วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การแก้ไข้รัฐธรรมนูญไม่ใช้คำตอบสุดท้ายในการแก้ไขวิกฤติการเมือง

การแก้ไข้รัฐธรรมนูญไม่ใช้คำตอบสุดท้ายในการแก้ไขวิกฤติการเมือง

กระแสการตอบรับถึงข้อเสนอของอธิการบดี 24 สถาบันในวงกว้างได้กดดันให้รัฐบาลต้องนำมาบรรจุเป็นนโยบายที่จะมีการแถลงต่อรัฐสภาระหว่าง6-7 ต.ค.51โดยคาดว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือ ส.ส.ร.3 คงจะไม่ใช้คำตอบที่สำเร็จรูปว่าเมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วทุกอย่างจะสงบลงได้อย่างที่หลายฝ่ายกำลังคิดกันอยู่ เนื่องจากมันเป็นวิธีการคิดของคนไทยในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองในลักษณะอยากให้ปัญหาจบลงโดยเร็ว แต่ไม่ตระหนักว่ากระบวนการยุติปัญหาเพื่อให้มีการพัฒนาในระบบประชาธิปไตยนั้นต้องใช้เวลาตามแนวความคิดของพัฒนาการทางการเมือง หรือ Political Developement รวมทั้งยังไม่มีความเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของสังคมไทยในแง่ของจิตวิทยาหรือนิสัยของความเป็นไทย กล่าวคือ

ประการแรก เมื่อความคิดแย้งที่เห็นอยู่มันแบ่งแยกอย่างชัดเจนแล้วในลักษณะคู่ตรงข้าม(Binary Opposition) มันก็ไม่มีความแตกต่างจากความขัดแย้งระหว่างระหว่างโรงเรียนเทคนิคที่มักจะมีการยิงหรือทำร้ายร่างกายเมื่อเผชิญหน้ากันหรือหากรู้ว่าเป็นศัตรูก็ทำร้ายร่างกายโดยไม่มีความจำเป็นต้องสอบถาม ซึ่งการเมืองไทยจนถึงวันนี้ กำลังเป็นภาพขยายของอีกด้านสังคมในด้านลบเฉกเช่น ความขัดแย้งของนักเรียนอาชีวะ ดังนั้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ทุกอย่างสมานฉันท์กันได้แต่ปฏิรูปภาคสังคมทั้งระบบด้วยเพราะพื้นฐานของการเมืองเก่าในปัจจุบัน

ประการที่สอง มีความต่อเนื่องจากประเด็นแรกก็คือ การเมืองสะท้อนสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมหรือไม่สามารถแยกออกจากสังคมโดยส่วนรวมได้ เมื่อแก้รัฐธรรมนูญโดยไม่ได้แก้สังคมหรือการเปลี่ยนแปลงตนเองได้แล้วมันก็ไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพได้ เพราะสังคมยังปฏิบัติตัวเหมือนเดิม เนื่องจากมีกรอบของความคิด วัฒนธรรม ความเชื่อที่ยังขัดต่ออุดมการณ์ความเป็นประชาธิปไตยอยู่ ผู้คนในสังคมยังมีกรอบความคิดที่ยังไม่เอื้อต่อระบบประชาธิปไตยแบบตะวันตก ดังนั้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการปฏิรูปสังคมทั้งระบบด้วย โดยเฉพาะการศึกษา ของไทยค่อนข้างล้าสมัยเมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง ดังนั้นหากสามารถผลักดันการปฏิรูประบบการศึกษาซึ่งเป็นขั้นแรกในการปฏิรูปสังคม แนวโน้มการเมืองไทยน่าจะดีขึ้นในภายภาคหน้า

ประการที่สาม พลังในการขับเคลื่อนต้องมีความชอบธรรม(Legitimacy)หากเริ่มต้นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญขาดความชอบธรรม อันเกิดจากการยอมรับของคนทั่วประเทศแล้ว ผลที่ตามมาก็จะเกิดขบวนการล้มและไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ อันนำไปสู้การต่อสู้ทางการเมืองอีกครั้ง ปัญหาที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องช่วยกันผลักดันก็คือว่าทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดความชอบธรรมที่เกิดขึ้นจากการยอมรับและไม่มีช่องทางในการปฏิเสธของคนบางกลุ่มได้ สำหรับสถานการณ์ในแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 3 นี้ ยังอยู่ในขั้นตอนที่สำคัญคือการสร้างความชอบ หากขั้นตอนนี้ประสบผลสำเร็จแล้วขั้นตอนอื่นไม่น่าจะมีปัญหามากนัก อย่างไรถือว่าเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากที่สุด
ประการที่สี่ จากการที่ประเทศไทยมีวัฒนธรรมอุปถัมภ์โดยผู้ใหญ่จะเป็นตัวเกื้อกูลสนับสนุนผู้น้อย หากผู้ใหญ่สามารถเป็นตัวหลักที่ได้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่มีการสนับสนุนแทรกแซงกระบวนการน่าจะทำให้เป็นไปได้ด้วยดี แต่หากผู้ใหญ่ในบ้านเมืองยังไม่มีการละทิ้งซึ่งความแค้น ความเกลียดชังแล้วแม้จะสามารถผลักดันกระบวนการแก้ไขได้ก็จะนำมาสู่การไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญในที่สุด

ประการที่ห้า ประชาชน สื่อมวลชน ในประเทศต้องช่วยกันในการตรวจสอบหรือผลักดันให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีความชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับมากที่สุด โดยต้องแสดงพลังกดดันให้ฝ่ายรัฐบาลไม่ดำเนินการใดๆด้วยการแอบแฝง ขณะที่นักการเมืองต้องปรับตัวเช่นกันว่าหากสามารถเสียสละอำนาจที่เคยใช้อย่างมากมายและหันมาสร้างกติกา โครงสร้าง ที่สังคมยอมรับแล้วน่าการทำเพื่อประโยชน์ในระยะยาวของประเทศมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว

แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ใช้คำตอบสุดท้ายในการแก้ไขวิกฤติทางการเมืองในครั้งนี้ แต่เปรียบเสมือนโครงสร้างของการใช้อำนาจหากไม่มีแล้วการใช้อำนาจจะไม่สามารถสร้างประโยชน์ต่อบ้านเมืองได้หรือใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมโดยไม่มีแนวทางกำหนดไว้ ประกอบกับผู้ใช้เองต้องตระหนักถึงการใช้อำนาจด้วยโดยต้องพึงสังวรว่า ต้องใช้อำนาจเพื่อทำประโยชน์กับประชาชน อย่ายึดติดอำนาจหรือเห็นว่าตนเองคืออำนาจ แล้วน่าจะทำให้รัฐธรรมนูญมีความศักดิ์มากกว่าที่เป็นอยู่และไม่นำมาสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: