วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การเมืองใหม่เครื่องมือในการต่อสู้กับระบอบทักษิณ

การเมืองใหม่เครื่องมือในการต่อสู้กับระบอบทักษิณ

การเมืองใหม่(new politic)ที่ฝ่านพันธมิตรได้ประกาศเป็นวาระในการต่อสู้กับทุนนิยมการเลือกตั้ง ได้สะท้อนความเป็นจริงของการต่อสู้ทางการเมืองในครั้งนี้ ได้ว่ากลุ่มพันธมติต้องการจะล้มระบอบโดยเฉพาะการทำลายฐานมวลชน การเมือง ที่อดีตนักการเมืองสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นฐานทางอำนาจ สืบทอดอำนาจ โดยใช้ช่องทางทางประชาธิปไตยแบบตัวแทนเป็นเครื่องมือของการต่อสู้ ซึ่งได้ผลเป็นอย่างมากตลอดระยะเวลาที่นักการเมืองผู้นั้นครองอำนาจ

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วหนทางที่จะล้างระบอบดังกล่าวต้องใช้การเมืองใหม่หรือการเคลื่อนไหวของประชาสังคมรูปแบบใหม่(the new social movement) จะเน้นการเคลื่อนไหวในทางการเมืองในลักษณะเรียกร้องกดดันฝ่ายรัฐ โดยใช้วิธีการหรือหลักที่สำคัญ คือ การขัดขืนทางอารยะหรือการดื้อเพ็ง(Civil Disobedience) ซึ่งในทางทฤษฎีเรียกว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองในลักษณะดังกล่าวว่า การเมืองในรูปแบบใหม่หรือขบวนการเคลื่อนไหวทางประชาสังคมในรูปแบบใหม่ (the new politics and the new social movement) วัตถุประสงค์ของขบวนการไม่ต้องการครอบครองอำนาจรัฐเหมือนกับพรรคการเมืองหรือ กลุ่มทุน แต่ต้องการสร้างวาทกรรมทางการเมืองที่เปิดกว้างให้ภาคสังคมมากขึ้น มากกว่าการเมืองที่มีความหมายที่คับแคบเช่นการเมืองแบบตัวแทน หรือการเมืองที่เน้นการเลือกตั้ง ซึ่งอำนาจรัฐจะอยูที่กลุ่มคนในวงจำกัด

ปัจจัย/สาเหตุที่ทำให้การเกิดขึ้นการเมืองในรูปแบบใหม่หรือขบวนการประชาสังคมใหม่ มีสาเหตุมาจากการต่อต้านการเมืองรูปแบบเก่าไม่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคสังคมที่หลากหลายได้ เนื่องจาก
ประการแรก การเมืองแบบเก่าที่เน้นการเลือกตั้ง การเมืองแบบพรรคการเมือง ที่ใช้หรือดำรงอยู่เป็นพียงรูปแบบการรักษาอำนาจและสถานภาพ
ประการที่สอง ปัญหาที่เกิดขึ้นรัฐชาติ รัฐบาล ชุมชนมีความยุ่งยากซับซ้อนในปัจจุบัน ขีดความสามารถของหน่วยงานของรัฐไม่สามารถแก้ไขได้ แต่ต้องการความร่วมมือในรูปของเครือข่ายระดับท้องถิ่น ประเทศ และ สากล
ประการที่สาม ข้อจำกัดทั้งประชาธิปไตยแบบตัวแทน(Representative Democracy)เป็นเพียงการครอบงำจากทุนนิยม ขณะที่ประชาธิปไตยของฝ่ายซ้ายในรูปแบบรัฐสวัสดิการเป็นการมุ่งสลายพลังของประชาชนแต่เป็นการสร้างความเข้มแกร่งให้กับรัฐ เนื่องจากรัฐจะ
ประการที่สี่ การเกิดขึ้นของการเมืองใหม่โดยมีเคลื่อนประชาสังคมใหม่มีความแตกต่างจากประชาสังคมในรูปแบบอาสาสมัคร เนื่องจากประชาสังคมในรูปแบบอาสาสมัครยังเห็นรัฐเป็นตัวกลาง แต่การเมืองในรูปแบบใหม่ต้องการทัดทาน สร้างขีดจำกัดให้กับอำนาจรัฐ ต้องการสร้างพื้นที่/อาณาบริเวณสาธารณะ(the public sphere ) รวมทั้งต้องการสร้างพลเมืองที่มีจิตสำนึกทางการเมืองสูง

เครื่องมือในการต่อสู้ของในการเมืองรูปแบบใหม่ คือ สิทธิในการไม่เชื่อฟังรัฐของประชาสังคมหรือประชาชน (Civil Disobedience) เป็นการแสดงออกที่ไม่เห็นด้วยกับระบบ และเป็นความชอบธรรมของการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย เพื่อสร้าง/เรียกร้องสิทธิใหม่ๆ วัตถุประสงค์ในการสร้างกระแสให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แก้ไขกฏหมาย หรือเป็นช่องทางการเคลื่อนไหวของประชาชนธรรมดาในระบบประชาธิปไตยที่อยู่นอกเหนือช่องทางปกติ นอกเหนือกฎหมาย นอกเหนือสถาบันหลักต่างๆในสังคม แต่เป็นสิ่งชอบธรรมที่สามารถทำได้ รวมทั้งยังตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านกฏหมาย สังคม โดยไม่ได้ปล่อยให้ฝ่ายรัฐ เช่น ผู้พิพากษา นักกฎหมาย นักการเมือง นักวิชาการ ข้าราชการ เป็นผู้ผูกขาดการกำหนดทิศทางการเมืองแต่เพียงฝ่ายเดียว

การดื้อเพ็งหรืออารยะขัดขืน(Civil Disobedience)เป็นหลักการและวิธีการที่ใช้อย่างแพร่หลายเช่นการต่อต้านอังกฤษในอินเดีย การต่อสู้การแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ซึ่งเกิดขึ้นแนวความคิดของนาย เฮนรี เดวิด ธอโร นักเขียนชาวอเมริกันในบทความชื่อดื้อเพ็ง ในชื่อเดิมว่า การต่อต้านรัฐบาลพลเมือง ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเคลื่อนไหวในภาคสังคม

ลักษณะการดื้อแพ็งประกอบด้วย 1)การละเมิดกฎหมาย หรือตั้งใจละเมิดกฎหมาย 2)การไม่ใช้ความรุนแรงหรือแนวทางสัติวิธี 3)การแจ้งล่วงหน้าว่าจะทำการขัดขืนทางอารยะ 4)การเต็มใจที่จะรับผลจาการขัดขืน 5)การกระทำเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมาย 6)การมุ่งสร้างสำนึกความยุติธรรมแก่สังคมโดยรวม

ส่วนการนำวิธีการอารยะขัดขืนมาใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ในการเมืองไทยที่มีความชัดเจนมากขึ้นเมื่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ประกาศอย่างชัดเจนที่ใช้แนวทางดังกล่าวในการต่อสู้กับฝ่ายรัฐ อย่างไรก็ตามแนวทางดังกล่าวได้มีการใช้ในทางวิชาการมาแล้วในระยะหนึ่ง หรือ มีการใช้ในระดับปัจเจกชน เช่น การที่อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉีกบัตรลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อ 2 เม.ย.49

สำหรับการนำเสนอของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยครั้งล่าสุดโดยมีการประกาศการเมืองใหม่ มีสาระให้ที่มาของ ส.ส.มาจากแต่งตั้งร้อยละ 70 และ การเลือกตั้งร้อยละ 30 ในความเป็นจริงแล้วมีวัตถุประสงค์ที่จะลดขนาดการเมืองให้เล็กลงเพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียบเชิงอำนาจที่นักการเมืองมีอำนาจมากกว่าภาคอื่นๆของสังคม

อย่างไรก็ตาม จากการที่แกนนำของฝ่ายพันธมิตรได้รับอิทธิพลของแนวความคิดจากสงครามประชาชนนำมาประยุกต์ใช้ในการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นแนวความคิดของฝ่ายซ้าย แม้ว่าในระยะเวลานี้ยังอยู่ในขั้นของการต่อสู้และยังไม่ชนะ ซึ่งหากฝ่ายพันธมิตรได้รับชัยชนะสิ่งหนึ่งจะมีเปลี่ยนไปอาจเกิดการหลงอำนาจและขับเคลื่อนการเคลื่อนให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม อันจะส่งผลกระทบต่อสถาบันหลักของชาติ

ไม่มีความคิดเห็น: