วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551

เกมส์การเมืองกับอธิปไตยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2

  • เกมส์การเมืองกับอธิปไตยในจังหวัดชายแดนภาคใต้2

    ในหลักการด้านความมั่นคงแล้วทหารจะเป็นผู้แสดงหลัก แม้ว่าวงการวิชาการได้ขยายแนวความคิดว่าภัยคุกคามในปัจจุบันต้องเพิ่มบทบาทภาคส่วนต่างๆของสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขภัยคุกคามด้วย....แต่ก็เป็นเพียงมุมมองหนึ่ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทหารยังต้องเป็นผู้ค้ำโครงสร้างของประเทศอยู่...แต่บทบาทนี้ต้องปรับใหเข้ากับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง ....เนื่องจากในยุคปัจจุบันเกิดความหลากหลายของผู้น้ำที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง และ แสวงประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ
    การเข้ามาของผู้นำที่มีความหลากหลายส่งผลกระทบกับผู้นำทหารโดยตรงหากไม่ขัดผลประโยชน์ระหว่างกัน ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผ่านมามีตัวแสดงที่มีบทบาทต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบมากมาย ซึ่งหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามโอกาสทางการเมือง.....ในรัฐบาลชุดนี้ ทหารยังเป็นตัวแสดงหลักในพื้นที่และจะถูกโจมตีเสมอมาว่าการแก้ไขปัญหาของทหารไม่มีความคืบหน้า.......และการใช้ความรุนแรงยังนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆตามมาเช่นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นต้น แต่หากพิจารณาประเด็นภายในแล้วเห็นว่าองค์ความรู้ด้านการต่อต้านความไม่สงบของทหารพึ่งเริ่มต้น คงต้องให้โอกาสไปซักพัก......
    ปัญหาที่ทหารต้องเผชิญในปัจจุบันในสนามรบทางภาคใต้ในขณะนี้ คือ นอกจากจะมีนักการเมืองที่ต้องการให้ทหารลดบทบาทในพื้นที่แล้วยังมีองค์กร ภาคสังคมต่างๆกำลังเคลื่อนไหวกดดันให้เห็นความบกพร่องของทหารในการปฏิบัติการในพื้นที่ โดยใช้ประเด็นการเสียชีวิตของโต๊ะอิหม่ามท่านหนึ่ง มาเผยแพร่ว่ากรณีดังกล่าวเป็นกรณีตัวอย่างของการละเมิดสิทธิมนษยชน ซึ่งได้รับการตอบรับจาก องค์กร Human Right Watch Asia นำกรณีดังกล่าวเผยแพร่ไปทั่วโลกเมื่อ 26 มีนาคม 2551 .ในชื่อบทความ Thailand: Imam’s Killing Highlights Army Abuse in South แม้ว่าว่าภาคสังคมไม่มีความเกี่ยวข้องกับนักการเมืองท่านหนึ่ง แต่ทหารคือเป้าหมายเดียวกัน
    ด้วยเหตุนี้ สถานการณ์การเมืองทั้งในระดับชาติและในระดับท้องที่กำลังกดดันทหารอยู่มาก ยังไม่นับรวมกลุ่มก่อความไม่สงบที่กำลังปลุกระดมประชาชนในพื้นที่ให้เกลียดชังทหารและเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงอื่นๆ การเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีความชัดเจนมากขึ้นว่ามีความเชื่อมโยงกับภาคสังคมของมุสลิมมากขึ้นโดยเฉพาะนักศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน นักการเมือง ดังนั้นแนวโน้มของการเคลื่อนไหวในลักษณะ Muslim Mobilization กำลังก่อตัวขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายร่วมทุกภาคส่วนของชาวมุสลิม (Total Movement) เพื่อเรียกร้องทางการเมือง คล้ายกับการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในอาณานิคมที่ต้องการปลดปล่อยประเทศตนเองให้เป็นอิสระในยุคล่าอาณานิคม(ติดตามตอนต่อไป)

ไม่มีความคิดเห็น: