วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ปัจจัยที่จะทำให้ไทยประสบภัยคุกคามการก่อการร้าย

เริ่มปรากฏความชัดเจนทางข้อมูลมีความเชื่อถือในระดับหนึ่งได้ว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังเผชิญกับภัยคุกคามการก่อการร้ายครั้งใหม่(New Age of terrorism) ดังจะเห็นจากรัฐบาลออสเตรเลียสามารถจับกุมกลุ่มผู้ต้องสงสัยจำนวน 4 ราย(พลเมืองออสเตรเลียเชื้อสายโซมาเลียและเลบานอน)ที่มีความเกี่ยวข้องกับเครือข่ายก่อการร้าย Al-Shabaab ในโซมาเลีย มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอัลไคดา ขณะประเทศฟิลิปปินส์กำเผชิญกับการก่อการ้ายอีกครั้งโดยมีการมุ่งกระทำต่อประชาชนผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์มากขึ้น เช่นเดียวกับ อินโดนีเซียได้ประสบกับเหตุการณ์ระเบิดพลีชีพเป้าหมายคือโรงแรมซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์ของตะวันตก เป็นการส่งสัญญาณว่ากลุ่มก่อการร้ายสามารถปรับโครงสร้างและปฏิบัติการได้อีกครั้ง รวมทั้งประเทศไทย แม้ว่ายังไม่มีความชัดเจนถึงความเชื่อมโยงกับการก่อการ้ายในต่างประเทศ แต่ด้วยสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลง ประกอบกับพัฒนาการการก่อความไม่สงบใน จชต.ยังมีความต่อเนื่องไปในทิศทางที่ยังสามารถสร้างความเสียหายให้กับภาครัฐ และเป็นพื้นที่ที่สามารถสร้างความสนใจ

ดังนั้น ต้องมีมาตรการทางลับในการตรวจสอบ การระวังป้องกัน น่าจะทำให้รัฐบาลไม่สามารถรับได้ทันทวงที เนื่องจากเริ่มปรากฏสัญญาณอันตราย(Dangerous Signal) หลายอย่างที่จะส่งผลให้สถานการณ์ความไม่สงบเกิดความรุนแรงขึ้น

สัญญาณแรก คือ การชักชวนให้ทำสงครามศาสนาใน จชต.ในต่างประเทศ(Cross Border Information Operation )มีมากขึ้นและต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากประเทศอินโดนีเซีย แม้ว่าต้องมีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข่าวสารแต่ความต่อเนื่องในการปลุกระดมเป็นสิ่งที่น่ากังวลและต้องให้ความสำคัญในตรวจสอบและควรมีมาตรการรองรับ เนื่องจากที่ผ่านมาการเชิญชวนให้มีการทำสงครามศาสนาในรูปแบบที่หลากหลายประกอบด้วยผ่านเว็บไซด์ หรือ การเชิญชวนการทำสงครามของแกนนำสำคัญ คือ นายAbu Bakar Ba’asyir เรียกร้องให้ทำสงครามศาสนากับชาวไทยพุทธ อาจมีนัยว่าไม่จำเป็นต้องก่อการความไม่สงบใน จชต.เพียงพื้นที่เดียวแต่นอกพื้นที่อีกด้วย และล่าสุดได้มีการจัดหนังสือ เรื่อง Wind from Paradise ประกอบด้วยเรื่องสั้น 4 เรื่องโดน 1 ใน4 นั้นคือ Fragrance from Pattani ประกอบกับกระแสมุสลิมไม่ได้รับความ รวมทั้งนาย Hafif Mukhtar ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนตุรกีเรียกร้องให้ชาวมุสลิมทำสงครามกับรัฐไทย อ้างเพราะสหรับอเมริกา อิสลาเอลให้การสนับสนุนไทย รวมทั้งจากฐานข่าวที่ผ่านมาพบว่าแนวร่วมจากต่างประเทศได้เดินทางเข้าเพื่อจะก่อเหตุใน จ.นราธิวาสแต่ถูกจับกุมเสียก่อน

สัญญาณที่สอง พัฒนาการของสถานการณ์ในพื้นที่น่าเป็นห่วง(More Concern)เนื่องจากแม้ว่ากลุ่มต้องสูญเสียแนวร่วมจาการมาตรการทหารแต่ยังเกิดแนวร่วมใหม่เข้ามาทดแทนและไม่ได้ส่งผลต่อการปฏิบัติการของกลุ่มก่อความไม่สงบ ดังจะเห็นจากมีการพัฒนาการประกอบระเบิดแสวงเครื่องจากจุดชนวนโดยการรากสาย มาเป็นด้วยโทรศัพท์มือถือ รีโมทคอนโทรล ล่าสุดด้วยวิทยุสื่อสาร ซึ่งยังไม่มีการเครื่องตัดสัญญาณ โดยมีการยืนยันว่าอาจเลียนแบบจากประเทศอิรัก รวมทั้งได้มีแนวร่วมไปสังเกตการณ์ก่อนการประชุม ARF และประเทศคู่เจรจาที่ จ.ภูเก็ต แม้ว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงแต่ในด้านการเคลื่อนไหวแล้วอาจจะเป็นการส่งสัญญาณความเป็นไปได้ในการขยายพื้นที่และเพิ่มความรุนแรง หรืออาจจะมีการแผนการสร้างความกังวลใจต่อฝ่ายรัฐหรือทดลองการปฏิบัติการซึ่งหากฝ่ายรัฐไม่มีมาตรการใดๆที่จะระวังป้องกันอาจนำมาสู่การก่อเหตุร้ายได้ในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีความพยายามในทางลับในการสร้างแนวร่วมรุ่นใหม่โดยจัดส่งไปศึกษาในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

สัญญาณที่สาม คือ หน่วยงานความมั่นคงส่วนใหญ่มีความสนใจทางการเมืองขาดความร่วมมือในการผลักดันมาตรการต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกับรัฐบาลสิงคโปร์ที่มีการเตรียมความพร้อมในการผลักดันมาตรการให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดที่สามารถทำได้เพื่อรองรับกับการก่อการ้ายที่จะเกิดขึ้น ทั้งการปรับปรุงสายการบังคับบัญชา การเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยงานทีเกี่ยวข้องกับการต่อต้านการก่อการ้าย หรือ การจัดตั้ง SOFT หรือ Special Operation Task Force สังกัดกองทัพบก หรือการจัดตั้งเครือข่ายภาคประชาชน ส่วนรัฐบาลอินโดนีเซียหลังจากกลุ่มก่อการร้ายได้โจมตีโรงแรมของตะวันตก ได้ปรับมาตรการต่อต้านการก่อการ้ายเช่นเดียวกันได้จัดตั้งหน่วยงานข่าวกรองประจำหน่วยทหารในทุกจังหวัด การเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายประชาชน การรวมมือกับต่างประเทศในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านข่าวกรอง ขณะที่ฝ่ายการเมืองในไทยมีความสนใจแค่การรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของรัฐบาลเป็นหลักขาดความสนใจต่อสภาพแวดล้อมของการต่อสู้ และโดยความไม่จริงจังน่าจะทำให้เกิดกลุ่มก่อความไม่สงบฉวยโอกาสสร้างกระบวนการความรุนแรงในพื้นที่ให้รุนแรงมากขึ้นด้วย

สัญญาณที่สี่ คือ ปัจจัยภายนอก(External Factor)การต่อสู้การก่อการร้ายในสนามรบอิรักมีความคืบหน้าโดยรัฐบาลสหรัฐให้ชาวอีรักปกครองกันเอง ส่งมีแนวโน้มการถอนกำลังจากอีรักของสหรัฐอเมริกาในอนาคต อันมีความเป็นไปได้นักรบมูจาฮีดีที่เป็นชาวมุสลิมจะเดินเข้ามาในภูมิภาคและแสวงหาสนามรบใหม่โดยพื้นที่ จชต.อาจจะเป็นพื้นที่หนึ่งที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการปลดปล่อย

ไม่มีความคิดเห็น: