วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ภาพการเมืองที่ไม่แน่นอนและยังมีแนวโน้มที่จะรุนแรงอีกครั้ง

ภาพการเมืองที่ไม่แน่นอนและยังมีแนวโน้มที่จะรุนแรงอีกครั้ง

แม้ว่าหลายฝ่ายจะเห็นว่าศาลเป็นที่พึ่งในยามบ้านเมืองเกิดความขัดแย้งจนเกือบจะมีแนวโน้มเป็นสงครามกลางเมือง แต่ผลของการตัดสินจะทำให้สถานการณ์ดูดีขึ้นแต่ในยามนี้ ยังไม่สามรถนิ่งนอนใจได้กับภาพที่ปรากฏเพราะเมื่อเป็นความขัดแย้งทางด้านชนชั้นแล้วในการดำรงอยู่ย่อมยังไม่เปลี่ยนแปลง เพราะยังฝ่ายใดเป็นผู้ชนะได้อย่างเบ็ดเสร็จ ในทางตรงกันข้ามกลับยังมีความเคลื่อนไหวในทางลึกที่อาจจะวันปะทุกลับขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากสาเหตุของปัญหาเป็นการยุติที่ปลายเหตุซึ่งเกิดขึ้นจากกระแสความต้องการของสังคมหรือเป็นผลจากการวางแผน

สำหรับปัจจัยหรือเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในลักษณะเดิมอีกครั้งนั้นคาดว่าจะมาจากความคาดหวังของสังคมที่มีต่อเครือข่ายนักการเมืองของพรรคการเมืองเก่าเป็นหลัก โดยต้องการให้เครือข่ายดังกล่าวยุติบทบาท แต่ยังดูเหมือนว่าไม่มีการตอบรับจากกระแสความต้องการข้างต้น แต่ยังเกิดความพยายามที่จะสืบทอดอำนาจ รักษาอำนาจของเครือข่ายนักการเมือง ซึ่งดูเหมือนว่าอาจจะได้รับการตอบโต้มากขึ้น เพราะหลายฝ่ายเห็นว่าเป็นต้นเหตุของความวุ่นวาย

อย่างไรก็ตาม เครือข่ายนักการเมืองยังมีความพยายามอย่างเต็มที่ต่อการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ที่ยังเป็นตัวแทนของอดีตผู้นำและมีความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเอื้อต่อนักการเมืองที่ถูกลงโทษ ในประเด็นนี้มีความเป็นไปได้สูงว่าหากไม่เกิดกรณีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างฉับพลันโดยมีส.ส.บางส่วนของพรรคพลังประชาชนเปลี่ยนขั้วการเมืองไปสนับสนุนฝ่ายค้าน ยังมีความเป็นไปได้สูงหากเครือข่ายอดีตผู้นำกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ซึ่งปัจจัยนี้น่าจะเป็นปัจจัยหลักที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะทำให้ฝ่ายพันธมิตรออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้งเช่นกัน

ที่สำคัญดูเหมือนว่าแนวโน้มการกลับมาของรัฐบาลอดีตผู้นำเป็นไปได้ค่อนข้างอยากและยังคงมีอุปสรรค เพราะกำลังได้รับการคัดค้านจากสื่อมวลชนสายกลางที่เสนอแนวทางรัฐบาลแห่งชาติ สื่อมวลชน ภาคเอกชน ที่นิยมฝ่ายพันธมิตรโดยล่าสุดคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตาสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย สนับสนุนการตั้งรัฐบาลโดยพรรคการเมืองอื่นที่ไม่ใช้พรรคเพื่อแผ่นดิน รวมทั้งข้าราชการ ที่สำคัญฝ่ายพันธมิตร ที่ต้องการให้เกิดรัฐบาลที่เกิดขึ้นใหม่ที่ไม่ได้มาจากอดีตพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นการสร้างกระแสในสังคมและมีแนวโน้มที่จะเกิดการตอบรับจากสังคม โดยเห็นว่าหากเครือข่ายดังกล่าวกลับมามีอำนาจอีกน่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอีกครั้งซึ่งไม่เป็นผลดีต่อบ้านเมือง

ทั้งนี้คาดว่า หากมีแรงกดดันจากสังคม ฝ่ายตรงข้าม และ ข้อตกลง/ผลประโยชน์ทางการเมืองไม่ลงตัวระหว่างกลุ่มการเมืองที่มีมากกว่า 20 กลุ่ม ในพรรคร่วมรัฐบาลเดิม อาจจะกลายเป็นแรงกดดันให้เกิดการยุบสภาคืนอำนาจให้กับประชาชนโดยแนวทางข้างต้นนั้นแม้ว่าจะมีการเรียกร้องจากสื่อมวลชนมากขึ้นแต่คาดว่าอาจจะได้รับการปฏิเสธจากนักเลือกเมืองอย่างไรก็ตามหากถูกรุกทางการเมืองมากขึ้นทั้งจาก ส.ว.ที่ยืนเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการสิ้นสุดของ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคซึ่งเป็นการสกัดกั้นไม่ให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่

นอกจากนี้ เครือข่ายต่อต้านอดีตนักการเมืองยังมีการผลักดันให้เปลี่ยนขั้วอำนาจโดยให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลเริ่มปรากฏความเป็นไปได้เมื่อมีการลอบบี้ให้กลุ่มการเมืองบางให้ถอนตัวมาสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ โดยคาดว่ากลุ่มการเมืองดังกล่าวจะเป็นตัวแปรหลักที่ทำให้เกิดความเป็นไปได้ เนื่องจากหากพรรคดังกล่าวเป็นรัฐบาลย่อมส่งผลให้คดีต่างที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายพันธมิตรมีความเบาบางลงได้มาก โดยเฉพาะค่าชดใช้ความเสียทางแพ่งที่เกี่ยวกับการปิดล้อมสถานที่ราชการ สำหรับความคืบหน้ายังไม่มีความชัดเจนมากนัก แต่มีการต่อรองให้อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายรัฐมนตรี ซึ่งดูเหมือนว่ามีความเป็นไปได้มากแต่หากจะได้รับการต่อต้านจากเครือข่ายอดีตผู้นำโดยเฉพา นปช.

อย่างไรก็ตามไม่ว่าภาพทางการเมืองจะออกมาทางด้านไหนแต่เชื่อว่าความมั่นคงในประเทศไทยคงไม่เกิดในเร็ววันนี้ เพราะต่างฝ่ายยังต้องการอำนาจรัฐเพื่อใช้ในการเอาชนะฝ่ายตรงข้าม ซึ่งหมายความว่าความขัดแย้งยังมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ดังนั้นหากทุกฝ่ายยอมถอยเพื่อชาติเพื่อส่วนรวมโดยยอมทิ้งอัตตาแล้ว เชื่อว่ายังมีโอกาสที่ดีที่จะทำให้ประเทศสามารถเดินไปได้อีกครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น: