วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สถานการณ์ทางการเมืองยุคเปลี่ยนผ่าน

สถานการณ์ทางการเมืองยุคเปลี่ยนผ่าน

สถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน แม้ว่ายังมีความสงบเรียบร้อย แต่ยังไม่สามารถวางใจได้อยางกรณีที่ฝ่ายมีอำนาจได้ดำเนินการไปมีนัยทางการเมืองทั้งสิ้นดังจะเห็นจากหลังขึ้นรับอำนาจในการบริหารบ้านเมืองฝ่ายผู้มีอำนาจดำเนินการเพื่อคงและรักษาสภาพให้ยาวนานในสภาวะที่กำลังสู่ยุคการเปลี่ยนผ่าน(Transitional Period ) หรืออีกนัยหนึ่งคืออยู่ในสภาวะที่มีความเสี่ยงของการเผชิญหน้าจากปัญหาการเมืองผู้นำไม่สามารถควบคุมความคิด ที่สำคัญไม่ได้มีผู้นำเพียงคนเดียวในการสร้างและควบคุมชุมชนทางการเมืองเหมือนเช่นในอดีต สภาพเช่นนี้เช่นนี้คือ Relative Autonomy กล่าวคือ เริ่มปรากฎช่องวางทางอำนาจที่จะทำให้ผู้นำในระบบเก่ามีคู่แข็งทางการเมือง ดังนั้นในระยะเปลี่ยนผ่าน สภาพการณ์จึงเป็นการต่อสู้ทั้งในเรื่องทางความคิด การสื่อสาร การควบคุมมวลชน ควบคุมกลไกของรัฐ และการนำภาคีต่างประเทศหรือองค์กรทำงานด้านความขัดแย้งเข้ามาสนับสนุนแนวทางการเคลื่อนไหว การกระชับอำนาจของรัฐบาลใหม่ในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการวางแผนของทีมงานด้านยุทธศาสตร์หรือThink-Thank วัตถุประสงค์เพื่อครอบครองอำนาจในระยะยาวในช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งหากใครสามารถควบคุมอำนาจรัฐได้ก็สามารถกำหนดโครงสร้างใหม่ของประเทศได้เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วการกำหนดมาตรการด้านการเมืองที่อาจเอื้อประโยชน์ส่วนตัว(Individual Interest)หรือกำหนดแนวทางที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางการเมือง ก็สามารถทำได้ง่ายขึ้น คาดว่าฝ่ายผู้มีอำนาจใหม่ต้องควบคุมกลไกของรัฐให้เบ็ดเสร็จ(Total )รวมทั้งช่องทางอื่นสรุปได้ดังนี้
1)แต่งตั้งบุคคลที่เห็นว่าสามารถทำงานที่มอบหมายได้งานด้านการเมืองมากกว่าที่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นหน้าที่หลักของกลไกของรัฐ ซึ่งมีความชัดเจนขึ้นจากการเปลี่ยนเลขาธิการสภาความมั่นคง เนื่องจากเป็นตัวกลางในการผลักดันเรื่องกัมพูชา โดยเฉพาะการจัดสรรผลประโยชน์ โดย สมช.จะส่งเรื่องให้ ครม.พิจารณาก่อนการประชุมGBC อันจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพูดคุยในการจัดสรรผลประโยชน์ที่เป็นทางการมากขึ้น การเปลี่ยน ผบ.ตร.เพื่อกระชับโดยเป็นองค์กรประกอบด้านกำลัง การจะผลักดันคนใกล้ชิดไปรับตำแหน่ง เลาธิการ ศอ.บต.โดยหลักการแล้วจะเป็นตัวขับเคลื่อนด้านการพัฒนาในพื้นที่ แต่คาดว่าการแต่งตั้งที่จะใช้ในการแก้ไขฐานทางการเมืองหรือการเอาชนะทางการเมือง ภายหลังที่สมาชิกของพรรคไม่ได้รับการเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรวมถึงการไม่เปลี่ยนข้าราชการบางหน่วยด้วยเช่นกระทรวงยุติธรรมก็หวังผลด้านการเมืองเช่นกัน โดยจะเป็นโครงสร้างหลักในการผลักดันการปรองดองที่แอบแฝงผ่าน คอป. และ การวางโครงสร้างกระบวนการยุติธรรมผ่าน คอ.นธ.ก็มาจากการทำงานของกระทรวงยุติธรรม
2)การสร้างกระแสความเป็นประชาธิปไตยจากเครือข่ายที่มีส่วนสนับสนุนพรรคผู้นำรัฐบาลแม้ว่าบางเครือข่ายจะเป็นกลุ่มที่มีแนวความคิดซ้ายนำหน้ามาก่อนและการสร้างเกาะป้องกันโดยใช้องค์กรต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานด้านสันติภาพโดยมีนัยเพื่อตรึงความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้ามที่ใช้ทหารในการเคลื่อนไหว เป็นแนวทางที่เน้นการขับเคลื่อนในทางเปิด(Public )
3)การดึงองค์กรต่างชาติเข้ามาเคลื่อนไหวเชื่อมต่อกับความเคลื่อนไหวของเครือข่ายที่มีแนวทางเดียวกันในต่างประเทศเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีความชัดเจนมากขึ้นส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากขอบเขตภารหน้าที่ขององค์กรเหล่านี้ ประกอบการที่ประเทศไทยเคยมีปัญหาความขัดแย้งจนถึงขั้นการใช้อาวุธทั้งในส่วนกลางและจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งผลให้องค์กรต่างประเทศเข้ามาเคลื่อนไหวมากขึ้น ตัวการหลักที่สำคัญคือ ทนายความอดีตผู้นำ มีกำหนดการที่สะท้อนนัยว่าต้องการสร้างกระแสเชิงรุกทางการเมืองที่จะส่งผลในหลายประการ คือ การเคลื่อนไหวเชิงรุกต่อกองทัพ ผลักดันให้แก้ไข พ.ร.บ.การจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 การเคลื่อนไหวเชิงรุกต่ออำนาจเก่า เน้นให้แก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 และโจมตีว่ามือที่มองไม่เห็นคอยขัดขวางการแก้ไขกฎหมาย การเคลื่อนไหวเชิงรุกต่อพรรคฝ่ายค้าน เน้นการกดดันพรรคฝ่ายค้านด้วยเรื่องเดิม คือ การพยายามนำคดีเหตุการณ์สลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค.53 เข้าสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศ (หากการเข้าเป็นภาคีธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศประสบความสำเร็จ) เพื่อให้พรรคฝ่ายค้านตกเป็นฝ่ายตั้งรับ และมีภาพลักษณ์เสียหายหรือตกต่ำ
4)ความพยายามลดบทบาททหารของฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะ พ.ร.บ.สภากลาโหม ที่เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้าแทรกแซงการแต่งโยกย้ายทหารระดับนายพล กำลังมีความพยายามเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ฝ่ายการเมืองเข้าไปมีแทรกแซงได้ เพื่อป้องกันการปฏิวัติรัฐประหาร หรืออย่างน้อยยังเป็นการจุดกระแสให้กลุ่มคนเสื้อแดงสามรถนำมาเป็นประเด็นในการเคลื่อนไหวที่จะส่งผลต่อการตรึงกำลังของทหารต่อไป อาจจะจุดขยายความขัดแย้งระหว่างกองทัพกับรัฐบาลภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย
5)การขยายฐานมวลคนเสื้อแดงจากหมู่บ้านมาเป็นอำเภอและคาดว่าขยายไปยังจังหวัด เป็นการสร้างฐานมวลชนเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยคาดว่าเป้าประสงค์ก็เพื่อทำให้รัฐบาลสามารถบริหารงานไปได้ในระยะยาวนอกจากนี้ การเคลื่อนไหวของนักวิชาการที่จะเป็นตัวนำในการเปิด/จุดกระแสความคิดในการต่อต้านกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานบันเพราะเห็นว่าจะถูกนำไปใช้เพื่อเหตุผลทางการเมือง จะมีส่วนสำคัญที่จะจุดกระแส เพราะมีความน่าเชื่อถือมากว่านักการเมือง กลุ่มคนเสื้อแดง แม้ว่านักวิชาการกลุ่มดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับอดีตผู้นำและเสนอความคิดในรูปแบบวิชาการ อาจถูกนำไปแสวงประโยชน์อีกทางหนึ่ง แต่หากฝ่ายรัฐรุกและมุ่งใช้อำนาจกดดันนักวิชาการกลุ่มนี้ จะก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวที่อาจมาแตกต่างในตะวันออกกลางก็เป็นได้
สถานการณ์ในไทยในห้วง 3-5 ปี ประเมินได้ว่า 1)ความไม่แน่นอนขึ้นกับการกระทำใดๆที่มีผลกระทบต่อสถาบันเป็นหลัก 2)การตรึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคล เครือข่าย ที่ใกล้ชิดสถาบันเป็นเป้าหมายหลัก คือ องคมนตรี ศาล กระบวนการยุติธรรม พรรคประชาธิปัตย์ อาจทำให้มีการตอบโต้ในทางปิดและทางเปิด 3)ความได้เปรียบของเครือข่ายอดีตผู้นำค่อนข้างมีความแข็งแกร่ง การที่ทำให้อ่อนแอเป็นไปได้ค่อนข้างยากเนื่องจากกลไกรัฐไม่มีเอกภาพ มวลชน(15 ล้านคน) การมีส่วนร่วมขององค์กรต่างประเทศ เช่น การประชุมด้านสิทธิมนุษยชน UN ให้ไทย ปฏิรูปกฏหมาย ม.112 และยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯในจชต. รวมทั้งการสร้างกระแส 4)ความขัดแย้งครั้งนี้จะนำมาสู่ความรุนแรงอยู่ที่ Turning Point คือ ความคิดที่จะมุ่งล้มระบบเป็นสำคัญ แม้ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจน 5)พื้นที่ที่จะมีการต่อสู้มี 2 พื้นที่ คือ ส่วนกลาง(กทม.)และพื้นที่ จชต. โดยใน จชต.จะคาดว่าสถานการณ์จะรุนแรงมากขึ้นตามไปด้วยเนื่องจากการใช้ตำรวจในการแก้ไขปัญหาจะถูกต่อต้าน การใช้แนวนโยบายยาเสพติดอาจจะขยายความขัดแย้งมากขึ้น

----------------------------------