วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

การพัฒนาประชาธิปไตยกับการต่อสู้ของชนชั้นทางการเมืองในไทย

  1. การพัฒนาประชาธิปไตยกับการต่อสู้ของชนชั้นทางการเมืองในไทย

    ปัญหาความไม่สงบของบ้านเมืองในปัจจุบันนี้ในลักษณะของการเผชิญหน้าและแบ่งเป็นฝักฝ่าย ในทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์แล้วมีคำตอบในทางทฤษฎีมากมายที่จะให้คำตอบได้ว่าทำไมในขณะที่ประเทศชาติพัฒนาเป็นประชาธิปไตย แต่ทำไมไม่เป็นไปตามกรอบของแนวคิดของตะวันตก ที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างทางอารยประเทศ ทั้งนี้การทำความเข้าใจถึงความเป็นจริงและข้อเท็จจริงต้องย้อนกลับไปพิจารณาถึงจุดเริ่มต้นของที่มาที่ไปของระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย

    หากพิจารณาต้นกำเนิดของสายธารประธิปไตยในประเทศไทยไม่ได้มาจากของเรียกร้องจากประชาชนโดยส่วนใหญ่ของประเทศ แต่มาจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ คือ ทหาร นักกฎหมาย ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในปี 2475 การเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นเป็นการเปลี่ยนเชิงโครงสร้างมากว่า การเปลี่ยนระบบความคิดที่จะมีส่วนสนับสนุนให้เกิดประชาธิปไตย หรือ จะเปรียบเทียบให้ชัดคือ เอาเสื้อกันหนาวมาให้ประชาชนใส่ในช่วงหน้าร้อน

    แม้ว่าประชาธิปไตยเป็นแนวคิดที่จะให้และเปิดโอกาสให้เกิดความเท่าเทียมกันของผู้คนในสังคม แต่ในความเป็นจริงยังมีอุปสรรคหรือปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาระบบประชาธิปไตยไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ประกอบด้วย การช่วงชิงการนำทางการเมืองเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ระหว่างผู้นำทางการเมืองเป็นกระแสหลักในระบบการเมืองไทยมากกว่าที่จะเน้นหนักต่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนต่อประชาธิปไตย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ไม่เอื้อต่อการสนับสนุนการพัฒนาประชิปไตย ระบบการศึกษาที่เน้นการท่องจำมากกว่าการคิดและการใช้เหตุผล จิตสำนึกของการเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ถูกปลูกฝังในหมู่ของประชาชนและประชาชนแท้จริงไม่ได้มีส่วนร่วมในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมากนักตลอดระยะเวลา เพราะเป็นเพียงฐานของอำนาจให้กับนักการเมืองหรือผู้นำทางการเมือง ซึ่งจะใช้เป็นข้ออ้างสร้างความชอบธรรมแก่ชนชั้นนำเหล่านั้นมากกว่า

    สำหรับสถานการณ์ของการต่อสู้ทางการเมืองในปัจจุบันสะท้อนให้เห็นถึงนัยที่บ่งบอกถึงความมั่นคงของประเทศ ที่ค่อนข้างจะเปราะบาง เนื่องจาก
    ประการแรก ไม่ชนชั้นใดสามารถจะครอบงำทางความคิดของประชาชนในประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จเหมือนก่อน หลายคนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างอิสระแม้กระทั่งสิ่งที่ไม่ควรพาดพิง
    ประการที่สอง ไม่มีชนชั้นนำสามารถผูกขาดอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเหมือนแต่ก่อน ด้วยเหตนี้ย่อมเกิดการกระทบกระทั่งและต่อสู่ในทุกรูปแบบทุกวิธีเพื่อเอาชนะทางการเมือง
    ประการที่สาม ประชาชนบางส่วนกลายเป็นเครื่องมือของการต่อสู้ครั้งนี้ แต่เสียงของประชาชนส่วนใหญ่ยังอำนาจเงียบที่มีความหมายต่ออนาคตของประเทศหากมีการแสดงพลังและเคลื่อนอย่างบริสุทธิ์ใจที่ต้องการเห็นประเทศชาติดีขึ้น
    ประการที่สี่ แนวโน้มการต่อสูจนถึงขั้นการปะทะมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงในสภาวะเศรษฐกิจกำลังประสบกับภาวะสินค้าในการอุปโภคบริโภคปรับราคาอย่างต่อเนื่อง และการดำเนินนโยบายของรัฐบาลเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนมากกว่า
    ประการที่ห้า แนวทางการแก้ไขความขัดแย้งในครั้งนี้จะเกิดขึ้นได้ยากเพราะต่างฝ่ายไม่ยอมถอยและเห็นต่อประเทศชาติและยังดำเนินการต่อสู้ทุกรูปแบบทั้งในระบบและนอกระบบ รวมทั้งยังมีความพยายามดึงสถาบันเข้ามาเกี่ยวของส่งผลให้เกิดภาพของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นที่ชัดเจนมากขึ้น
    ประการที่หก การนำประเด็นของสถาบันมาแอบอ้าง(จริงหรือไม่)โจมตีน่าจะทำให้การต่อสู้ทางการเมืองครั้งนี้ ขยายวงกว้างออกไปมากขึ้น โดยเฉพาะพลังเงียบของประชาชนชั้นกลางที่มีความคิดสมัยใหม่แบบทุนนิยมที่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษบกิจยุครัฐบาลเสียงข้ามมากและต่อต้านสถาบันโดยไม่แสดงออกอาจะแสดงความไม่พอใจและสนับสนุนการต่อทางการเมืองมากขึ้น(มีต่อ)

ไม่มีความคิดเห็น: