วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การก่อการร้ายในการเมืองไทย (Terrorist in Thai Politic)

การก่อการร้ายในการเมืองไทย (Terrorist in Thai Politic)

หากพิจารณาวิธีการ รูปแบบ ลักษณะการต่อสู้ทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มพันธมิตรในประเทศไทยในขณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับสงครามการก่อการร้ายมีความเหมือนและคล้ายคลึงกัน เมื่อพิจารณาจาก

การต่อสู้เชิงสัญญาลักษณ์ โดยต่างฝ่ายต่างสร้างภาพลักษณ์ของตนเองว่าเป็นตัวแทนที่ชอบธรรมของการต่อสู้เช่นเป็นตัวแทนของกลุ่มทุนนิยม ต่อสู้กับกลุ่มอำมาตยาธิปไตย ซึ่งไม่แตกต่างกับการประกาศการต่อสู้ของกลุ่มอัลกออิดะห์กับตะวันตกที่นำโดยสหรัฐอเมริกา

การมุ่งเอาชนะทางการเมืองโดยมุ่งทำทุกวิธีทางทั้งเปิดเผยและลับ รวมทั้งตั้งวอร์รูมประเมินสถานการณ์ต่อนาทีเพื่อไม่ให้เกิดความเพลี่ยงพล้ำต่ออีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งการหาช่องทางกฏหมายเพื่อมุ่งนำแกนนำในการต้อสู้มาลงโทษ

การใช้วิธีการข่าวกรองที่ไม่มีความแตกต่างกับหน่วยงานความมั่นคงในระดับประเทศ โดยมีการจัดตั้งสายลับ ผู้ให้ข้อมูล(Informer) เพื่อสืบสภาพของแต่ละฝ่ายทั้งเรื่องในอดีต ปัจจุบันและประเมินแนวทางการเคลื่อนไหวในอนาคตเพื่อแก้ทางและแก้เกมส์ ด้วยเหตุนี้ การข่าวกรองซึ่งโดยธรรมชาติมีลักษณะการต่อสู้ในมุมมืด จึงเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพของแต่ละฝ่ายดังจะเห็นจากกลุ่มพันธมิตร

การสร้างมวลชนสนับสนุน(Basement)หรือการเอาชนะจิตใจประชาชนหรือ winning heart and mind โดยใช้ช่องทางการสื่อสารทุกช่องทางเพื่อสร้างความชอบธรรมและให้เกิดการคล้อยตาม รวมทั้งการปลุกระดมสร้างความเกลียดชังไม่ต่างอะไรกับการที่กลุ่มก่อความไม่สงบได้ปลุกระดมการทำสงครามเพื่อศาสนาหรือ Jihad โดยรัฐบาลอ้างว่าการต่อสู้ครั้งนี้เพื่อปกป้องระบอบประชาธิปไตย ขณะที่ฝ่ายพันธิมตรต่อสู้เพื่อสถาบัน

การต่อสู้ฝ่ายหนึ่งมีความได้เปรียบเชิงอำนาจรัฐ ขณะที่อีกฝ่ายไม่อำนาจแต่ใช้รูปแบบการต่อสู้นอกรูปแบบโดยมวลชน ซึ่งไม่แตกต่างกับการต่อสูของขบวนการก่อร้ายที่ใช้การต่อสู้แบบสงครามอสมมาตร หรือ Asymmetric Warfare คือ การต่อสู้โดยกำลังที่น้อยกว่าในรูปแบบการก่อการร้าย ซึ่งไม่สามารถคาดเท่ากลยุทธได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ การต่อสู่จึงขยายวงกว้างออกไปด้วยวิธีการต่อสู้ในลักษณะข้างต้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ววิธีการที่จะแก้ไขปัญหาการต่อสู้กับการก่อการร้ายในปัจจุบัน ยังมาสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เลย เช่นเดียวกับการต่อสู้ทางการเมืองในไทยยังไม่มีผู้ใดสามารถคาดเดาได้ว่าจะจบเช่นใด เพราะต่างฝ่ายต่างไม่มีความไว้วงาใจระหว่างกัน ไม่มีการรู้แพ้ชนะ หากพ่ายแพ้ก็จะเริ่มกระบวนการต่อสู้ครั้งใหม่

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551

วิกฤตการเมืองถึงขั้นวิกฤติ

วิกฤตการเมืองถึงขั้นวิกฤติ

การเคลื่อนไหวของกลุ่ม พ.ป.ป.เพื่อกดดันให้ นรม.หรือ ครม.ที่ถูกมองว่ารับใช้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นรม.หมดสภาพความชอบธรรมที่มักอ้างว่ามาจากระบบประชาธิปไตยกำลังเข้าขั้นที่เรียกว่าอาจจะเกิดวิกฤตและอาจเกิดการเผชิญหน้าเพราะต่างฝ่ายไม่ยอมรับวิธีการสันติวิธี โดยจุดที่ต่างฝ่ายต่างทันกันคือ หากผู้ใดใช้ความรุนแรงก่อนย่อมเป็นฝ่ายได้เปรียบ รวมทั้งต่างฝ่ายโดยเฉพาะพันธมิตรกำลังสร้างวาทกรรมว่าการต่อสู้ครั้งนี้ เพื่อปกป้องแผ่นดินและราชวงศ์จักรี เพื่อแสดงให้เห็นว่าการต่อสู้มีความชอบธรรมเพื่อขับไล่อธรรมออกจากอำนาจ ที่สำคัญจะทำให้ชนชั้นกลางใน กทม.ออกมาเคลื่อนไหวเพิ่มเติม

สำหรับเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการต่อสู้ครั้งสุดท้ายในครั้งนี้ มาจาก พ.พ.ป.เองที่ได้ปลุกระดม เชิญชวนให้ร่วม สร้างการต่อสู้ครั้งสุดครั้งใหญ่ ในการขับไล่รัฐบาลตัวแทน ซึ่งยังได้รับการสนับสนุนจากลุ่มทุน ทหารที่เคยปฏิวัติเมื่อ 19 ก.ย.49 ประกอบกับฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะตัวนำ และ รัฐมนตรียังสร้างเงื่อนไขขึ้นเฉพาะหน้าหลายกรณี ที่สำคัญ ณ เวลานี้ถึงจุดสูงสุดของของการต่อสู้ที่ไม่สามารถรอมชอมกันได้แล้ว เนื่องจากข้อเรียกรองของพันธมิตรไม่อาจเป็นที่ยอมรับของผู้นำตัวจริงของพรรคพลังประชาชนได้ จึงเชื่อว่าการชุมนุมครั้งนี้ ต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อย

ผลกระทบในระยะแรกเพื่อให้รัฐบาลลาออก ซึ่งดูเหมือนว่าคงจะไม่มีการยอมรับจากรัฐบาลมากนัก เพราะมีผลกระทบอย่างมหาศาลต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ตกอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งต้องยอมรับข้อเรียกร้องอื่นตามมาด้วย รวมทั้งยอมหมายถึงการยอมแพ้ของกลุ่มต่อต้าน

ส่วนตัวแปรที่สำคัญว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ชนะคือ ผบ.ทบ.ซึ่งในเวลานี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเลือกอยู่ฝ่ายใด โดยต้องขึ้นอยู่กับแนวโน้มว่าฝ่ายใดจะมีโอกาสที่ชนะมากกว่านั้นหมายว่า ผบ.ทบ.จะเลือกทำหน้าที่เพื่ออะไร ทางหนึ่งเลือกที่จะช่วยเหลือเพื่อร่วมรุ่น อีกทางหนึ่งเลือกเพื่อทำลายระบบทักษิณ ซึ่งระบอบที่เทียบเท่าระบบที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นจะเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลไม่ยอมลาออก โดยคาดว่าพันธมิตรเมื่อยึดทำเนียบไปแล้วนั้นหมายว่าศูนย์กลางการบริหารประเทศ อยู่ภายใต้การควบคุมของพันธมิตร ซึ่งคาดว่าจะยึดอย่างยืดเยื้อต่อไป แนวทางต่อสู้ครั้งนี้ จึงกดดันให้ฝ่ายรัฐบาล ต้องเหมือนกับรัฐบาลพลัดถิ่นที่ถูกขับไล่ออกจากประเทศ เพราะไม่มีความชอบธรรม

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วความกดดันจะเกิดขึ้นกับฝ่ายรัฐบาลหากขาดความอดทนและอดกลั้นต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วใช้ความรุนแรงต่อพันธมิตร ย่อมหมายถึงฝ่ายทหารโดย ผบ.ทบ.จะมีการตัดสินใจว่าจะเลือกเข้าข้างฝ่ายใด เพราะจะเกิดความชอบธรรมในการใช้อำนาจมากขึ้น นั้นหมายความว่าแนวทางในการต่อสู้อาจยังไม่ถึงจุดจบ เพราะเป็นการหยุดสถานการณ์ ความรุนแรง และจากการต่อสู้ครั้งนี้เป็นสงครามกลางเมืองที่จะยืดเยื้อเพราะระดับผู้นำยังไม่ได้ถูกทำลายอย่างย่อยยับ และยังพร้อมที่จะเอาคืนเสมอ แต่หากมีการประกาศยอมรับและขอโทษกับสิ่งที่ทำไปของอดีตผู้นำ มีความเป็นไปได้ว่าสถานการณ์อาจจะดีขึ้นก็ได้

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การต่อสู้ทางการเมืองเพิ่งเริ่มต้น

การต่อสู้ทางการเมืองเพิ่งเริ่มต้น

สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ ปัจจัยหรือเงื่อนไขต่างๆที่จะนำมาซึ่งการเผชิญหน้าอย่างรุนแรงระหว่างรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช กับ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พ.ป.ป.) ได้ลดลงเพราะฝ่ายต่อต้าน พ.ป.ป.ได้ถอนเงื่อนไขทั้งในเรื่องการลาออกของรัฐมนตรีท่านหนึ่ง การถอนประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญ แต่ในการต่อสู่ในทางการเมืองครั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าฝ่ายรัฐบาลจะพ่ายแพ้ในการต่อสู้ในครั้งนี้ เนื่องจากวัฒนธรรมทางการเมืองไทยหากผู้พ่ายแพ้ยอมรับผิดแล้วผู้ที่เป็นฝ่ายชนะมักจะไม่ยอมให้อภัยแต่จะใช้เป็นข้ออ้างในการซ้ำเติม หรือ แสดงความเหนือกว่า ซึ่งแตกต่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่จะให้อภัยและเปิดทางให้ผู้ที่ทำผิดสามารถแก้ไขสิ่งที่ทำไปแล้วให้ถูกต้อง นั้นหมายความว่าความบาดหมางที่เกิดขึ้นจะได้รับการเยียวยาซึ่งเป็นผลจากการกระทำจากทั้งฝ่ายคือ ผู้แพและผู้ชนะ

จากการที่หลายฝ่ายมีความเห็นว่าหลังที่ภาพของ 2 บุรุษได้พบกันในงานศพมารดาของ ผบ.ทบ.จะเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาโดยมีรายงานข่าวจากสื่อมวลชนว่าอดีตนายกรัฐมนตรีและผู้นำพรรคไทยรักไทยได้กล่าวคำ ”ขอโทษ” แต่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าการต่อสู้จะจบสิ้นได้ง่าย เนื่องจากต่างฝ่ายต่างมีแนวร่วมในภาคต่างๆซึ่งมีวัตถุประสงค์แอบแฝงโดยเฉพาะเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ให้การสนับสนุน จึงอยากแก่การหันหน้าเข้าหากัน

การต่อสู้ทางการเมืองในขณะนี้ อาจกล่าวได้ว่ามีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องในหลายด้าน ประกอบด้วย การสร้างเครือข่ายในการต่อสู้ซึ่งขยายตัวมากขึ้นจากการช่องทางในการสื่อสารสมัยใหม่ เสนอข้อมูลเชิงลบโจมตีฝ่ายตรงข้ามโดยการขุดคุ้ยความไม่ดีไม่งามมาเสนอ หรือ เรียกร้องความสนใจในรูปแบบต่างๆต่อเป้าหมาย วัตถุประสงค์ คือ การสร้างแนวร่วมในการต่อสู้ ดังจะเห็นจากการแปรสภาพจาก เว็บไซด์ ไฮทักษิณ มาเป็น www. thai-grassroots.com ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ที่สำคัญ ซึ่งเป็นการ ขณะที่ฝ่าย พ.ป.ป.ได้ใช้วิธีการเดียวกันตอบโต้ฝ่ายรัฐบาล โดยใช้เครือข่ายทางการสื่อสารของเจ้าของ นสพ.ผู้จัดการ วิทยุ 97.75 astv.

การใช้เครื่องมือข้างต้นจึงทำให้ไม่สามารถประเมินกำลังของแต่ละฝ่ายได้เพราะเป็นการสร้างแนวร่วมในพื้นที่ส่วนตัว โดยผ่านเครือข่ายทางการสื่อสารสมัยใหม่ ดังนั้นการต่อสู้ในครั้งนี้ จึงทำให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างลึกซึ้งในภาคสังคม ดังจะเห็นจากการเคลื่อนไหวของแต่ละฝ่ายมีมือที่มองไม่เห็นให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือฝ่ายรัฐบาล ซึ่งมีความได้เปรียบทางด้านเมืองในแง่ของการสนับสนุนจากประชาชนในต่างจังหวัด กลุ่มอิทธิพลซึ่งเป็นหัวคะแนนของนักการเมือง นักการเมือง กลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่มีความใกล้ชิดกับอดีตนายกรัฐมนตรีทั้งภายในและภายนอกประเทศ (มีต่อ)