่อสถาบันเป็นหลัก 2)การตรึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคล เครือข่าย ที่ใกล้ชิดสถาบันเป็นเป้าหมายหลัก คือ องคมนตรี ศาล กระบวนการยุติธรรม พรรคประชาธิปัตย์ อาจทำให้มีการตอบโต้ในทางปิดและทางเปิด 3)ความได้เปรียบของเครือข่ายอดีตผู้นำค่อนข้างมีความแข็งแกร่ง การที่ทำให้อ่อนแอเป็นไปได้ค่อนข้างยากเนื่องจากกลไกรัฐไม่มีเอกภาพ มวลชน(15 ล้านคน) การมีส่วนร่วมขององค์กรต่างประเทศ เช่น การประชุมด้านสิทธิมนุษยชน UN ให้ไทย ปฏิรูปกฏหมาย ม.112 และยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯในจชต. รวมทั้งการสร้างกระแส 4)ความขัดแย้งครั้งนี้จะนำมาสู่ความรุนแรงอยู่ที่ Turning Point คือ ความคิดที่จะมุ่งล้มระบบเป็นสำคัญ แม้ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจน 5)พื้นที่ที่จะมีการต่อสู้มี 2 พื้นที่ คือ ส่วนกลาง(กทม.)และพื้นที่ จชต. โดยใน จชต.จะคาดว่าสถานการณ์จะรุนแรงมากขึ้นตามไปด้วยเนื่องจากการใช้ตำรวจในการแก้ไขปัญหาจะถูกต่อต้าน การใช้แนวนโยบายยาเสพติดอาจจะขยายความขัดแย้งมากขึ้น

----------------------------------

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ยุคมืด ยุคการก่อกวนและยุคของความล้มเหลวของรัฐไทย


ยุคมืดยุคการก่อกวนและยุคของความล้มเหลวของรัฐไทย
ไม่ว่าสถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้จะอยู่ในโหมดของการปรองดอง สมานฉันท์ของฝ่ายการเมืองทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน ซึ่งดูเหมือนว่าหลายฝ่ายจะปักใจเชื่อว่าเป็นการสร้างสภาพของความปรองดอง มากกว่าความจริงใจของฝ่ายการเมือง แต่สิ่งหนึ่งที่สังคมกำลังละเลยและควรให้ความสนใจอย่างมาก เนื่องจะส่งผลกระทบต่อความเรียบร้อยและความสงบในบ้านเมืองรวมทั้งชีวิตความแนอยู่ของตนเอง ก็คือว่า การใช้อำนาจเหนือกฏหมายของกลุ่มที่ไม่หวังดี ในรูปแบบใต้ดิน โดยการก่อกวน การลอบวางระเบิด ที่จะมีมากขึ้น โดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคงยังไม่สามารถทำความกระจ่าง หรือ หาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้อย่างเป็นรูปธรรมเนื่องจากผู้ที่ก่อเหตุส่วนใหญ่หรือการก่อกวนเกี่ยวข้องกับผู้มีอำนาจ หรือ เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้ใช้อำนาจตามกฏหมายหรืออำนาจในการปกครองโดยตรง หรือผู้ที่เป็นปฏิปักษ์ของการต่อสู้ในทางการเมือง

การลอบวางระเบิดหลายครั้งที่ผ่านมามักจะมีสาเหตุจากการเมืองที่ต้องการดิสเครดิตฝ่ายรัฐ หรือ การสร้างอำนาจต่อรองเพื่อวัตถุกระสงค์แอบแฝง รวมทั้งยังมีกลุ่มที่สูญเสียผลประโยชน์ทั้งที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้ทางการเมือง หรือ ขัดแย้งผลประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง รวมทั้งความไม่พอใจของผู้ที่ผิดหวังจาการแต่งตั้งทหาร ตำรวจ ก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งเนื่องจากในวงการทหาร ตำรวจ มีการเกี่ยวพันกับการต่อสู้ทางการเมืองค่อนข้างมาก จึงอาจฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ซ้ำเติมประเทศชาติโดยมองเห็นผลประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก
ด้วยเหตุนี้ การสร้างสถานการณ์จึงมีมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เป็นข่าวหรือไม่เป็นข่าวหรือที่เปิดเผยต่อสาธารณชน การสร้างสถานการณ์ที่เป็นข่าวและเปิดเผยต่อสาธารณชน เช่น การลอบวางระเบิดแสวงเครื่องในห้วงที่ผ่านมาจำนวน 3 จุด ระเบิด 4 ลูกในกรุงเทพมหารนครและนนทบุรี การวางระเบิดพรรคการเมือง การลอบวางระเบิดและการยิงใส่โรงแรมที่ซอยรางน้ำ การขู่วางระเบิดบนเครื่องบินการบินไทย การใช้อาวุธสงครามยิงใส่ค่ายทหารในจังหวัดเชียงใหม่ และการลอบยิงใส่ค่ายทหารอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนพื้นที่นอกกรุงเทพมหานคร เริ่มปรากฏการลอบยิงนักการเมือง หัวคะแนนบางแล้ว ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าการแข่งขันทางการเมืองก่อนการเลือกตั้งจะมีความรุนแรง
ในกรณีที่ไม่เป็นข่าวเช่น การลอบวางระเบิดทีสถานีรถไฟหัวลำโพง การขู่ว่าจะมีการลอบวางระเบิดเครื่องบินแอร์เอเชีย เป็นต้น เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของบรรยากาศทางการเมืองที่เกิดขึ้นซึ่งไม่มีท่าที่จะลดความขัดแย้งได้เลยและมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงมากขึ้น จะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้มีการก่อกวนและการก่อเหตุร้าย จะมากขึ้นในห้วงต่อไป
โดยสรุปแล้วสถานการณ์ความมั่นคงของประเทศในห้วงต่อไปจะอยู่ในห้วงการก่อความไม่สงบที่ไม่มีความแตกต่างจากการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีสาเหตุที่หลากหลายทั้งมีสาเหตุจากกลุ่มก่อความไม่สงบร้อยละ 50-70 ส่วนที่เหลือ มีสาเหตุจากความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งส่วนตัว ความขัดแย้งด้านยาเสพติด กล่าวคือ การก่อกวนหรือการก่อเหตุร้ายด้วยรูปแบบอะไรก็ตามในกรุงเทพมหานคร มีสาเหตุที่หลากหลายเช่นกัน ซึ่งเหมือนกับการจำลองสถานการณ์ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาไว้ที่กรุงเทพมหานคร แต่ยังไม่มีสัญญาณว่ากลุ่มก่อความไม่สงบจะเข้ามาก่อเหตุในกรุงเทพมหานคร ซึ่งหากเป็นจริงฝ่ายรัฐคงต้องเผชิญคูต่อสู้ที่รอบด้าน
ด้วยเหตุนี้สภาพของประเทศไทยที่กำลังเกิดขึ้น โดยมีการก่อกวนในพื้นที่เขตเมืองและนอกศูนย์กลางอำนาจรัฐ กำลังทำให้ประเทศไทยอยู่ในเส้นทางของความเป็นรัฐที่ล้มเหลวหรือ Failed-state เนื่องจากการบังคับใช้กฏหมาย กลไกของรัฐไม่มีประสิทธิภาพ และความขัดแย้งของประชาชนทำให้ประเทศไม่มีเอกภาพเหมือนเดิม ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอยู่ในขั้นของความขัดแย้งซึ่งเรียกว่า Crisis State โดยผ่านสถานการณ์ที่เรียกว่า Fragile State มาแล้ว เช่นการต่อสู้ของเสื้อหลากสี่ หวังว่าหากผู้มีอำนาจทั้งพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน ทหาร ตำรวจ รวมทั้งประชาชน หากยังไม่สำนึกและให้ความสำคัญต่อประเทศชาติเป็นอันดับแรกแล้ว คาดว่าประเทศไทยในอนาคตคงจะมีกองกำลังสหประชาชาติเข้ามาดูแลประเทศให้มีความสงบไม่แตกต่างจากประเทศในแอฟริกาใต้ เช่น ซูดาน

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Strategic Map of Government ‘s Movement

Strategic Map of Government ‘s Movement
1.Actor: Government
2.Ways : Discourse
1.Making Binary of Opposition
2.Reducing the the Legitimacy of Redshirt ‘ s Movement
3.Building the Legitimacy to Government to use law enforcement
3.Channel :Political Communication Instruments
1.Government Media
2.Non-Government Media
3.Reducing the communication of redshirt station
4.How to make the Strategic Operational Planning
1. Making population support and atmosphere of peace=target Bangkokian support and
2. Using law enforcement
3. Expressing the truth to international community
4. Using special measures:open and close operation
-Leader
-Fund
-Forces
5. Dividing mass from redshirt
. 4. Contain Redshirt ‘Movement
5. Area Approach: to contain the activity of politician that support red shirt
-North
-North-east
-------------------------------------

วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สงครามกลางเมืองเมื่อ 19 พฤษภาคม 2553 มีสาเหตุจากนักการเมือง

สถานการณ์ทางการเมืองมีสาเหตุจากนักการเมือง

สถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยในวันนี้ สาเหตุมาจากนักการเมืองซึ่งทำให้ระบบการเมืองล้มเหลว และถูกบิดเบือนจนทำให้โครงสร้างของประเทศล้มเหลว ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งที่ไม่มีทางออกเพราะกลไกของรัฐไม่สามารถตอบสนองได้แล้ว เหตุการณ์เมื่อ 19 พ.ค.53 ไม่ได้มีสาเหตุมาจากความขัดแย้งที่เห็น แต่สาเหตุที่แท้จริงมาจากผลพวงของประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ที่ไม่มีการแก้ไข ทั้งระบบการศึกษา ค่านิยม คุณธรรม เนื่องจากหลังสถานการณ์สงบลงผู้นำหรือผู้ปกครองปล่อยให้สถานการณ์สงบแต่ไม่ได้แก้ไขต้นเหตุของปัญหา คือ ความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม ซึ่งถูกใช่เป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมืองมาตลอดแต่ที่ชัดเจน คือ อดีตนายกได้นำไปใช้ในการหาเสียงและสร้างเครือข่ายในการต่อสู้ ด้วยการให้ความหวังเพื่อให้มวลชนโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคเหนือซึ่งมีความแตกต่างในด้านฐานะทางเศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการเมือง ซึ่งเริ่มปรากฏชัดว่าเริ่มแบ่งแยกพื้นที่เพื่อสถาปนาพื้นที่ในปลอดอำนาจรัฐจากส่วนกลางแล้ว การเคลื่อนไหวดังกล่าวคาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น

ความขัดแย้งของรัฐบาลกับกลุ่มคนเสื้อแดง จึงเป็นเพียงปรากฏการณ์บางส่วนของความขัดแย้ง ด้วยเหตุนี้ ความขัด ซึ่งเกิดความขัดแย้งทั้งในระดับเครือข่ายผู้นำในทุกระดับประชาชน เจ้าหน้าที่ และในระดับพื้นที่ซึ่งกำลังขยายครอบคลุมในทุกจังหวัดที่เป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทยและโรงเรียน นปช.ได้ขยายความขัดแย้งมากขึ้นเป็นการก่อความไม่สงบแบบสงครามการเมืองเต็มรูปแบบ เนื่องจากความเคลื่อนไหวทางการเมืองในปัจจุบันนี้ มีแกนนำ มีมวลชน มีกองกำลัง เทียบกับกลุ่มก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ไม่รู้ว่าใครเป็นใคร เนื่องจากการต่อสู้ในทางการเมืองในครั้งนี้เป็นการขัดแย้งที่มีความซับซ้อน(Deep- Diversity Conflict) ในหลายรูปแบบ แต่สะท้อนความเป็นจริงที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เมื่อไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยการเมืองได้การใช้อำนาจเถื่อนหรือการใช้วิธีใต้ดิน จะถูกนำมาใช้ เพื่อสร้างอำนาจต่อรองหรือการเอาชนะฝ่ายตรงข้าม ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาการใชวิธีดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง หรือ การเปลี่ยนผู้นำหรืออาจควบคู่กันไป
การต่อสู้ที่มีความหลากหลายในทางการเมืองในครั้งนี้ ประกอบด้วย ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นปกครอง ความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองกับนักการเมือง ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งฝ่ายความมั่นคง ทหารกับทหาร ตำรวจกับตำรวจ ที่สำคัญมีความพยายามที่ทำให้เป็นการขัดแย้งระหว่างประชาชนกับประชาชน หรือ ความขัดแย้งระหว่างชนบทกับเมือง เมื่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีหลายชั้นหลายแนวทำให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทวีความรุนแรงมากขึ้นและเท่าทันเกมส์ เนื่องจากในแต่ละหน่วยงานจะมีผู้ฝักฝ่ายในแต่และกลุ่มจะส่งต่อข้อมูลความเคลื่อนไหวของแต่ละฝ่ายให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง

ส่วนในระดับพื้นที่ในการต่อสู่ครั้งนี้มีความชัดเจนว่ามีเครือข่ายนักการเมือง เป็นแกนนำหลักขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แบ่งแยกทั้งด้านความคิดเพื่อสร้างมวลชนใช้เป็นเครืองมือในการขับเคลื่อนต่อสู้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือวัตถุประสงค์ที่มากกว่านั้น ลักษณะของมวลชนประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่าย ทั้งหัวคะแนนนักการเมือง ประกอบกับการจัดตั้งมวลชนผ่านโรงเรียน นปช.เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งต่อเครือข่ายและโครงสร้างของกลุ่ม นปช.มากขึ้น พร้อมกับได้รับการสนับสนุนจากผู้ที่อยู่เบื้องหลังจากต่างประเทศ

ยุทธวิธีของกลุ่มกองกำลังของคนเสื้อแดงในการสร้างสถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเมื่อ 19 พ.ค.2553 ทั้งการวางเพลิงสถานที่ การยิงใส่สถานที่ การขัดขวางการดับเพลิง เป็นความตั้งใจและมีเป้าประสงค์ที่จะทำให้เกิดภาพความรุนแรงที่รัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ หรือเป็นรัฐที่ล้มเหลว แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ สงครามการเมืองได้ก่อตัวขึ้นแล้ว
ส่วนฝ่ายรัฐบาลซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐเป็นคู่ขัดแย้งกับเครือข่ายอดีตผู้นำ ซึ่งรับช่วงต่อมาจากฝ่ายทหารที่ต้องการลดอิทธิพลของอดีตผู้นำ วิธีการต่อสู้ของฝ่ายรัฐบาลจะขับเคลื่อนใน 2 ระดับ คือ ประการแรก คือการสร้างวาทกรรมสร้างความชอบธรรมในการใช้อำนาจเช่นการกระชับวงล้อม ประการที่สอง คือ การสร้างวาทกรรมการการก่อการ้ายต่อแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ทั้งสองประการจะดำเนินการด้วยปฏิบัติการจิตวิทยาในรูปแบบต่าง

สถานการณ์ความขัดแย้งในครั้งนี้ คงไม่มีทางออกที่ทำให้ปัญหาจบลงในทันที หริอ อย่างเบ็ดเสร็จ แม้ว่าฝ่ายแกนนำเสื้อแดงจะประกาศยุติการชุมนุม เนื่องจากยังมีเครือข่ายของฝ่ายเสื้อแดงอีกจำนวนมากคือ ตำรวจ ทหารบางกลุ่ม นักการเมือง กองกำลังใต้ดิน อันธพาล นักเลง เครือข่ายหัวคะแนนของนักการเมือง รวมทั้งผู้สนับสนุนที่ไม่เปิดเผยและที่สำคัญผู้ที่อยู่เบื้องหลังที่แท้จริงยังไม่มีท่าทีประนีประนอมและมีเตรียมความพร้อมที่จะต่อสู้ในขั้นต่อไปคือการใช้เวทีต่างประเทศกดดันประเทศไทยด้วยการว่าจ้างทนายต่างมาแก้ต่างและเป็นตัวขับเคลื่อนให้ปัญหาในประเทศเป็นที่สนใจในต่างประเทศ โดยจะหยิบยกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลในทางลบเช่นรัฐบาลกระทำสังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มนิยมความรุนแรงที่มีการวางเพลิงธนาคารห้างร้านเพื่อทำให้การขับเคลื่อนของภาคธุรกิจหยุดชะงักและการเผาศาลากลางเพื่อต่อต้านการปกครองของรัฐบาลปัจจุบัน รวมทั้งการเผาสถานที่บางส่วนเป็นของทรัพย์สินส่วนมหากษัตรยิ์สะท้อนว่าการต่อสู้ในเชิงสัญญาลักษณ์จะเป็นตัวขับเคลื่อนในการต่อสู้ของกลุ่มคนเสื้อแดงต่อไป ด้วยเหตุนี้การยุติในครั้งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครั้งใหญ่ที่ประเทศไทยต้องเผชิญ

แนวโน้มสถานการณ์
สถานการณ์ในห้วงต่อไป ในด้านของเป้าหมาย เนื่องจากผู้ที่ควบคุมอำนารัฐมาจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นเป้าหมาย เครือข่ายธรกิจที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับพล.อ.เปรม วิธีการก่อเหตุ จากการจลาจลก่อกวนเผาสถานที่แล้วจะนำการก่อการร้ายทั้งการลอบวางระเบิดสถานที่บุคคลที่เป็นฝ่ายตรงข้าม การลอบสังการลอบยิงเป้าหมายบุคคล

ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ มีแนวโน้มว่าต่างประเทศจะเข้าแทรกแซง เนื่องจากมีสิ่งบอกเหตุเริ่มเห็นชัด 1.จากการเคลื่อนไหวของอดีตนายกรัฐมนตรี ที่จ้างทนายความที่มีขีดความสามารถในการแก้ต่างและสร้างกระแสในต่างประเทศ 2.การเปลี่ยนแปลงแกนนำในการต่อสู้จาก 3 เกลอมาเป็นการขับเคลื่อนด้วยอดีตฝ่ายซ้ายเก่าคาดว่าการวางแผนในการต่อสู้จะเน้นการสร้างมวลชน การยึดพื้นที่เพื่อใช้เป็นฐานในการต่อสู้ รวมทั้งการใช้แนวทางการปิดล้อม โดยเฉพาะชนบทล้อมเมือง การทำให้อำนาจรัฐอ่อนแอโดยการจลาจลการก่อกวน การวางเพลิงโรงเรียน การลอบวางระเบิด การลอบยิงเป้าหมายบุคคลฝ่ายตรงข้าม 3.การต่อสู้ในเชิงความคิดโดยการส่งต่อไปยังมวลชนจะมีมากขึ้นโดยผ่านสื่อทุกรูปแบบ โดยเฉพาะใต้ดินหรือการส่งต่อข้อมูลที่บิดเบือนแบบปากต่อปาก 4.การทำให้เห็นว่าสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในประเทศส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในระดับภูมิภาคหรือระดับโลก เพื่อให้องค์กรต่างประเทศเข้าแทรกแซง

แนวทางในการแก้ไขปัญหา
การแก้ไขปัญหาของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นที่ได้ผล จึงไม่สามารถทำได้ด้วยการเมือง การใช้กำลัง แต่ต้องรวมกันแก้ไขของทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อผลักดันให้เกิดสัญญาประชาคม(Social Contact ) เนื่องจากที่ผ่านมาไม่เกิดมีสัญญาประชาคมที่แท้จริงในไทย เพราะที่ผ่านมาเป็นการหยิบยืนจากชั้นปกครองมากว่าจิตสำนึกที่เกิดขึ้นเองของประชาชนระดับล่าง


------------------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ปัจจัยที่จะทำให้ไทยประสบภัยคุกคามการก่อการร้าย

เริ่มปรากฏความชัดเจนทางข้อมูลมีความเชื่อถือในระดับหนึ่งได้ว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังเผชิญกับภัยคุกคามการก่อการร้ายครั้งใหม่(New Age of terrorism) ดังจะเห็นจากรัฐบาลออสเตรเลียสามารถจับกุมกลุ่มผู้ต้องสงสัยจำนวน 4 ราย(พลเมืองออสเตรเลียเชื้อสายโซมาเลียและเลบานอน)ที่มีความเกี่ยวข้องกับเครือข่ายก่อการร้าย Al-Shabaab ในโซมาเลีย มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอัลไคดา ขณะประเทศฟิลิปปินส์กำเผชิญกับการก่อการ้ายอีกครั้งโดยมีการมุ่งกระทำต่อประชาชนผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์มากขึ้น เช่นเดียวกับ อินโดนีเซียได้ประสบกับเหตุการณ์ระเบิดพลีชีพเป้าหมายคือโรงแรมซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์ของตะวันตก เป็นการส่งสัญญาณว่ากลุ่มก่อการร้ายสามารถปรับโครงสร้างและปฏิบัติการได้อีกครั้ง รวมทั้งประเทศไทย แม้ว่ายังไม่มีความชัดเจนถึงความเชื่อมโยงกับการก่อการ้ายในต่างประเทศ แต่ด้วยสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลง ประกอบกับพัฒนาการการก่อความไม่สงบใน จชต.ยังมีความต่อเนื่องไปในทิศทางที่ยังสามารถสร้างความเสียหายให้กับภาครัฐ และเป็นพื้นที่ที่สามารถสร้างความสนใจ

ดังนั้น ต้องมีมาตรการทางลับในการตรวจสอบ การระวังป้องกัน น่าจะทำให้รัฐบาลไม่สามารถรับได้ทันทวงที เนื่องจากเริ่มปรากฏสัญญาณอันตราย(Dangerous Signal) หลายอย่างที่จะส่งผลให้สถานการณ์ความไม่สงบเกิดความรุนแรงขึ้น

สัญญาณแรก คือ การชักชวนให้ทำสงครามศาสนาใน จชต.ในต่างประเทศ(Cross Border Information Operation )มีมากขึ้นและต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากประเทศอินโดนีเซีย แม้ว่าต้องมีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข่าวสารแต่ความต่อเนื่องในการปลุกระดมเป็นสิ่งที่น่ากังวลและต้องให้ความสำคัญในตรวจสอบและควรมีมาตรการรองรับ เนื่องจากที่ผ่านมาการเชิญชวนให้มีการทำสงครามศาสนาในรูปแบบที่หลากหลายประกอบด้วยผ่านเว็บไซด์ หรือ การเชิญชวนการทำสงครามของแกนนำสำคัญ คือ นายAbu Bakar Ba’asyir เรียกร้องให้ทำสงครามศาสนากับชาวไทยพุทธ อาจมีนัยว่าไม่จำเป็นต้องก่อการความไม่สงบใน จชต.เพียงพื้นที่เดียวแต่นอกพื้นที่อีกด้วย และล่าสุดได้มีการจัดหนังสือ เรื่อง Wind from Paradise ประกอบด้วยเรื่องสั้น 4 เรื่องโดน 1 ใน4 นั้นคือ Fragrance from Pattani ประกอบกับกระแสมุสลิมไม่ได้รับความ รวมทั้งนาย Hafif Mukhtar ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนตุรกีเรียกร้องให้ชาวมุสลิมทำสงครามกับรัฐไทย อ้างเพราะสหรับอเมริกา อิสลาเอลให้การสนับสนุนไทย รวมทั้งจากฐานข่าวที่ผ่านมาพบว่าแนวร่วมจากต่างประเทศได้เดินทางเข้าเพื่อจะก่อเหตุใน จ.นราธิวาสแต่ถูกจับกุมเสียก่อน

สัญญาณที่สอง พัฒนาการของสถานการณ์ในพื้นที่น่าเป็นห่วง(More Concern)เนื่องจากแม้ว่ากลุ่มต้องสูญเสียแนวร่วมจาการมาตรการทหารแต่ยังเกิดแนวร่วมใหม่เข้ามาทดแทนและไม่ได้ส่งผลต่อการปฏิบัติการของกลุ่มก่อความไม่สงบ ดังจะเห็นจากมีการพัฒนาการประกอบระเบิดแสวงเครื่องจากจุดชนวนโดยการรากสาย มาเป็นด้วยโทรศัพท์มือถือ รีโมทคอนโทรล ล่าสุดด้วยวิทยุสื่อสาร ซึ่งยังไม่มีการเครื่องตัดสัญญาณ โดยมีการยืนยันว่าอาจเลียนแบบจากประเทศอิรัก รวมทั้งได้มีแนวร่วมไปสังเกตการณ์ก่อนการประชุม ARF และประเทศคู่เจรจาที่ จ.ภูเก็ต แม้ว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงแต่ในด้านการเคลื่อนไหวแล้วอาจจะเป็นการส่งสัญญาณความเป็นไปได้ในการขยายพื้นที่และเพิ่มความรุนแรง หรืออาจจะมีการแผนการสร้างความกังวลใจต่อฝ่ายรัฐหรือทดลองการปฏิบัติการซึ่งหากฝ่ายรัฐไม่มีมาตรการใดๆที่จะระวังป้องกันอาจนำมาสู่การก่อเหตุร้ายได้ในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีความพยายามในทางลับในการสร้างแนวร่วมรุ่นใหม่โดยจัดส่งไปศึกษาในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

สัญญาณที่สาม คือ หน่วยงานความมั่นคงส่วนใหญ่มีความสนใจทางการเมืองขาดความร่วมมือในการผลักดันมาตรการต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกับรัฐบาลสิงคโปร์ที่มีการเตรียมความพร้อมในการผลักดันมาตรการให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดที่สามารถทำได้เพื่อรองรับกับการก่อการ้ายที่จะเกิดขึ้น ทั้งการปรับปรุงสายการบังคับบัญชา การเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยงานทีเกี่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการ้าย หรือ การจัดตั้ง SOFT หรือ Special Operation Task Force สังกัดกองทัพบก หรือการจัดตั้งเครือข่ายภาคประชาชน ส่วนรัฐบาลอินโดนีเซียหลังจากกลุ่มก่อการร้ายได้โจมตีโรงแรมของตะวันตก ได้ปรับมาตรการต่อต้านการก่อการ้ายเช่นเดียวกันได้จัดตั้งหน่วยงานข่าวกรองประจำหน่วยทหารในทุกจังหวัด การเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายประชาชน การรวมมือกับต่างประเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านข่าวกรอง ขณะที่ฝ่ายการเมืองในไทยมีความสนใจแค่การรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของรัฐบาลเป็นหลักขาดความสนใจต่อสภาพแวดล้อมของการต่อสู้ และโดยความไม่จริงจังน่าจะทำให้เกิดกลุ่มก่อความไม่สงบฉวยโอกาสสร้างกระบวนการความรุนแรงในพื้นที่ให้รุนแรงมากขึ้นด้วย

สัญญาณที่สี่ คือ ปัจจัยภายนอก(External Factor)การต่อสู้การก่อการร้ายในสนามรบอิรักมีความคืบหน้าโดยรัฐบาลสหรัฐให้ชาวอีรักปกครองกันเอง ส่งมีแนวโน้มการถอนกำลังจากอีรักของสหรัฐอเมริกาในอนาคต อันมีความเป็นไปได้นักรบมูจาฮีดีที่เป็นชาวมุสลิมจะเดินเข้ามาในภูมิภาคและแสวงหาสนามรบใหม่โดยพื้นที่ จชต.อาจจะเป็นพื้นที่หนึ่งที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปลดปล่อย

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2552

ภาพจำลองสถานการณ์ภายในประเทศไทย

ภาพจำลองสถานการณ์ภายในประเทศไทย

ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทยที่ขยายไปยังภาคส่วนของสังคมด้านอื่นซึ่งมีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่ปี กันยายน 2549 กำลังเป็นปัญหาที่บันทอนทำลายความเป็นรัฐไทยอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เนื่องจากการต่อสู้ข้างต้นเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจเกิดขึ้นจากการช่วงชิงของกลุ่มบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับอำนาจรัฐหรือเป็นกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่รักษาความมั่นคงแห่งรัฐ ประกอบด้วย นักการเมือง(Politician) ฝ่ายความมั่นคง(ข้าราชการ) ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายนิติบัญญัติ รวมถึงประชาชนบางส่วน โดยสิ่งที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบมากที่สุดคือ หลักการ (Concept) หลักกฎหมาย(Law) หลักศีลธรรม(Moral ) ถูกนำไปใช้โดยการบิดเบือน หรือ นำไปเป็นเครื่องมือของการต่อสู้จนหมดความน่าเชื่อถือ เกิดความหมดศรัทธาในระบอบการปกครองขึ้นทั้งในตัวระบอบและตัวบุคคล รวมถึงความไม่ไว้วางใจของผู้คนในสังคม สงผลให้เมื่อผู้ใดขึ้นมาปกครองประเทศและมีส่วนได้เสียกับการต่อสู้นั้นย่อมไม่ได้รับการสนับสนุนและการต่อต้าน กลายเป็นวงจรความขัดแย้งทางการเมืองไม่มีที่สิ้นสุดตราบใดที่ยังไม่มีประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริงยังไม่ตระหนักว่าปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางของประเทศ โดยต้องแสดงพลังทางการเมืองมากกว่าปล่อยให้สถาบันทางการเมืองต่างๆดำเนินการแต่ฝ่ายเดียวซึ่งไม่เป็นที่ไว้วางใจในสังคมปัจจุบันหรือจากกลุ่มบุคคลต่างๆที่มีความคิดทางการเมืองขัดแย้งกัน

เมื่อสภาพความเป็นจริงความขัดแย้งทางการเมืองอยู่ในประเทศอยู่ในจุดที่เรียกว่าวิกฤติของความศรัทธาในระบบ(Conflict of the Regime ) ผลที่ตามมาคือการต่อสู้ที่หลากหลายได้สะท้อนออกมาในรูปแบบที่สื่อมวลชน นักวิชาการให้คำจำกัดความในการต่อสู้ ประกอบด้วย ความขัดแย้งระหว่างอำนาจเก่าและอำนาจใหม่ หรือ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นปกครอง การต่อสู้ระหว่างชาวชนบทและคนกรุง หรือคนจนกับคนรวย(Rich and Poor Conflict) ความขัดแย้งระหว่าซ้ายและขวา หรือ การต่อสู้ระหว่างรัฐบาลกับเสื้อแดง หรือเสื้อแดงกับเสื้อเหลือง เป็นต้น

สภาพความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในครั้งนี้มีความหลากหลาย แต่ มีรูปแบบที่ชัดเจนอย่างหนึ่งคือความพยายามสร้างมวลชนในการสนับสนุนหรือการสร้างชุมชนทางการเมืองเพื่อเป็นฐานการสนับสนุนทางการเมือง(Political Community)ในจังหวัดต่างๆ โดยใช้สงครามข่าวสาร ซึ่งโดยหลักการแล้วมักจะมีการบิดเบือนจากข้อเท็จจริง ผลที่ตามที่คาดไม่ถึงคือ เกิดวิกฤติศรัทธา ความไม่เชื่อมั่นและความหวาดระแวงภายในสังคมอย่างกว้างขวางอย่างไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจากสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเป็นสังคมที่มีระดับของการมีเหตุผลต่ำ (Low Rational) ขาดหลักการ มักเชื่ออะไรได้ง่ายเมื่อเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตัว นอกจากนี้ การแย่งชิงมวลชนยังเปรียบเสมือนการรุกคืบทางด้านพื้นที่ที่ต้องยึดครองเพื่อให้เกิดความได้เปรียบด้านมวลชนและเป็นการควบคุมการเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้าม น่าจะทำให้เกิดการช่วงชิงและนำมาสู่ความแตกแยกมากขึ้น

สำหรับความสงบที่เกิดขึ้นล่าสุดหลังเหตุการณ์ก่อความวุ่นวายของคนเสื้อแดงแม้ว่ารัฐบาลจะสามารถความคุมสถานการณ์ได้ แต่แนวทางการต่อสู้น่าจะเปลี่ยนแปลงไป โดยจะดำเนินการต่อสู้ใน 2 ระดับ 1.การเคลื่อนไหวในต่างประเทศโดยอาศัยสื่อในต่างประเทศโจมตีประเทศไทยเพื่อยังคงบทบาทของแกนนำและเป็นการส่งสัญญาณให้ต่อสู้ต่อไปทั้งในระบบและใต้ดิน 2.การเคลื่อนไหวในต่างจังหวัดจะปรากฏมากในพื้นที่ฐานเสียงในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนช่องทางในการติดตามความเคลื่อนเมื่อฝ่ายรัฐได้ตัดช่องทางในการสื่อสารเพื่อปลุกระดมแล้ว (การควบคุมหรือการขอความร่วมมือจากสื่อมวลชน ในการเสนอข่าวที่สร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สถานการณ์ที่ผ่านมา ฝ่ายรัฐมีความได้เปรียบจึงต้องดำเนินการใช้ช่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องในรักษาเสียงสนับสนุนของประชาชนที่มีต่อนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ) คาดว่าการเคลื่อนไหวจะทำได้อยากขึ้นแต่ก็ทำให้ฝ่ายรัฐติดตามความเคลื่อนไหวได้ยากเช่นเดียวกัน โดยแนวทางในการเคลื่อนไหวยังใช้ข้ออ้างว่ามีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมในการปลุกปั่นและปลุกระดมเพื่อไม่ให้กระแสความสนใจหายไป ดังนั้นการปลุกปั่นและปลุกระดมผ่านเครือข่ายทางการสื่อสารต่างจะมีมากขึ้น 3.นักการเมืองฝ่ายค้านน่าจะมีมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นเพื่อกดดันให้รัฐบาลใช้แนวทางที่ฝ่ายตนเองได้ประโยชน์ โดยเฉพาะความพยายามที่จะกลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้งของพรรคของอดีตผู้นำ

อย่างไรก็ตามด้วยเหตุที่รัฐบาลพยายามสร้างบรรยากาศของความสมานฉันท์และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีเวทีในการแสดงออกได้ทำให้บรรยากาศผ่อนคลายลง แต่ยังมีประเด็นที่รัฐบาลต้องสร้างเป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศคือการใช้กระบวนการยุติธรรมให้มีความโปร่งใสและไม่เลือกปฏิบัติแบบ 2 มาตรฐาน อันจะเป็นการยุติวงจรความขัดแย้งและความไม่ศรัทธาลงได้ระดับหนึ่ง รวมทั้งยังทำให้ภาพความอ่อนแอของอำนาจรัฐกลับคืนมาโดยเฉพาะการคุกคามสื่อมวลชน
ที่สำคัญ การแก้ไขความไม่สงบที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการทำงานของฝ่ายรัฐที่ดำเนินการอย่างนิ่มนวลซึ่งเกิดจากความประณีตและความละเอียดของหน่วยงานความมั่นคง รวมถึงเอกภาพมีมากขึ้นจึงจะเป็นหน่วยงานหลักที่ค้ำประกันความมั่นคงของชาติได้ในอนาคต

สำหรับปัจจัยที่จะทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น คือ มือที่สาม เนื่องจากสภาพความอึมครึม และความไม่ไว้วางใจในขณะนี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้บุคคลที่สาม(คาดว่าเป็นบุคคลที่หวังผลทางการเมืองโดยการใช้อำนาจทำลายฝ่ายตรงข้ามเพื่อการสร้างสถานการณ์ให้อยู่ในวงจรความขัดแย้งหรือเพื่อสนับสนุนกลุ่มชนชั้นนำที่ต้องการมามีอำนาจ)จะมีความเคลื่อนไหวมากขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มบุคคลดังนี้ 1.กลุ่มบุคคลการเมืองที่ต้องการสถาปนาเครือข่ายขึ้นมาใหม่โดยการร่วมมือระหว่างข้าราชการและนักการเมืองบางกลุ่ม 2.กลุ่มข้าราชการที่สนับสนุนเสื้อแดง

การจำลองภาพในอนาคต
ผลจากการต่อสู้ในครั้งนี้ สามารถวิเคราะห์ภาพจำลองที่อาจจะเกิดขึ้นในประเทศไทยในห้วงต่อไปได้ดังนี้
ภาพจำลองที่หนึ่ง การเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบมีความเป็นไปได้มากที่สุด โดยทหารมีบทบาทหลักในการสร้างความมั่นคงให้กับรัฐไทยเป็นผู้ค้ำสถาบันของประเทศ แต่ต้องวางยุทธวิธีในสองระดับ คือ การเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมทางการเมือง (คาดว่าจะตั้งพรรคการเมืองเริ่มจะมีความชัดเจนมากขึ้น) การควบคุมประชาชน และ พื้นที่ (โดยคาดว่าจะใช้กลไกของ กอ.รมน.จังหวัด อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกคงต้องร่วมมือกับพรรคการเมืองบางพรรคในการสร้างเครือข่ายสนับสนุนทางการเมือง ก่อนเพื่อเป็นฝ่ายบริหารและเพื่อควบคุมกลไกของประเทศ แนวทางข้างต้น น่าจะได้รับการต่อต้านจากนักการเมืองที่เห็นว่าเป็นคู่แข่ง แต่ด้วยเหตุที่มีทหารเป็นผู้สนับสนุนและมีอิทธิพลน่าจะทำให้เกิดความหวาดกลัวและเป็นผลให้นักการเมืองไม่กล้าต่อต้านมากนัก และมีแนวโน้มที่จะให้การสนับสนุน แนวทางนี้ จะทำให้สถานการณ์ในห้วงต่อไปมีความเคลื่อนไหวในการสร้างเครือข่ายและทำลายฝ่ายตรงข้าม

ภาพจำลองที่สอง ฝ่ายอดีตผู้นำกลับมาเป็นผู้ชนะมีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากภาพของอดีตผู้นำเป็นแกนนำของบุคคลในการต่อต้านสถาบัน และการเคลื่อนไหวเป็นการมุ่งผลประโยชน์ต่อส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ของประเทศหรือเป็นการทำเพื่อประชาธิปไตย(Democratization)รวมทั้งมีความชัดเจนมากขึ้นว่าชนชั้นกลางไม่แสดงการสนับสนุนอีกต่อไปและไม่เห็นด้วยกับเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงที่มีมาจากต่างจังหวัด น่าจะกดดันให้การเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงน่าจะจำกัดอยู่ในต่างจังหวัด และ จะเคลื่อนไหวอย่างระมัดระวังมากขึ้น แต่จากการที่ภาพลักษณ์ของคนเสื้อแดงไม่ได้รับการยอมรับจึงขาดความชอบธรรมทำให้หากเกิดความเคลื่อนไหวใน กทม.จะถูกต่อต้านมากกว่าเดิมและจะเกิดความรุนแรงเนื่องจากกลุ่มชนใน กทม.เห็นว่าเป็นการซ้ำเติมปัญหาด้านเศรษฐกิจ และการเคลื่อนไหวในต่างจังหวัดหน่วยงานความมั่นคงสามารถควบคุมได้ง่ายจึงไม่น่าเป็นห่วงมากนัก แต่หน่วยงานของรัฐในพื้นที่ควรแสดงบทบาทนำในการคัดค้านการใช้ความรุนแรงในแต่ละจังหวัด โดยเร่งดำเนินการในจังหวัดที่กลุ่มเสื้อแดงเคลื่อนไหวเป็นลำดับแรกก่อน

วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การแข่งขันของกลุ่มอำนาจที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดตั้งรัฐบาล

การแข่งขันของกลุ่มอำนาจที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดตั้งรัฐบาล

ปัญหาทางการเมืองในขณะนี้มีความชัดเจนในตัวของมันเองมากขึ้นเมื่อผู้เล่นทั้งหลายทั้งเก่าและใหม่ได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่ไม่มีความแตกต่างกันแม้ว่าผู้แสดงใหม่บางกลุ่มพยายามสร้างภาพความเหนือกว่าหรือภาพความใสสะอาดทางการเมืองและเป็นผู้ยกระดับทางการเมือง แต่ในความเป็นจริงที่ปรากฏได้ทำให้สาธารณะชนได้รับรู้ว่าไม่มีอะไรใหม่ในวงการทางการเมือง เมื่อความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มต่างๆไม่ได้ทำไปเพื่อพัฒนาการเมืองเพื่อรับใช้ประชาชนแต่เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐ โดยเฉพาะการจัดตั้งรัฐบาลหลังรัฐบาลต้องหมดสภาพลงเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรค 3 พรรคการเมือง

ปัญหาทางการเมืองในตอนนี้คือต่างฝ่ายกำลังการสร้างความชอบธรรมและการชิงไหวชิงพริบในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ดูเหมือนว่ายังไม่สามารถลงตัวได้ในขณะนี้ เพราะต่างฝ่ายต่างใช้วิธีการต่างๆในการดึงแรงสนับสนุนจาก ส.ส. ด้วยการใช้ระบบธนาธิปไตยหรืออิทธิพลในรูปแบบต่างๆ ซึ่งดูเหมือนว่าภาพที่เกิดขึ้นเหมือนกับการนั่งดูการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์หรือการซื้อขายประมูล

สำหรับกลุ่มต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการช่วงชิงอำนาจโดยการจัดตั้งในครั้งนี้มีกลุ่มหลักประมาณ 3 กลุ่ม


กลุ่มทหารที่ค่อนข้างมีบทบาทและอิทธิพลทางการเมืองเป็นอย่างมากแม้ว่าในช่วงประชาธิปไตยจะไม่มีบทบาทมากนักแต่เป็นสถาบันที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญทั้งการจัดสรรงบประมาณ หรือไม่ควรที่จะมีปัญหากับฝ่ายทหาร อิทธิพลข้างต้นดังจะเห็นจากในช่วงการต่อสู้ระหว่างฝ่ายพันธมิตรกับรัฐบาลสมชายได้กลายเป็นอำนาจที่สาม ซึ่งทั้งสองฝ่ายที่ต่อสู้กันเกิดความเกรงกลัว แต่ด้วยเหตุที่พื้นฐานของอำนาจมาจากกระบอกปืน และ มีประสบการณ์จากการรัฐประหารเมื่อ 19 ก.ย.49 จึงทำให้ต้องเคลื่อนไหวในทางลับในการถ่วงดุลอำนาจในการต่อสู้ครั้งที่ผ่านมา

ในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่นี้ มีความชัดเจนมากขึ้นว่าหลังจากศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยยุบพรรคเมื่อ 2 ธ.ค.51 ส่งผลให้การเผชิญหน้าได้ยุติลงชั่วคราวแต่พื้นที่ในการต่อสู้ตามท้องถนนได้กลับมาต่อสู้ในระบบรัฐสภา โดยเป็นการช่วงชิงของพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยหรืออดีตพรรคพลังประชาชนโดยแต่ละฝ่ายมีเครือข่ายให้การสนับสนุน โดยในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์แล้วมีความชัดเจนว่ามีกลุ่มนักธุรกิจ สื่อมวลชน ซึ่งเคยสนับสนุนฝ่ายพันธมิตรให้การสนับสนุนพรรคการเมืองดังกล่าว ที่สำคัญคือมีทหารที่เคยมีส่วนร่วมรัฐประหารในสมัย คมช. ได้ให้การสนับสนุน รวมทั้งผู้บัญชาการทหารบก โดยปรากฏรายงานว่ามีการลอบบี้กลุ่มเพื่อนเนวิน ให้เปลี่ยนขั้วมาสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ตั้งรัฐบาล ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นความต่อเนื่องในการต่อสู้เพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐที่ยังไม่สิ้นสุดนับตั้งแต่รัฐประหารเป็นต้นมา

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะไม่ประสบผลสำเร็จหากพิจารณาบทบาทของผู้บัญชาการทหารบกที่ผ่านมาเคยเปิดพื้นที่ในเรื่องรัฐบาลแห่งชาติเอาไว้ด้วยเหตุนี้จึงเป็นมาตรการรองรับในขั้นต่อไปหากแผนเปลี่ยนขั้วไม่ประสบผลสำเร็จ

ส่วนของพันธมิตรนั้นเริ่มปรากฏความเคลื่อนไหวในทางการเมืองโดยมีกระแสว่าจะจัดตั้งพรรคการเมือง ชื่อ เทียนแห่งธรรม แสดงให้เห็นว่าการต่อสู้ยังไม่สิ้นสุดจึงต้องมีส่วนร่วมในทางการเมืองในระบบรัฐสภา เนื่องจากเห็นชุมนุมประท้วงได้สร้างความสูญเสียและภาพลักษณ์ต่อประเทศชาติ ดังจะเห็นจากสื่อต่างประเทศ(ซึ่งอำนาจรัฐไทยไม่สามารถควบคุมได้)ได้เผยแพร่ความเกี่ยวพันระหว่างกลุ่มชนชั้นสูงกับพันธมิตรในลักษณะที่เป็นลบมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การประท้วงของกลุ่มดังกล่าว โดยมีความเป็นไปได้ว่าจะอาศัยคะแนนนิยมจากผู้ที่เข้ารวมการประท้วงหรือผู้ที่สนับสนุนอย่างเงียบที่มีความนิยมพันธมิตร การเกิดขึ้นของพรรคการเมืองดังกล่าวน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเครือข่ายทางการเมืองร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ หรือฝ่ายสนับสนุนสถาบันในการควบคุมการเมืองแบบตัวตัวแทนในระบอบประชาธิปไตย(Representative Democracy) ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ไม่สร้างผลกระทบต่อความมั่นคงและภาพลักษณ์ของประเทศมากเท่ากับการเคลื่อนไหวนอกรัฐสภาเฉกเช่นการชุมนุมประท้วงครั้งที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคอยสนับสนุนในแต่ละฝ่าย คือ สื่อมวลชน ถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความชอบธรรมให้กับตนเองหรือการโจมตีฝ่ายตรงข้ามโดยในส่วนพรรคประชาธิปัตย์นั้น สื่อที่คอยให้การสนับสนุนก็คือสื่อที่ให้การสนับสนุนพันธมิตรเช่นเดียวกับกุมทุนจนฝ่ายพันธมิตรมีความมั่นใจว่าแม้จะถูกดำเนินคดีเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งก็มีแหล่งเงินที่คอยสนับสนุนซึ่งอาจรวมถึงการจัดตั้งพรรคการเมืองด้วย ขณะฝ่ายอดีตผู้นำแนวรบด้านสื่อในขณะนี้ใช้ช่องทางจากรายการความจริงวันนี้ ซึ่งในระยะหลังและการจัดรายการเวทีสัญจรใน 13 ธ.ค.51 อาจจะไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนโดยเฉพาะนักธุรกิจ ชนชั้นกลางมากเท่าที่ควรเนื่องจากเกิดความหวาดระแวงว่าหากเครือข่ายอำนาจอดีตผู้นำกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ น่าจะกลายเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้การปลุกระดมอาจจะไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร

แม้ว่าการช่วงชิงอำนาจข้างต้นได้กลับไปสู้วงวนการเมืองยุคเก่า แต่การขาดรัฐบาลในช่วงที่เกิดสูญญากาศทางการเมืองนั้นย่อมส่งผลกระทบต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสมานฉันท์ ปัญหาเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ของประเทศที่ตกต่ำจากความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความเชื่อมโยงกัน หากขาดรัฐบาลที่มีความชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับของประชาชนในประเทศแล้ว คงไม่สามารถผลักดันให้ประเทศไทยกลับมาปกติเหมือนเดิมได้เร็ววัน