วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2551

รัฐไทยกำลังจะสูญเสียดินแดนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้?

รัฐไทยกำลังจะสูญเสียดินแดนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความชัดเจนมากขึ้นว่า รัฐบาลไทยกำลังใช้แนวทางการเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ คือ PULO กับ BRN เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ แนวทางดังกล่าวแม้ว่ารัฐบาลจะไม่บอกโดยตรง แต่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐมนตรีท่านหนึ่งได้มอบหมายให้กลุ่มการเมืองหนึ่งเป็นตัวแทนเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ

ที่สำคัญจากการที่กลุ่ม PULO โดยนายกัสตูรี มะกอตอ หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในลักษณะที่ฝ่ายรัฐเป็นผู้เลือกว่าเป็นกลุ่มที่ต้องเจรจาเพื่อเป็นการปูพื้นหรือสร้างกระแสว่า ฝ่ายรัฐได้มีการเจรจากับกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการและยังเป็นการเรียกร้องให้ฝ่ายรัฐเริ่มกระบวนการเจรจา อย่างจริงจัง

การเจรจาในครั้งนี้คาดว่าฝ่ายไทยจะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบและยังเสียศักดิ์ศรี เพราะเป็นผู้เสนอหรือเดินเข้าไปหากลุ่มก่อความไม่สงบเอง ทั้งที่สถานการณ์ในความเป็นจริงฝ่ายรัฐไทยยังไม่ทำงานอย่างจริงจังต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะการเสียสละอคติในแต่ละหน่วยงานรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวก่อนเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังเสียก่อน ทั้งนี้ หากได้ทำอย่างเต็มที่แล้วค่อยบากหน้าไปใช้การเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ

นอกจากนี้ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ฝ่ายรัฐยังสามารถควบคุมหรือมีความได้เปรียบในการต่อสู้มากขึ้น.... สถานการณ์ที่เกิดขึ้นยังจำกัดอยู่ในพื้นที่ยังไม่มีการขยายแนวรบออกนอกพื้นที่เช่น กทม.หรือเมืองใหญ่อื่นๆ ที่จะทำให้ฝ่ายรัฐตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ..และยังไม่มีการแทรกแซงจากอำนาจเหนือชาติจากภายนอกประเทศ รวมทั้ง ระยะเวลาในการต่อสู่เพียง 5 ปี หากใช้วิธีการเจรจาทำให้เห็นถึงการถอดใจของฝ่ายรัฐ

ส่วนข้อที่จะทำให้ฝ่ายรัฐเสียเปรียบคือร่างข้อเสนอของกลุ่มยังมีการเรียกร้องที่รุนแรงในระดับที่ทำให้รัฐต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยเมื่อเปรียบเทียบกับข้อเสนอสันติภาพที่เคยจัดทำขึ้นก่อนหน้านั้น เช่นข้อเสนอของหะยีสุหลง หรือ เบอร์ซาตู ที่ต้องการให้ฝ่ายรัฐเคารพแค่อัตตลักษณ์ของชาวมลายู-ปัตตานี มากกว่าความต้องการแบ่งแยกดินแดน

ด้วยเหตุนี้ การที่กลุ่ม PULO กำลังกดดันให้ฝ่ายรัฐดำเนินการตอบสนองการเจรจาโดยอ้างว่ามีความพร้อม...น่าจะเป็นหลุมพรางที่ขุดไว้ให้ฝ่ายรัฐโดยการนำคณะมนตรีชุดนี้เดินทางเข้าสู่กับดัก...และหากจะมีการเสียดินแดนในครั้งนี้....น่าจะเกิดขึ้นจากผู้บริหารในรัฐบาลมากกว่า....เป็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบเอง...(มีต่อ)

วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551

ทางเลือกที่สามที่จะสามารถยุติความขัดแย้งทางการเมืองในไทย

  • ทางเลือกที่สามที่จะสามารถยุติความขัดแย้งในไทย

    ปัญหาหนึ่งที่หน่วยงานความมั่นคงต่างๆเห็นว่าต้องรีบแก้ไข คือการแตกความสามัคคีของคนภายในชาติซึ่งเริ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งเป็นผลจากการแข่งขันในการช่วงชิงอำนาจระหว่างผู้นำทางการเมือง(Political Elite) จำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มรักทักษิณ กับ กลุ่มต่อต้าน หรือเป็นการต่อสู้ระหว่างนักธุรกิจที่เห็นว่าข้าราชการที่อิงกับสถาบัน หรือ ทุนนิยมกับศีลธรรม โดยระดับของความขัดแย้งอาจกล่าวได้ว่ามีการพัฒนาไปในทางที่ไม่สามารถจะรอมชอมกันได้ และ ยังทวีความรุ่นแรงมากขึ้นในสภาวะที่โครงสร้างทางสังคมในประเทศไม่มีพื้นฐานของความรักชาติและทางสายกลางซึ่งเป็นคำสอนของศาสนาพุทธรองรับแม้แต่น้อยในขณะที่ประชาชนส่วนใหญานับถือศาสนาพุทธ

    การจัดภาระกิจเบื้องต้นของหน่วยงานความมั่นคงดูเหมือนว่าหน่วยงานด้านความมั่นคงยังไม่มีความเข้าใจสถานะของตนเองมากนัก เพราะในฐานะฝ่ายข้าราชการซึ่งต้องปฏิบัติตามนโยบายของนักการเมืองในคราบผู้บริหารประเทศจึงไม่มีทางเป็นไปได้ รวมทั้งในการประเมินระดับความขัดแย้งเป็นเพียงผลผลิตที่ค่อนข้างตื้นเขินในแง่ของความคิดเพราะเมื่อเกิดความขัดแย้งทางด้านความคิดจนสามารถทำให้ประชาชนเลือกข้างได้นั้นหมายความว่ามันเป็นความขัดแย้งในขั้นรุนแรงในลักษณะการเป็นปฏิปักษ์(Binary Opposition) เพราะปรากฏการที่เห็นมันเต็มไปด้วยความเกลียดชังและพร้อมที่จะเผชิญหน้า โดยมีประชาชนเป็นเครื่องมือของการต่อสู้

    การต่อสู้ทางการเมืองในครั้งนี้ จะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตราบใดที่กำลังของแต่ละฝ่ายยังมีความใกล้เคียงกัน ซึ่งพิจารณาจากขุมกำลังของแต่ละฝ่ายดังนี้
    ฝ่ายทักษิณ ....มีความได้เปรียบอำนาจทางการเงิน ควบคุมฝ่ายบริหาร ควบคุมข้าราชการได้บางส่วน เช่น องค์กรตำรวจกำลังกลายเป็นสนามรบขนาดเล็กของการต่อสู้ระหว่างคน 2 กลุ่ม ซึ่งเห็นได้ชัดว่าน้องภรรยาอดีต นรม.กลับมาในเส้นทางสายตำรวจอีกครั้ง ทหารที่ถูกควบคุมในสมัยทักษิณมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นหลังการปฏิวัติ แต่ยังด้วยเหตุที่ ผบ.ทบ.รุ่นเดียวกันกับอดีต นรม.และยังมีความขัดแย้งกับอดีต ประธาน คมช.ทำให้ ผบ.ทบ.คนปัจจุบันอาจเป็นตัวแปรสำคัญในการต่อสู่ครั้งนี้แม้ว่าจะพยายามวางตัวเป็นกลาง
    ส่วนประชาชนในบางพื้นที่ได้กลายเป็นผู้ภักดีต่อระบบทักษิณยังคงมีความจงรักภักดี ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีความต่อเนื่องเมื่อรัฐบาลได้ผลักดันนโยบายประชานิยมเพื่อเป็นหลักประกัน เป็นเกราะกำบัง ฐานทางอำนาจในการต่อสู่กับฝ่ายตรงข้าม ซึ่งดูเหมือนว่าแนวรบที่มีประชาชนเป็นผู้สนับสนุนจะทำให้ได้เปรียบฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากสื่อต่างประเทศอีกเช่นกัน

    ฝ่ายต่อต้านทักษิณ ....เป็นตัวแทนของผู้ที่ผูกขาดความเป็นชาติและศีลธรรม(ป.ปธ.อ.)ซึ่งมีความได้เปรียบทางรูปธรรมคือ อำนาจศีลธรรม ความซื่อสัตย์ โดยทำการต่อสู้ผ่านตัวแทนที่มีความใกล้ชิด รวมทั้งทหารสายที่มีส่วนร่วมในการปฏิวัติหรือที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการแต่งตั้งในสมัยทักษิณ....ที่สำคัญหากมองลงไปลึกก็จะเห็นถึงความสัมพันธ์กับสถาบันที่เก่าแก่หนึ่ง....ทำให้เกิดความเหนือกว่าใงแก่ของอำนาจที่มองไม่เห็น โดยประชาชนและสื่อมวลชนที่ติดตามการเมืองจะเข้าใจดี
    เมื่อพิจารณาตัวแสดงที่จะเป็นการชี้ขาดยังอยู่ที่ภาคประชาชนและทหาร

  • อย่างไรก็ตาม หากไม่ต้องการให้เกิดการเผชิญหน้าจนอาจเกิดการปะทะถึงขั้นนองเลือด หน่วยงานความมั่นคงต้องใช้การสร้างเครือข่ายภาคสังคม(Social Network)โดยต้องให้คนจำนวนมากออกมาแสดงพลังหรือต้องมีสร้างพลังที่สามที่(Third Power)ขนาดใหญ่จำนวนมาก(Mass) โดยต้องมีความหลากหลายไม่ถูกครอบงำจาก ประกอบด้วย ชนชั้นกลางบริสุทธิ์ที่ไม่อิงการเมือง ประชาชนชั้นล่างที่ต้องการเห็นประเทศเกิดการพัฒนามากกว่าที่เป็นอยู่ ข้าราชการ นักธุรกิจ ที่ไม่อิงการเมือง (มีต่อ)

วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551

เกมส์การเมืองกับอธิปไตยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2

  • เกมส์การเมืองกับอธิปไตยในจังหวัดชายแดนภาคใต้2

    ในหลักการด้านความมั่นคงแล้วทหารจะเป็นผู้แสดงหลัก แม้ว่าวงการวิชาการได้ขยายแนวความคิดว่าภัยคุกคามในปัจจุบันต้องเพิ่มบทบาทภาคส่วนต่างๆของสังคมให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขภัยคุกคามด้วย....แต่ก็เป็นเพียงมุมมองหนึ่ง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทหารยังต้องเป็นผู้ค้ำโครงสร้างของประเทศอยู่...แต่บทบาทนี้ต้องปรับใหเข้ากับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง ....เนื่องจากในยุคปัจจุบันเกิดความหลากหลายของผู้น้ำที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง และ แสวงประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ
    การเข้ามาของผู้นำที่มีความหลากหลายส่งผลกระทบกับผู้นำทหารโดยตรงหากไม่ขัดผลประโยชน์ระหว่างกัน ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผ่านมามีตัวแสดงที่มีบทบาทต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบมากมาย ซึ่งหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามโอกาสทางการเมือง.....ในรัฐบาลชุดนี้ ทหารยังเป็นตัวแสดงหลักในพื้นที่และจะถูกโจมตีเสมอมาว่าการแก้ไขปัญหาของทหารไม่มีความคืบหน้า.......และการใช้ความรุนแรงยังนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆตามมาเช่นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นต้น แต่หากพิจารณาประเด็นภายในแล้วเห็นว่าองค์ความรู้ด้านการต่อต้านความไม่สงบของทหารพึ่งเริ่มต้น คงต้องให้โอกาสไปซักพัก......
    ปัญหาที่ทหารต้องเผชิญในปัจจุบันในสนามรบทางภาคใต้ในขณะนี้ คือ นอกจากจะมีนักการเมืองที่ต้องการให้ทหารลดบทบาทในพื้นที่แล้วยังมีองค์กร ภาคสังคมต่างๆกำลังเคลื่อนไหวกดดันให้เห็นความบกพร่องของทหารในการปฏิบัติการในพื้นที่ โดยใช้ประเด็นการเสียชีวิตของโต๊ะอิหม่ามท่านหนึ่ง มาเผยแพร่ว่ากรณีดังกล่าวเป็นกรณีตัวอย่างของการละเมิดสิทธิมนษยชน ซึ่งได้รับการตอบรับจาก องค์กร Human Right Watch Asia นำกรณีดังกล่าวเผยแพร่ไปทั่วโลกเมื่อ 26 มีนาคม 2551 .ในชื่อบทความ Thailand: Imam’s Killing Highlights Army Abuse in South แม้ว่าว่าภาคสังคมไม่มีความเกี่ยวข้องกับนักการเมืองท่านหนึ่ง แต่ทหารคือเป้าหมายเดียวกัน
    ด้วยเหตุนี้ สถานการณ์การเมืองทั้งในระดับชาติและในระดับท้องที่กำลังกดดันทหารอยู่มาก ยังไม่นับรวมกลุ่มก่อความไม่สงบที่กำลังปลุกระดมประชาชนในพื้นที่ให้เกลียดชังทหารและเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงอื่นๆ การเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงต้องติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีความชัดเจนมากขึ้นว่ามีความเชื่อมโยงกับภาคสังคมของมุสลิมมากขึ้นโดยเฉพาะนักศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน นักการเมือง ดังนั้นแนวโน้มของการเคลื่อนไหวในลักษณะ Muslim Mobilization กำลังก่อตัวขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายร่วมทุกภาคส่วนของชาวมุสลิม (Total Movement) เพื่อเรียกร้องทางการเมือง คล้ายกับการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในอาณานิคมที่ต้องการปลดปล่อยประเทศตนเองให้เป็นอิสระในยุคล่าอาณานิคม(ติดตามตอนต่อไป)

วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551

เกมส์การเมืองกับความสูญเสียอำนาจอธิปไตยในจังหวัดชายแดนภาคใต้

เกมส์การเมืองกับความสูญเสียอธิปไตยในจังหวัดชายแดนภาคใต้

  • นับตั้งตั่งรัฐบาลภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวชเข้าบริหารบ้านเมืองเป็นเวลา เดือน ยังไม่มีผลงานเป็นที่เด็นชัดมากเท่าที่หลายคนได้ตั้งความหวังไว้ โดยเฉพาะปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนโยบายที่จะสร้างความเชื่อมันกับประชาชนในประเทศได้ว่าประเทศไทยจะไม่เสียดินแดนในรัฐบาลชุดนี้

  • ความไม่มั่นใจมาจากเกมส์การเมืองที่มีตัวแสดงสำคัญเป็น ผู้บริหารประเทศ ข้าราชการทหาร นักการเมืองมุสลิม ....กลุ่มก่อความไม่สงบ ที่ต่างต้องการเอาชนะซึ่งกันและกัน รวมทั้งต้องปกป้องสถานะของตันเอง โดยใช้สนามรบในภาคใต้เป็นการต่อสู้ ..หลายคนอาจจะไม่เข้าใจจากสมมติฐานข้างต้น แต่จะอธิบายให้เห็นถึงภาพด้านลึก(Deep Picture)ดังนี้

  • นักการเมืองที่ไม่ชอบทหาร เพราะในอดีตที่ผ่านมาปี 2535 ต้องหนีไปต่างประเทศก็เนื่องจากทหาร จึงมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อทหาร และเมื่อมาดำรงตำแหน่ง รมว.มท จึงต้องการเข้ามามีบทบาทต่อการแก้ไขปัญหความไม่สงบในภาคใต้ ดังจะเห็นจากการนำเสนอความคิดในการแก้ไขปัญหามาตลอด ...จากคำสัมภาษณ์ว่า...นายกรัฐมนตรีไม่มอบอำนาจในการดูแลภาคใต้เสียที่.....และยังพยายามผลักดันให้นายแพทย์ท่านหนึ่งมาเป็นรัฐมนตรีช่วยมหาดไทย เพื่อคุมการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งบุคคลท่านนี้พยายามสร้างบทบาทการเป็นผู้นำในท้องที่และอดีตเคยเป็นผู้ต้องหาคดีเจไอ แต่ก็ถูกโจมตีจากสื่อ และในความจริงแล้วแม้ว่าภาพของบุคคลผู้นี้จะนิ่ง แต่ก็เคลื่อนไหวในทางลับในการที่จะผลักดันทหารออกนอกพื้นที่ รวมทั้งยังใช้อำนาจบริหารราชการอย่างเงียบๆในการแกไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ โดยเฉพาะส่งตัวแทนไปเจรจากับกลุ่มก่อความไม่สงบ.....ในขณะที่พยายามสร้างบทบาทต่อสาธารณชนหากมีอำนาจจะเน้นการแก้ไขด้วยวิธีการเจรจา ปัญหาที่อาจตามมาได้หากรัฐมนตรีท่านนี้เชื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเหล่านี้ หรือ หากต้องการเอาชนะในเกมส์การเมืองโดยขาดซึ่งสติแล้ว อาจจะนำมาสู่ผลกระทบที่รุนแรงในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบจนถึงขั้นการเสียดินแดนก็เป็นได้

  • กลุ่มนักการเมืองมุสลิมที่ต้องการอำนาจ ที่เคยมีบทบาทมากในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มนักการเมืองกลุ่มนี้ในความรู้สึกลึกยังต้องการกลับมาเป็นผู้นำในพื้นที่ แต่ด้วยเหตุที่การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ผ่านมาได้สร้างความเกลียดชังต่อชาวมุสลิมเพราะอยู่ตรงกลางระหว่างชาวมุสลิม กลุ่มก่อความไม่สงบ รัฐบาล ส่งผลให้ไม่สามารถทำอะไรได้อย่างเต็มที่ ภาพลักษณทีปรากฏต่อสาธารณชนจึงถูกมองว่าไม่มีความจริงใจ อย่างไรก็ตาม ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีกับนายทหารท่านหนึ่งและอดีต นรม.ที่เคยเสนอแนวความคิดดอกไม้หลากสีและเขตปกครองพิเศษ และเป็นที่นับถือของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ส่งผลให้กลายเป็นบุคคลที่สามารถเสนอคำที่ปรึกษาต่อรัฐมนตรีท่านนี้ได้ไม่มากก็น้อยแต่อย่างน้อย ก็สามารถเป็นตัวแทนไปเจรจา
  • นอกจากนี้กลุ่มบุคคลนี้ยังมีความใกล้ชิดกับผู้บริหารพรรคPAS ที่ให้การสนับสนุนกลุ่มก่อความไม่สงบอีกด้วย ลองพิจารณาดูแล้วกันว่าความเคลื่อนไหวในครั้งนี้เราจะได้หรือเสียผลประโยชน์ เพราะการเจรจามีปัจจัยในหลายด้านด้วยกัน คือ เราตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ สถานการณ์ไม่สามารถควบคุมได้ ต่างชาติเข้าแทรกแซง ความรุนแรงขยายพื้นที่ที่จากจุดความขัดแย้ง แต่สถานการณ์ยังคงควบคุมได้ แล้วจะช่วยเจรจาไปทำไม ถ้าหากไม่เป็นการผลักกดันเพื่อให้ดินแดนนี้เป็น Local State แยกตัวออกมาจากรัฐไทย ก็เพื่อกลุ่มของตนเองจะกลายเป็นผู้ปกครองรัฐบาลในพื้นที่ อย่างน้อย 3 รัฐบาลใน 3 จังหวัด
  • ทหาร ในมุมมองด้านความมั่นคงแล้วทหารจะเป็นตัวแสดงหลักในการรัษาอธิปไตยของชาติ แต่ต้องมีไหวพริบตามเกมส์การเมืองให้ทัน โดยเฉพาะฝ่ายเสนาธิการ ซึ่งเป็นมันสมองของกองทัพ ในเกมส์การเมืองครั้งนี้ ทหารยังพอทันอยู่ ดังจากการลงพื้นที่ของ ผบ.ทบ.อย่างต่อเนื่อง และมีอำนาจเต็มเมื่อ นรม.มองอำนาจการดูแล กอ.รมน. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ รวมทั้งยังคุม ศอ.บต. สังกัดมหาดไทย ทั้งนี้ในเรื่องของงบประมาณที่ใช้ในการบริหารต้องผ่านการพิจารณาของหน่วยงานเหล่านี้ ดังนั้นจึงเป็นอุปสรรคต่อรัฐมนตรีท่านนี้ที่ต้องการมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้

  • อีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าทหารยังมีสมองก็คือ การมีแผนจัดตั้ง new military bases and training camp ใน จังหวัด คือ สงขลา 1 แห่ง นราธิวาส 2 แห่ง ภายในปี 2009 เป็นผู้เสนอ เมื่อ 27 มีนาคม 2551 แม้ว่าหลายฝ่ายจะเห็นว่าเป็นเพียงนโยบายธรรมดา แต่ก็มีความสำคัญในแง่กลยุทธ์ของฝ่ายทหารว่า ดินแดนนี้.....ยังมีความมั่นคง และทหารจะไม่ถอนกองกำลังออกนอกพื้นที่ แม้ว่าการเจรจาต้องการให้ทหารออกนอกพื้นที่ก็ตาม (โปรดติดตามในตอนต่อไป)

วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2551

Ugly Thailand

Ugly Thailand

วันนี้ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย หากพิจารณาอดีตที่ผ่านมาเรามีความทรงจำที่ดีเกี่ยวกับประเทศไทย ...ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ลองมาหาคำตอบกัน
ธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์มากมายไปด้วยป่าไม้ น้ำตก สัตว์ป่า ความหนาวตามธรรมชาติ กำลังหายไปอย่างไม่กลับคืนมา...ดงพญาไฟ ที่ในอดีตมนุษย์ต้องกลัวไม่กล้าอาศัยอยู่ กลายเป็นดงพญาเย็น. ซึ่งเป็นที่พักร้อน หลบกายของผู้คนจากเมืองหลวง.....เป็นแหล่งหากินของนักเรียนนอก ใช้ความรู้ที่ทันสมัยขับไล่ความเถื่อนของธรรมชาติออกไป ....สร้างแดนสวรรค์ตามความคิดแบบทุนนิยม แต่ไม่เคยมองอนาคตของป่าไม้ไทย ณ วันนี้ ดงพญาไฟ .. มีแต่เพียงฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โชคชัยนะโชคชัย....ทำกันได้
ความเสื่อมของทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดจากความจงใจกลายเป็นข้ออ้างของนายทุนราชการ ธุรกิจ นักการเมือง เข้าครอบครอง อาศัยสายปานที่ร้อยท่อถักจากเงินตราเหนือความถูกต้อง...เป็นเครื่องมือในการบุกรุกป่าไม้ เพื่อทำบ้านพักตากกระโปกและกระปี๋ ..55555...และคอนโดกลางป่าใช้เสพยายาเสพติดของลูกหลานที่จะเป็นผู้นำประเทศในอนาคต...ประเทศชาติหลายคนบอกไม่ใช้ของเราคนเดียว...ปลงซะเถอะ...แค่คิดก็ไม่ถูกแล้ว
ทุกวันนี้ จะมองไปทางไหนมีแต่ความอ้างว้างกับหนทางที่ไทยต้องเผชิญว่าจะเป็นอย่างไร เมื่อคนรุ่นใหม่ยังไม่เห็นภัยที่เกิดใกล้ตัว...ความร้อนที่ระอุของอากาศที่เพิ่มมากขึ้นในตัวเมือง .ผู้คนหันมาใช้เครื่องปรับอากาศ.... แต่ไม่มี.ใครจะให้คำตอบได้บ้างว่ามาจากสิ่งใด ก็มาจากธรรมชาติที่ตั้งใจให้เสื่อมโทรม..เรามีกรมป่าไม้มาเกือบร้อยปีแต่ทำไมป่าไม้ถูกทำลายมาตลอด....เราจะภูมิใจได้อย่างไร...กับนโยบายการปิดป่าปี 2535 ยกเลิกสัมปทานตัดไม้ แต่กลายเป็นปัจจัยให้มีการปิดปาก นี่แหละผลงานชิ้นโบว์แดงของรัฐบาลและกระทรวงป่าไม้..
เราเห็นค่านิยมของความหรูหราแต่เราไม่เคยเห็นความตื่นตัวในการรักษาความเป็นไทยและธรรมชาติที่มีค่า...แต่ก็มีบางเป็นบางครั้ง ซึ่งเป็นไปตามกระแสของกระทรวงวัฒนธรรมไทย..5555... ไทยจะเป็นอย่างไรคงตอบไม่ได้ตอนนี้แล้วค่อยว่ากันใหม่กับ.....Ugly Thailand…..

ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมทางความมั่นคง 3

ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมทางความมั่นคง 3

1. ความเป็นจริงเกี่ยวกับสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในแง่ของความขัดแย้งทางด้านความคิดได้พัฒนาการแสดงออกถึงความขัดแย้งมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ขอลำดับความเป็นมาทางด้านความคิดที่นำมาสู่ความขัดแย้งตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน หลังจากนั้นจะนำเสนอระดับความขัดแย้งทางด้านความคิดว่ามีระดับอะไรบ้างในพื้นที่ที่ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.ก่อนเหตุการณ์ปล้นปืนที่ค่ายปิเหล็ง ความคิดที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของผู้คนส่วนใหญ่ยังหยุดนิ่งและยังมีความคิดว่าสยบกับอำนาจรัฐไทย ในส่วนของกลุ่มก่อความไม่สงบนั้น ในสายตาของฝ่ายความมั่นคงทางการทหาร(Military-led Security)ซึ่งเป็นกลไกหลักด้านความมั่นคงของประเทศในขณะนั้น ไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของกลุ่มก่อความไม่สงบเพราะเห็นว่าเป็นเพียงกลุ่มที่เรียกค่าคุ้มครองเท่านั้น ความละเลยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ข้างต้นได้ทำให้กลุ่มก่อความไม่สงบสามารถสร้างวาทกรรม(Discourse)ของการต่อสู่กับฝ่ายรัฐขึ้นมาใหม่อย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยเริ่มสร้างตัวแทนของการต่อสู่เพื่อพระเจ้าโดยเริ่มต้นสร้างเด็กในตาดีกา ปอเนาะ มาเป็นนักรบของพระเจ้า
3.รูปแบบการปลูกฝังได้นำเข้ามาจากการสร้างนักรบในอัฟกานิสถาน ซึ่งนอกจากเป็นสนามรบที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพของมุสลิมแล้ว ยังเป็นโรงเรียนสร้างนักรบเพื่อพระเจ้า โดยมีสมาชิกของกลุ่มก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้มาเป็นนักเรียนอยู่ด้วย เมื่อจบการศึกษาได้นำความรู้เข้ามาสร้างรูปแบบการต่อต้านอำนาจรัฐของตนเอง(มีต่อ)

วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551

ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง 2

  • ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง2

    ในการทำความเข้าในทางด้านความคิดซึ่งนำมาสู่ความขัดแย้งนั้นมันไม่ได้เกิดด้วยตัวของมันเองแต่ต้องมีเงื่อนไข/ปัจจัยต่างๆหากเรียงตามความสำคัญของสาเหตุที่นำไปสู้ความขัดแย้งอย่างรุนแรง จนไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างทันที อันดับแรก ศาสนา(Religious) และ ความเชื่อ(Belief) แม้ว่าในวงการด้านศาสนามีความเห็นคล้ายกันทั่วโลกว่าทุกศาสนารักสันติ แต่ก็เป็นเพียงภาพลักษณ์หนึ่งที่เป็นบวก(Positive)เท่านั้น เพราะหากย้อนอดีตกับไปจะเห็นได้ชัดว่าศาสนาเป็นต้นเหตุที่สำคัญของการทำสงครามอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ Crusade หรือ ในยุคปัจจุบันศาสนาก็ยังกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของสงครามการก่อการร้ายยุคใหม่ ที่ไม่มีความแตกต่างกับในอดีตมานัก แต่จะมีความแตกต่างตรงที่ว่าสงครามยุคนี้ไม่มีพรมแดน(Boundary) เพราะสงครามชนิดนี้จะอยู่ในความคิดก่อนเมื่อถึงเวลาที่สุกงอมมันก็จะระเบิดออกมาเป็นสงครามระหว่างเชื่อชาติและศาสนา
    นอกจากนี้ ความคิดด้านศาสนายังเป็นตัวขับเคลื่อนความคิดหนึ่งที่สำคัญของตะวันตก ดังจะเห็นการประกาศสงครามการต่อต้านการก่อการร้ายของประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาหรือที่เรียกว่า Global War on Terrorism หรือ GWOT แท้จริงแล้วมีสาเหตุของแนวความคิดที่แบ่งแยกความเป็นฝักฝ่าย คือ Binary Opposition ซึ่งเป็นพื้นฐานความคิดของตะวันตกมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แนวความคิดดังกล่าวยังนำมาสู่การแข่งขันทางการเมืองที่แบ่งเป็น 2 พรรคใหญใน สหรัฐอเมริกา แล้วประเทศไทยก็เลียนแบบกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งทางด้านความคิดที่พัฒนามาสู่ความรุนแรงทางด้านการเมือง แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหามาตรการเยียวยาในลักษณะสมานฉันท์ แต่ควรยอมรับข้อเท็จจริงว่าเราไม่มีแนวความคิดที่เรียกว่าความรักชาติ/ประเทศ(Patriotism)(มีความแตกต่างกับNationalism เพราะคำนี้มีความหมายในแง่ลบ)ในนิสัยของคนไทยเหมือนกับสหรัฐอเมริกา แล้วจะสมานฉันท์อย่างไร
    ปัญหาของฝ่ายความมั่นคงไทยที่ต้องขบคิดอยู่ตรงที่ว่าจะทำอย่างไรที่จะสลายความคิดที่เกิดความเข้าใจผิดของผู้ไม่หวังดีที่นำศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือในการก่อความไม่สงบมาเป็นระยะเวลานานได้ เพราะหากขาดความเข้าใจถึงข้อเท็งจริงแล้วยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจะหลงทางไปในที่สุด ภาระกิจแรกในการต่อสู่กับความเชื่อที่ผิดนั้นมีผู้หวังดีกล่าวว่าต้องมีการสร้างความไม่วางใจระหว่างกันแต่นั้น เป็นภาพกว้างแต่ควรเสนอมารตรการรองรับด้วยซึ่งต้องอยู่เป็นพื้นฐานของการสำรวจระดับความขัดแย้งในสังคมภาคใต้ว่าอยู่ในระดับใด(to be continued)

ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง 2

  • ความเป็นจริงของสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง2

    ในการทำความเข้าในทางด้านความคิดซึ่งนำมาสู่ความขัดแย้งนั้นมันไม่ได้เกิดด้วยตัวของมันเองแต่ต้องมีเงื่อนไข/ปัจจัยต่างๆหากเรียงตามความสำคัญของสาเหตุที่นำไปสู้ความขัดแย้งอย่างรุนแรง จนไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างทันที อันดับแรก ศาสนา(Religious) และ ความเชื่อ(Belief) แม้ว่าในวงการด้านศาสนามีความเห็นคล้ายกันทั่วโลกว่าทุกศาสนารักสันติ แต่ก็เป็นเพียงภาพลักษณ์หนึ่งที่เป็นบวก(Positive)เท่านั้น เพราะหากย้อนอดีตกับไปจะเห็นได้ชัดว่าศาสนาเป็นต้นเหตุที่สำคัญของการทำสงครามอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ Crusade หรือ ในยุคปัจจุบันศาสนาก็ยังกลายเป็นสาเหตุหนึ่งของสงครามการก่อการร้ายยุคใหม่ ที่ไม่มีความแตกต่างกับในอดีตมานัก แต่จะมีความแตกต่างตรงที่ว่าสงครามยุคนี้ไม่มีพรมแดน(Boundary) เพราะสงครามชนิดนี้จะอยู่ในความคิดก่อนเมื่อถึงเวลาที่สุกงอมมันก็จะระเบิดออกมาเป็นสงครามระหว่างเชื่อชาติและศาสนา
    นอกจากนี้ ความคิดด้านศาสนายังเป็นตัวขับเคลื่อนความคิดหนึ่งที่สำคัญของตะวันตก ดังจะเห็นการประกาศสงครามการต่อต้านการก่อการร้ายของประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาหรือที่เรียกว่า Global War on Terrorism หรือ GWOT แท้จริงแล้วมีสาเหตุของแนวความคิดที่แบ่งแยกความเป็นฝักฝ่าย คือ Binary Opposition ซึ่งเป็นพื้นฐานความคิดของตะวันตกมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แนวความคิดดังกล่าวยังนำมาสู่การแข่งขันทางการเมืองที่แบ่งเป็น 2 พรรคใหญใน สหรัฐอเมริกา แล้วประเทศไทยก็เลียนแบบกลายเป็นปัญหาความขัดแย้งทางด้านความคิดที่พัฒนามาสู่ความรุนแรงทางด้านการเมือง แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะหามาตรการเยียวยาในลักษณะสมานฉันท์ แต่ควรยอมรับข้อเท็จจริงว่าเราไม่มีแนวความคิดที่เรียกว่าความรักชาติ/ประเทศ(Patriotism)(มีความแตกต่างกับNationalism เพราะคำนี้มีความหมายในแง่ลบ)ในนิสัยของคนไทยเหมือนกับสหรัฐอเมริกา แล้วจะสมานฉันท์อย่างไร
    ปัญหาของฝ่ายความมั่นคงไทยที่ต้องขบคิดอยู่ตรงที่ว่าจะทำอย่างไรที่จะสลายความคิดที่เกิดความเข้าใจผิดของผู้ไม่หวังดีที่นำศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือในการก่อความไม่สงบมาเป็นระยะเวลานานได้ เพราะหากขาดความเข้าใจถึงข้อเท็งจริงแล้วยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจะหลงทางไปในที่สุด ภาระกิจแรกในการต่อสู่กับความเชื่อที่ผิดนั้นมีผู้หวังดีกล่าวว่าต้องมีการสร้างความไม่วางใจระหว่างกันแต่นั้น เป็นภาพกว้างแต่ควรเสนอมารตรการรองรับด้วยซึ่งต้องอยู่เป็นพื้นฐานของการสำรวจระดับความขัดแย้งในสังคมภาคใต้ว่าอยู่ในระดับใด(to be continued)

การข่าวกรองเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายในประเทศไทย

การข่าวกรองเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายในประเทศไทย
(Intelligence – led Counterinsurgency)

การต่อสู้กับการก่อการร้ายเครื่องมือหนึ่งที่มีความสำคัญในการปราบปรามการก่อการร้าย คือ การมีข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมานับตั้งแต่ยุคการก่อการร้าย ประเทศต่างๆได้มีการปรับปรุงการทำงานด้านการข่าวมาอย่างต่อเนื่อง ทั้ง สหรัฐอเมริการ อังกฤษ โดยหันมาเน้นการสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อช่วยเหลืองานด้านข่าวกรอง รวมทั้งได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและพัฒนารูปแบบงานวิเคราะห์ที่เป็นหัวใจของงานข่าวกรอง โดยเฉพาะการใช้ข้อมูลข่าวกรองในการขับเคลื่อนการวางแผนการต่อต้านข่าวกรอง ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำให้นักวิเคราะห์สามารถประเมินภัยคุกคามได้ง่ายขึ้น
สำหรับการพัฒนาด้านข่าวกรองในประเทศไทยนับตั้งแต่ยุคการก่อการร้ายยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก เพราะการทำงานยังไม่มีระบบ แนวความคิด(Concept) หรือรูปแบบ(Model) รวมทั้งยุทธศาสตร์ข่าวกรองยังไม่มีความชัดเจน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงสภาพการณ์ที่ผ่านมาของข่าวกรองเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย ควรเข้าทำความเข้าใจถึงสภาพ/สถานะโดยทั่วไปประเทศไทยในเวทีการก่อการร้ายสากลดังนี้
นับตั้งแต่ ปี พ.ศ.2544 เป็นต้นมา ประเทศไทย ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความร่วมมือกับประชาคมโลก ที่มีประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นแกนนำ ในการดำเนินการเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายข้ามชาติ ที่มุ่งกระทำต่อผลประโยชน์ของชาติต่างๆ ทั้งในเอเซีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา โดยภัยคุกคามจากการก่อการร้าย ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มอัล-กออิดะห์ (Al Qaeda)และกลุ่มเชื่อมโยงกับกลุ่มอัล-กออิดะห์ในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งรับอิทธิพลและแนวความคิดเชื้อชาตินิยม (Ethno-nationalism) และอิสลามนิยม (Islamism) ในการต่อต้านอิทธิพลของชาติตะวันตก โดยเฉพาะการขับไล่สหรัฐอเมริกา ออกจากดินแดนอิสลาม เป็นสำคัญ

สถานการณ์ปัจจุบัน สงครามต่อต้านการก่อการร้าย ภายใต้ความร่วมมือของประชาคมโลก ยังคงยืดเยื้อและขยายขอบเขต ความรุนแรง และรูปแบบวิธีการก่อเหตุร้ายออกไปจากเดิมมากขึ้น (อาทิ กรณีการก่อเหตุระเบิดพลีชีพหลายครั้งในประเทศปากีสถาน กระทั่งมีการสังหารอดีตนายกรัฐมนตรี นางเบนาซีร์ บุตโต เมื่อ วันที่ 18 ตุลาคม 2550) ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก การที่กลุ่มก่อการร้าย ยังคงสามารถบ่มเพาะแนวคิดรุนแรง (Radicalization) ไปยังกลุ่มแนวร่วมมากขึ้น โดยอาศัยช่องทางการดำเนินการผ่านสถาบันครอบครัว สถานศึกษา สถาบันศาสนา และกลุ่มเพื่อน รวมทั้ง การเผยแพร่แนวความคิดผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถขยายเครือข่ายได้อย่างกว้างไกลและรวดเร็ว ส่งผลให้กลุ่มก่อการร้ายสามารถสร้างแนวร่วมกลุ่มใหม่ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าบางส่วนจะถูกเจ้าหน้าที่ หน่วยงานราชการ ของประเทศต่างๆปราบปราม จับกุม

ในห้วงปัจุบันประเทศต่างๆ ยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตการณ์ก่อการร้ายขนาดใหญ่ ที่อาจจะมีผลกระทบต่อประชาชน และผลประโยชน์ ได้แก่ ภูมิภาคตะวันออกกลาง ยังคงมีปัญหาเรื่องการขับไล่อิทธิพลของสหรัฐฯ ในประเทศอิรัก และการต่อต้านอิสราเอล ในปาเลสไตน์ ภูมิภาคเอเชียใต้ มีปัจจัยความขัดแย้งทางเชื้อชาติ และแนวคิดอิสลามนิยม ใน อินเดีย,ปากีสถาน,อัฟกานิสถาน,บังคลาเทศ และศรีลังกา เชื่อว่าความพยายามในการก่อเหตุร้ายยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่วนใน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ยังคงเป็นพื้นที่หลัก ที่กลุ่มก่อการร้ายมุ่งเป้าโจมตี เนื่องจากเป็นแหล่งผลประโยชน์ขนาดใหญ่ ซึ่งหากสามารถลงมือก่อการร้ายได้สำเร็จ ก็จะสร้างความเสียหาย และส่งผลกระทบต่อกลไกต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
กรณีของประเทศไทย ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาจะไม่มีการก่อการร้ายขนาดใหญ่ ที่เกิดจากการกระทำของกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติเกิดขึ้น แต่จากการที่ปัญหาความไม่สงบ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จ.ปัตตานี,ยะลา และนราธิวาส) มีมิติที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม ทำให้เป็นประเด็นปัญหาที่ถูกจับตามองจากประชาคมมุสลิมในภูมิภาคอื่นๆ รวมทั้ง มีความพยายามจากกลุ่มก่อการร้ายในภูมิภาคนี้ อาทิ กลุ่มเจมาอิสลามิยาห์ (Jemaah Islamiyah-JI ที่ต้องการเข้ามาเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ เพื่อยกระดับเหตุการณ์ให้เชื่อมโยงกับสถานการณ์ในอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ดังนั้น หากทางการไทย ปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อออกไป หรือมีสถานการณ์ที่รุนแรงมากขึ้น อาจจะส่งผลให้เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย กลายเป็นสถานการณ์ในระดับภูมิภาค และเชื่อมโยงกับกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ อันจะส่งผลให้เกิดผลเสียหายต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก

ในการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย องค์ประกอบหลักอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ประเทศต่าง สามารถดำเนินการต่อต้านและตอบโต้การก่อการร้าย ได้อย่างประสบความสำเร็จ คือ การมี การข่าวกรองและการต่อต้านข่าวกรอง ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรวบรวมข่าวกรองและความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับขบวนการก่อการร้ายกลุ่มต่างๆทุกแง่มุม ตลอดจนต้องมีการใช้ข่าวกรองที่มีประสิทธิผล เพื่อต่อต้านและตอบโต้ขีดความสามารถของกลุ่มก่อการร้าย ก่อนที่กลุ่มก่อการร้ายจะสามารถลงมือก่อเหตุร้าย ในภูมิภาคต่างๆ ก่อนที่จะเกิดความสูญเสียต่อประชาชนและผลประโยชน์ของชาตินั้นๆ (มีต่อ)