ความเข้ากันไม่ได้ทางการเมือง
ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยขณะนี้ในทางวิชาการมีสิ่งที่เรียกว่าความลักลั่นหรือ ที่เรียกว่า Paradox คือ ความไม่สามารถเข้ากันได้ ทั้งจากฝ่ายพันธมิตรและรัฐบาล ก่อนจะเข้าในสาระสำคัญ คงต้องทำความเข้าใจถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นของความขัดแย้งหรือบางฝ่ายเห็นว่าเป็นสงคราม แต่หากพิจารณาถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตลอดระยะ100กว่าวันของชุมนุมของฝ่ายพันธมิตร กดดันรัฐบาลจะเห็นลักษณะบางประการที่น่าสนใจ
จุดมุ่งหมายของการต่อสู้ของฝ่ายพันธมิตรไม่มีความชัดเจนว่าทำเพื่อสร้างการเมืองใหม่ในระบบประชาธิปไตยมีความมุ่งหมายอย่างไร แม้ว่าจะไม่ต้องการให้นักการเมืองมีบทบาทแต่ในความเป็นจริงในโลก นักการเมืองต้องมาจากเลือกตั้งเกือบทุกประเทศที่เป็นประชาธิปไตย และการเสนอแนวความคิด 70:30 มันขัดกับหลักประชาธิปไตย ดังนั้น ต้องมีการถามคนทั้งประเทศหรือต้องมีการศึกษาข้อดีข้อเสียโดยให้ประชาชนของประเทศให้เป็นผู้ตอบความต้องการของตนเอง
อีกประการหนึ่งการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกนั้น เพื่อให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่มีคำถามมากมายว่าจะให้ใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีและหากต้องการให้ ส.ส.พรรคพลังประชาชนยุติบทบาทแล้วปัญหามันจะยุติความขัดแย้งหรือเป็นการเพิ่มความขัดแย้ง เพราะในขณะนี้ ในแง่สังคมวิทยาแล้วความขัดแย้งมันถูกจัดตั้งขึ้นและมีการกล่อมเกลาไปทุกพื้นที่ มันจึงเป็นกลไกที่จะสร้างความขัดแย้งด้วยตัวของมันเอง ด้วยบทสรุปข้างต้นทำให้พันธมิตรไม่มีความแตกต่างกับนักการเมืองเท่าไหร่นัก
การพยายามขยายวงกว้างให้เกิดการประท้วงกดดันของฝ่ายพันธมิตรเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความต้องการมีส่วนร่วมแต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นเพื่อรักษาสถานะของพันธมิตรหรือไม่เพราะในแง่ของแกนนำแล้วมีหมายจับคดีกบฏ ดังนั้นหากมีมวลชนสนับสนุนฝ่ายรัฐก็จะไม่กล้าดำเนินการใดๆตามกฎหมาย
การที่กลุ่มพันธมิตรพยายามรักษารัฐธรรมนูญปี 2550ที่หลายฝ่ายเห็นว่าเป็นประชาธิปไตยนั้น ยังมีคำถามว่ารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะการปฏิวัติแม้จะมีการจัดทำประชามติแล้วมาจากความต้องการของประชาชนหรือไม่
ส่วนรัฐบาลมีความชัดเจนว่าต้องการรักษาอำนาจแม้ว่าจะอ้างว่าทำเพื่อรักษาระบบของประเทศทั้งที่ที่ผ่านมาระบบของประเทศล้มเหลวมาตลอด คงต้องใช้การเยียวรักษาเสียมากว่าซึ่งต้องอาศัยทุกภาคส่วนของสังคมช่วยกัน นอกจากนี้ นักการเมืองยังไม่ได้ตระหนักว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากตนเองเสียส่วนใหญ่ ดังจะเห็นจากยังมีการต่อรองก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำตัดสินนายกรัฐมนตรีผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่กรณีเป็นพิธีกร ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการทำให้เห็นว่านักการเมืองยังยึดผลประโยชน์ในระยะสั้นมากว่าผลประโยชน์ในระยะยาว และมีบางส่วนยังต้องการต่อสู้ในครั้งนี้ต่อไป
ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกฝ่ายต้องทบทวนด้วยความเป็นจริงที่ว่าการต่อสู้ครั้งนี้ เป็นเพียงความขัดแย้งของชนชั้นปกครองในรูปแบบสงครามตัวแทน แต่มีสิ่งที่คุมไม่ได้คือการสร้างมวลชนของแต่ละฝ่ายเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง จึงเป็นสิ่งท้าทายว่ามันจะจบลงอย่างใดเพราะว่าหากประชาชนที่เป็นมวลชนติดกระแสของการต่อสู้เสียแล้วกฎหมายก็ไม่สามารถใช้การได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
ถ้าจะเปลี่ยนเรื่องหนักๆทางการเมือง เป็นเรื่องบันเทิงเริงรมย์บ้างน่าจะดี
แสดงความคิดเห็น