- ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง2
ในการทำความเข้าในทางด้านความคิดซึ่งนำมาสู่ความขัดแย้งนั้นมันไม่ได้เกิดด้วยตัวของมันเองแต่ต้องมีเงื่อนไข/ปัจจัยต่างๆหากเรียงตามความสำคัญของสาเหตุที่นำไปสู้ความขัดแย้งอย่างรุนแรง จนไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างทันที อันดับแรก ศาสนา(Religious) และ ความเชื่อ(Belief) แม้ว่าในวงการด้านศาสนามีความเห็นคล้ายกันทั่วโลกว่าทุกศาสนารักสันติ แต่ก็เป็นเพียงภาพลักษณ์หนึ่งที่เป็นบวก(Positive)เท่านั้น เพราะหากย้อนอดีตกับไปจะเห็นได้ชัดว่าศาสนาเป็นต้นเหตุที่สำคัญของการทำสงครามอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ Crusade หรือ ในยุคปัจจุบันศาสนาก็ยังกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของสงครามการก่อการร้ายยุคใหม่ ที่ไม่มีความแตกต่างกับในอดีตมานัก แต่จะมีความแตกต่างตรงที่ว่าสงครามยุคนี้ไม่มีพรมแดน(Boundary) เพราะสงครามชนิดนี้จะอยู่ในความคิดก่อนเมื่อถึงเวลาที่สุกงอมมันก็จะระเบิดออกมาเป็นสงครามระหว่างเชื่อชาติและศาสนา
นอกจากนี้ ความคิดด้านศาสนายังเป็นตัวขับเคลื่อนความคิดหนึ่งที่สำคัญของตะวันตก ดังจะเห็นการประกาศสงครามการต่อต้านการก่อการร้ายของประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาหรือที่เรียกว่า Global War on Terrorism หรือ GWOT แท้จริงแล้วมีสาเหตุของแนวความคิดที่แบ่งแยกความเป็นฝักฝ่าย คือ Binary Opposition ซึ่งเป็นพื้นฐานความคิดของตะวันตกมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แนวความคิดดังกล่าวยังนำมาสู่การแข่งขันทางการเมืองที่แบ่งเป็น 2 พรรคใหญใน สหรัฐอเมริกา แล้วประเทศไทยก็เลียนแบบกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งทางด้านความคิดที่พัฒนามาสู่ความรุนแรงทางด้านการเมือง แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหามาตรการเยียวยาในลักษณะสมานฉันท์ แต่ควรยอมรับข้อเท็จจริงว่าเราไม่มีแนวความคิดที่เรียกว่าความรักชาติ/ประเทศ(Patriotism)(มีความแตกต่างกับNationalism เพราะคำนี้มีความหมายในแง่ลบ)ในนิสัยของคนไทยเหมือนกับสหรัฐอเมริกา แล้วจะสมานฉันท์อย่างไร
ปัญหาของฝ่ายความมั่นคงไทยที่ต้องขบคิดอยู่ตรงที่ว่าจะทำอย่างไรที่จะสลายความคิดที่เกิดความเข้าใจผิดของผู้ไม่หวังดีที่นำศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือในการก่อความไม่สงบมาเป็นระยะเวลานานได้ เพราะหากขาดความเข้าใจถึงข้อเท็งจริงแล้วยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจะหลงทางไปในที่สุด ภาระกิจแรกในการต่อสู่กับความเชื่อที่ผิดนั้นมีผู้หวังดีกล่าวว่าต้องมีการสร้างความไม่วางใจระหว่างกันแต่นั้น เป็นภาพกว้างแต่ควรเสนอมารตรการรองรับด้วยซึ่งต้องอยู่เป็นพื้นฐานของการสำรวจระดับความขัดแย้งในสังคมภาคใต้ว่าอยู่ในระดับใด(to be continued)
วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551
ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง 2
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
2 ความคิดเห็น:
รอติดตาม ข้อมูลใหม่ๆอยู่ นะครับ,เป็นเรื่องที่ดีที่ได้รับมุมมองใหม่ๆ
การปลุกเร้าให้สถานการณ์แตกหัก จะนำไปสู่ ทิศทางใหม่ของสถานการณ์ ได้อย่างไรบ้าง .. เหตุการณ์สงบ หรือ มีความรุนแรงมากขึ้น
แสดงความคิดเห็น